คอร์สฟรีสอนเขียนโปรแกรม Arduino และสร้างงาน IoT Projects แบบจับมือทำตั้งแต่พื้นฐานจนถึงระดับมืออาชีพ
สอนโดย Aj. NesT the Series
เปิดตัวหนังสือ Practical Microcontroller Programming with Arduino เรียนง่ายเป็นเร็ว
วันนี้มีโอกาสไปสำรวจร้านหนังสือ B2S SE-ED Book ร้านนายอินทร์ หนังสือ Pratical Microcontroller Programming with Arduino เรียนง่ายเป็นเร็ว
วางแผงเป็นที่เรียบร้อยครับ หนังสือเล่มนี้ออกแบบมาให้สามารถเรียนได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ฝากอุดหนุนผลงานด้วยนะครับ #arduino #programming #book #ebook
Arduino Board คืออะไรกันแน่?
Arduino & IoT Projects by Aj. NesT the Series on YouTube
Arduino Board คืออุปกรณ์ที่ใช้สร้างชิ้นงานสร้างสรรค์ที่เกี่ยวข้องเชิงอิเล็กทรอนิกส์โดยมีไมโครคอนโทรลเลอร์ (MicroController Unit : MCU ซึ่งเป็นอุปกรณ์ควบคุมขนาดเล็กคล้ายกับระบบคอมพิวเตอร์ที่ประกอบด้วยซีพียู หน่วยความจำ และพอร์ต) ในการควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด ถ้าแปลตรงตัว Arduino เป็นภาษาอิตาลี อ่านว่า อาดุอีโน่ หรือจะอ่านว่า อาดุยโน่ ก็ได้ ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มไมโครคอนโทรลเลอร์แบบ Open Source Platform (Open Source Hardware) สำหรับการสร้างต้นแบบทางอิเล็กทรอนิกส์ที่กำลังได้รับความนิยมสูงสุดเนื่องจากความง่ายของมันในการสร้างสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่สามารถทำอะไรได้หลายอย่าง โดนใจคนที่ชอบประดิษฐ์ที่อยากเรียนรู้ทักษะทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ และการเขียนโปรแกรม บอร์ด Arduino จะรองรับพื้นฐานทั้งหมด ผู้เริ่มต้นสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้ง่าย เพื่อสร้างชิ้นงานอะไรสนุก ๆ ที่ตอบสนองความต้องการในการดำเนินชีวิตของมนุษย์หรือเป็นของเล่นโดยใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ในการควบคุม
แหล่งข้อมูลทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับ Arduino สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ www.arduino.cc
ผู้สร้าง Arduino คือใคร?
ผู้คิดค้นสร้างอุปกรณ์ที่ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในการที่จะพัฒนาทักษะและสร้างอุปกรณ์ทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ง่าย ๆ จนสามารถนำไปสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ที่เปลี่ยนแปลงโลกได้ จินตนาการถ้าอดีตเราไม่มี Arduino Board เราก็ต้องซื้อ Pic หรือ Microcontrollers ตัวอื่นมาใช้ ถึงมีราคาสูงกว่า และต้องใช้เวลาในการศึกษาหาความรู้มากกว่าในการนำไปใช้งาน จากปัญหาดังกล่าว Massimo Banzi หนึ่งในผู้ก่อตั้งและสร้าง Arduino จึงได้คิดสร้าง Arduino Board ขึ้น โดยจากก้าวแรกที่ต้องการบอร์ดไมโครคอนโทรเลอร์ที่ใช้งาน ที่ทำให้เด็ก ได้เรียนรู้งานทางด้านอิเล็กทรอนิกส์และเขียนโปรแกรม ถ้าเป็นสมัยก่อนจะมี Arduino มันคงเป็นเรื่องยากมากที่จะให้เด็กวัยประถมมาเรียนรู้ในเรื่องของการใช้ไมโครคอนโทรเลอร์เพื่อสร้างสิ่งประดิษฐ์ ผู้ก่อตั้งและทีมงานจึงได้สร้างสิ่งประดิษฐ์ง่าย ๆ เพื่อที่ใช้งานง่าย (User Friendly) และใช้งานได้เอาไปศึกษางานทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ในระดับเด็กเล็กได้ จึงได้เกิดเป็น Arduino Board ขึ้น ซึ่งจะได้เรียนรู้พื้นฐานอิเล็กทรอนิกส์ และการเขียนโปรแกรม ปัจจุบัน Arduino ได้แต่ลูกแตกหลานเป็นร้อย ๆ พัน ๆ Projects ตั้งแต่ Interactive Projects ไป 3D Printer จนถึงเครื่องบิน Quad Rotor จนเป็น Satellite (เรียกได้ว่า สากกะเบือยันเรือรบ) ซึ่ง Arduino ทำให้ทุกคนสร้าง Project ในแบบที่เราจินตนาการ และที่เราต้องการได้
Massimo Banzi คิดว่าจากนี้ไป เขาคงได้เห็น Projects ทาง Hardware ที่สร้างสรรค์ใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย สิ่งที่ทำให้ Arduino แพร่หลายได้เร็วเนื่องจากว่าเป็น Open-Source Hardware ที่เปิดโอกาสให้นักพัฒนาทุกคนได้มีสิทธิ์นำไปใช้พัฒนาต่อยอดได้แบบอิสระ ซึ่งทำให้เกิดแหล่งชุมชนที่สามารถสอบถามและแลกเปลี่ยนข้อมูลในการพัฒนาชิ้นงานต่าง ๆ ซึ่งกันและกันเรียกกว่า Community ที่เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ทำให้เกิดขึ้นได้เร็ว และชัดเจนแบบนี้
Arduino Projects เขาทำอะไรกันบ้าง แล้วดูเพิ่มแรงบันดาลใจได้ที่ไหน?
ตัวอย่างโครงงานที่สร้างด้วย Arduino Boards และ Sensors แบบต่าง ๆ มาดูกันว่าสามารถนำไปสร้างเป็นชิ้นงานนวัตกรรมสร้างสรรค์อะไรได้บ้าง
Project Hub แหล่งรวบรวมผลงานของ Arduino สามารถดูข้อมูลเพื่อเป็นแนวทางในการสร้างชิ้นงานสร้างสรรค์ได้ทาง https://create.arduino.cc/projecthub
องค์ประกอบของการพัฒนา Arduino Projects มีอะไรบ้าง?
องค์ประกอบของการพัฒนา Arduino จะประกอบด้วย 3 ส่วนหลักที่นำมาประยุกต์ใช้ทำงานร่วมกัน ได้แก่
- A Physical Piece of Hardware คือ อุปกรณ์บอร์ด Arduino ที่ใช้ในการประมวลผลและควบคุมอุปกรณ์ Sensors ต่าง ๆ ด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์ https://store.arduino.cc/
- A Programming Environment คือ โปรแกรมซอฟต์แวร์ Arduino IDE สำหรับใช้เขียนโปรแกรมภาษาซี เพื่อควบคุมสั่งการให้ Arduino ทำงานตามผู้พัฒนากำหนด แบ่งออกเป็น 2 แบบ ได้แก่ Online Tools (Arduino Web Editor) ที่เขียนโปรแกรมผ่านหน้าเว็บ https://create.arduino.cc/ และ Offline Tools (Arduino IDE) ที่ดาวน์โหลดและติดตั้งลงเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วจึงเขียนโปรแกรม รองรับได้ทั้งระบบปฏิบัติการ Windows, Linux, และ Mac OS X https://www.arduino.cc/en/Main/Software
- A Community & Philosophy คือ แหล่งชุมชนความรู้ของนักพัฒนาโครงงาน Arduino ที่ใช้สอบถาม หาคำตอบ ข้อสงสัย แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันผ่านทาง https://forum.arduino.cc/
ลักษณะการใช้งาน Arduino Board ร่วมกับ Sensors แบบต่าง ๆ ทำงานอย่างไร?
ที่มา https://blog.arduino.cc
จากรูป การทำงานสามารถแบ่งการทำงานออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้
- ส่วน Input (Sensors) ใช้สำหรับรับข้อมูลผ่านทาง Sensors ต่าง ๆ จำนวน 5 Sensors ได้แก่
- Capacitive Sensor ใช้ตรวจจับวัตถุในที่นี้คือแมลง
- Temperature Sensor ใช้ตรวจจับอุณหภูมิ
- Humidity Sensor ใช้ตรวจจับความชื่น
- Atmospheric Pressure Sensor ใช้วัดความดันอากาศ
- Light Sensor ใช้วัดความเข้มแสง
- ส่วน Process (Arduino Board) ใช้สำหรับประมวลผลและสั่งการให้อุปกรณ์ต่าง ๆ ทำงานตามที่
ได้เขียนโปรแกรมผ่านทาง Arduino IDE
- โดยเมื่อโปรแกรมและทำการเบิร์นลง Arduino Board
- ไมโครคอนโทรลเลอร์จะทำการรับคำสั่งโดยนำข้อมูล Input ของทั้ง 5 Sensorsมาประมวลผล ได้แก่ ข้อมูลการตรวจจับวัตถุ อุณหภูิม ความชื้น ความดันอากาศ และความเข้มแสง มาทำการบันทึกและเก็บใส่ในส่วน Ouput ในทุก ๆ 10 วินาที
- ส่วน Output (Data Logging Card or Output Hardware) ใช้สำหรับเก็บข้อมูลหรือแสดงผลที่ได้จากเขียนโปรแกรมผ่านการประมวลผลของ Arduino Board
- ในที่นี้ Data Logging Card (SD Card) จะทำการบันทึกข้อมูลทั้งหมดในทุก ๆ 10 วินาที
บอร์ด Arduino Uno
Arduino Uno คือ Arduino Board พื้นฐานที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายเนื่องจากราคาถูกและใช้งานได้ง่าย เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นศึกษาการสร้างชิ้นงานสร้างสรรค์ทางอิเล็กทรอนิกส์
- USB Jack (USB Port) ใช้สำหรับต่อพอร์ท USB เข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่ออัพโหลดโปรแกรมเข้า MCU และจ่ายไฟให้กับ Arduino Board
- Reset Button คือปุ่ม Reset ใช้กดเมื่อต้องการให้ MCU เริ่มทำงานใหม่
- ICSP Port สำหรับ USB Interface ของ Atmega16U2 เป็นพอร์ทที่ใช้โปรแกรม Visual Com Port บน Atmega16U2
- Digital I/O Pins ขา Pin รับสัญญาณดิจิทัล ตั้งแต่ขา D0 ถึง D13 สำหรับบาง Pin จะทำหน้าที่อื่นเพิ่มเติม เช่น Pin0, 1 เป็นขา Tx, Rx Serial, Pin3, 5, 6, 9, 10 เป็นขา PWM
- ICSP Header ของ Atmega328 เป็นพอร์ทที่ใช้โปรแกรม Bootloader
- MCU Atmel Atmega328 เป็น MCU ที่ใช้บน Arduino Board
- Analog I/O Pins ขา Pin รับสัญญาณอนาล็อก ตั้งแต่ขา A0 ถึง A5
- Power Pins ขา Pin ไฟเลี้ยงของบอร์ดเมือต้องการจ่ายไฟให้กับวงจรภายนอก ประกอบด้วยขาไฟเลี้ยง +3.3V, +5V, GND, Vin
- DC Power Jack ช่องรับไฟจาก Adapter โดยที่แรงดันอยู่ระหว่าง 7-12 V
- USB to Serial IC คือ MCU ของ Atmega16Us ทำหน้าที่เป็น USB to Serial โดย Atmega328 จะติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านทาง Atmega16Us
- 16MHz Crystal คริสตัลกำเนิดความถี่ให้ความเร็วสัญญาณนาฬิกา (Clock Speed) 16 MHz
- Tx/Rx LED คือ LED แจ้งการรับข้อมูลอนุกรมสำหรับ Rx และ LED แจ้งการส่งข้อมูลอนุกรมสำหรับ Tx
- Resettable Fuse คือ อุปกรณ์ป้องกันทำหน้าที่เหมือนตัวนำตัวหนึ่งในวงจรไฟฟ้า เมื่อเกิดกระแสเกินพิกัด หรือกระแสลัดวงจรมีค่ามากกว่ากระแสที่ Fuse ทนได้ Fuse จะตัดการจ่ายกระแสทันที เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับอุปกรณ์ และเมื่อทุกอย่างปกติ จะคืนสภาวะการทำงานเองอัตโนมัติ
บอร์ด Arduino MEGA
Arduino MEGA คือ Arduino Board ที่เพิ่มขา Pins สามารถรองรับการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ I/O Sensors ต่าง ๆ ได้มากกว่า มีหน่วยความจำมากกว่า และเขียนโปรแกรมเข้าไปได้มากกว่าในความเร็วของ MCU ที่เท่ากัน เมื่อเทียบกับแบบ Arduino Uno
บอร์ด Arduino Nano
Arduino Nano คือ Arduino Board ที่มีขนาดที่เล็กกว่า Arduino UNO และ Arduino MEGA เหมาะสำหรับใช้งานในพื้นที่จำกัด หรือประหยัดพื้นที่ในการวางอุปกรณ์
ทั้ง 3 บอร์ดนี้ ได้แก่ Arduino UNO, Arduino MEGA และ Arduino Nano เป็นรุ่นที่นิยมสำหรับผู้ที่ต้องการเรียนรู้และใช้งาน
Arduino
คำถามคลายข้อสงสัย?
Arduino กับ Raspberry Pi ควรเลือกใช้อะไรดีกว่ากัน?
ถ้าพูดให้เข้าใจง่าย Arduino คือ Microcontroller ที่เน้นหน้าที่ในการรับส่งข้อมูลผ่านขา Pin ในการเชื่อมต่อกับ Sensors, Network, Internet และอุปกรณ์ต่อพ่วงอื่น ๆ ไม่เน้นงานที่ละเอียดซับซ้อน เพราะมีหน่วยความจำที่จำกัด ส่วน Raspberry Pi คือ คอมพิวเตอร์เต็มรูปแบบที่มีทั้ง CPU, Memory และ Network ที่สามารถติดตั้งระบบปฏิบัติการ (OS) แล้วกลายเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กตัวหนึ่ง ส่วนใหญ่นิยม นำมาใช้ทำเครื่องคอมพิวเตอร์ราคาถูกสำหรับนักเรียน เนื่องจากมีการใส่ GPIO (General Purpose Input/Output) หรือพอร์ตเอนกประสงค์ ซึ่งเป็นตัวรับส่ง Digital Input/Output จึงสามารถนำไปควบคุมอุปกรณ์ภายนอกต่าง ๆ ได้เหมือนกับ Arduino แต่ประสิทธิภาพสูงกว่าเนื่องจากรองรับระบบปฏิบัติการ (Operting Systems) เต็มรูปแบบ ทำให้รองรับการเขียนโค้ดที่มีความซับซ้อน และต้องการการประมวลผลที่สูงกว่า Arduino
จึงสรุปว่า ถ้าใช้สำหรับการเรียนรู้ สร้างนวัตกรรมแบบง่าย ๆ และประยุกต์ใช้ในการควบคุมอุปกรณ์พื้นฐานต่าง ๆ ที่ไม่มีความซับซ้อนมาก Arduino จะเหมาะสมมากกว่าเนื่องจากเป็นวงจรสำเร็จรูป มีอุปกรณ์ต่อพ่วงที่สนับสนุนการใช้งานที่หลากหลาย ใช้งานง่าย และราคาไม่แพง ถ้าใช้แบบจริงจังในงานที่ต้องควบคุมอุปกรณ์และเขียนโปรแกรมแบบซับซ้อนจะนิยมใช้ Rapberry Pi เนื่องจากเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่มีการประสิทธิภาพการประมวลผลที่สูง แต่มีราคาสูง และต้องมีความรู้ในการใช้งาน
ดังนั้น Arduino จึงเป็นบอร์ดทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับผู้เริ่มต้นในการศึกษาและเรียนรู้การใช้งาน เพื่อเป็นพื้นฐานทีดีในการนำไปใช้ต่อยอดกับอุปกรณ์ควบคุมแบบต่าง ๆ ที่รองรับการทำงานที่มีความซับซ้อนสูงขึ้นได้
ข้อมูล Arduino Products มีอะไรบ้าง?
Arduino แบบต่าง ๆ แบ่งตามลักษณะการใช้งาน และประเภทของฮาร์ดแวร์ที่แบ่งตามสี (BOARDS/ MODULES/ SHELDS/ KITS/ ACCESSORIES/ COMING NEXT) ได้ 6 รูปแบบ
- ENTRY LEVEL เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้น เช่น Arduino UNO Board
- ENHANCED FEATURES เพิ่มฟังก์ชันมากขึ้น เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการรองรับอุปกรณ์ I/O ให้มากขึ้น เช่น Arduino MEGA
- INTERNET OF THINGS (IOT) เหมาะสำหรับงานที่ต้องใช้ Internet ในการรับส่งข้อมูลและสั่งงานเพื่อควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้ทำงานตามต้องการ
- EDUCATION ชุด Kits ของ Arduino เหมาะสำหรับนำไปใช้ในการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- WEARABLE บอร์ด Arduno ขนาดเล็กที่สามารถนำไปใช้แบบสวมใส่หรือพกพาได้ เช่น ติดบนเสื้อผ้า หรือบนมือแบบ Iron Man
- 3D PRINTING ชุด Kits สำหรับทำงานด้าน 3D Printing
สามารถศึกษาข้อมูลอุปกรณ์ต่าง ๆ ของ Arduino ได้ทาง https://store.arduino.cc/usa/arduino/
ข้อมูล Arduino Sensors/Modules, Motors และ Shields มีอะไรบ้าง?
Arduino Sensors/Modules เป็นอุปกรณ์ต่อพ่วงเพื่อรับคำสั่งจาก Arduino Board ให้ทำงานตามที่ต้องการ โดย Sensors/Modules ที่ใช้ได้กับ Arduino แบ่งตามลักษณะการใช้งาน ดังนี้
ที่มา
https://www.trossenrobotics.com/c/arduino-sensors.aspx
https://www.arduinoall.com/category/4/sensors-modules-shield
เราจะใช้ Arduino Board ต้องมีโปรแกรมอะไรบ้าง?
โปรแกรมที่ใช้ในการพัฒนาชิ้นงานของ Arduino ในการเขียนโปรแกรม จะมีทั้งแบบ
- Arduino Web Editor ซึ่งเป็นโปรแกรมแบบ Online ที่สามารถเขียนโปรแกรมผ่านเว็บไซต์ของ Arduino.cc ได้เลย
- Arduino IDE ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ต้องดาวน์โหลดและติดตั้งลงเครื่องคอมพิวเตอร์ก่อนถึงจะเขียนโปรแกรมได้
นักพัฒนาสามารถเข้าใช้งานเขียนโปรแกรมและดาวน์โหลดโปรแกรมเพื่อติดตั้งได้ทาง https://www.arduino.cc/en/Main/Software
1) แบบ Arduino Web Editor
ในการเข้าใช้งานโปรแกรมแบบ Online IDE ไม่ต้องติดตั้งลงเครื่องจะเขียนโปรแกรมผ่านทาง Arduino Web Editor → Code Online แล้วทำการ Login เพื่อเข้าใช้งาน จะแสดงหน้าตาโปรแกรมดังรูป
2) แบบ Arduino IDE
ทำการดาวน์โหลด Arduino IDE โดยเลือกตาม OS ของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะเขียนโปรแกรม จากนั้นทำการติดตั้งโปรแกรมลงเครื่องคอมพิวเตอร์ และเปิดโปรแกรม จะแสดงหน้าตาโปรแกรมดังรูป
จากรูป void setup() คือฟังก์ชันที่ไว้กำหนดขา Pins ของ Input/Output และ void loop() คือฟังก์ชันที่ใช้สำหรับเขียนโปรแกรมให้อุปกรณ์ทำงานตามที่ต้องการ
เขียนโปรแกรมเพื่อควบคุม Arduino (Arduino Programming) เราต้องรู้อะไรบ้าง?
การเขียนโปรแกรมเพื่อควบคุม Arduino สามารถแบ่งองค์ประกอบของการเขียนได้ 3 ส่วน ได้แก่ Structure, Values (Variables and Constants) และ Functions อ้างอิง https://www.arduino.cc/reference/en/
1) Structure คือส่วนโครงสร้างพื้นฐานของการเขียนโปรแกรม Arduino ประกอบด้วย 9 ส่วน ดังนี้
2) Variables คือส่วนตัวแปรของการเขียนโปรแกรม Arduino ประกอบด้วย 5 ส่วน ดังนี้
3) Functions คือส่วนเรียกใช้งานฟังก์ชันเพื่อควบคุมและประมวลผลในการเขียนโปรแกรม Arduino ประกอบด้วย 14 ส่วน ดังนี้
สำหรับรายละเอียดต่าง ๆ ของการเขียนโปรแกรม สำหรับการศึกษาในแต่ละชุดคำสั่งสามารถกดเลือกคำสั่งต่าง ๆ จะมีคำอธิบายและวิธีการเขียนโปรแกรมเพื่อนำไปต่อยอดเพิ่มเติมการใช้งานได้ทาง https://www.arduino.cc/reference/en/
แหล่งข้อมูลสำหรับผู้พัฒนาในการศึกษาเพิ่มเติมด้วยตัวเอง (Arduino Tutorials)
สามารถศึกษาได้ทาง Arduino Tutorials (https://www.arduino.cc/en/Tutorial/HomePage) ประกอบด้วย 4 ส่วน ดังรูป
1) Tutorial Arduino Project Hub
เป็นแพลตฟอร์มแสดงผลงานที่สร้างด้วย Arduino เพื่อให้ผู้พัฒนาเกิดแรงบันดาลใจในการพัฒนาชิ้นทางสร้างสรรค์
2) Built-In Examples
เป็นตัวอย่างแสดงการใช้งานคำสั่งพื้นฐานที่มีมาให้ในการเขียนโปรแกรมของ Arduino IDE
3) Examples from Libraries
เป็นตัวอย่างแสดงการนำ Libraries มาใช้งาน ในการเขียนโปรแกรมของ Arduino IDE
4) Foundations and More
ส่วนนี้จะเป็นความรู้พื้นฐานที่ต้องมีในการจะนำ Arduino มาประยุกต์ใช้งาน
5) Hacking
ส่วนความรู้ที่มีประโยชน์ในการเพิ่มพูนความรู้ของข้อมูลในการพัฒนา Arduino ให้มากขึ้น
เลือกบอร์ด Arduino อย่างไรให้เหมาะสมกับเรา?
เทคนิคการเลือกบอร์ด Arduino อย่างไรให้เหมาะสมกับเรา?
คำถามยอดฮิตของการเริ่มศึกษาการใช้งาน Arduino คือจะเริ่มต้นเลือกบอร์ด Arduino อย่างไรดีให้เหมาะสมกับโครงงานหรือสิ่งประดิษฐ์ที่เราต้องการสร้าง ทางผู้เขียนจึงได้รวบรวมข้อมูลและสรุปได้ดังตาราง (อยู่ระหว่างดำเนินการ)
สำหรับเรื่องการจ่ายไฟเลี้ยงเพื่อใช้งานบอร์ด Arduino รุ่นต่าง ๆ สามารถทำได้โดยเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยสาย USB หรือเสียบปลั๊กไฟบ้านผ่าน AC-to-DC Adapter หรือแบตเตอร์รี่ กรณีต้องใช้งานแบบไร้สาย
เนื่องจากบอร์ด Arduino เป็น Open Hardware ที่บริษัทอื่น ๆ สามารถผลิตขายได้ จึงมีลักษณะสีของบอร์ดที่ต่างกัน ยกตัวอย่างเช่นบอร์ด Arduino UNO ถ้าบอร์ดสีเขียว หมายถึง ผลิตจากบริษัทผู้สร้าง Arduino (Made in Italy) และถ้าสีน้ำเงิน หมายถึง ผลิตจากผู้ผลิตรายอื่น ๆ (เช่น Made in China) ซึ่งราคาจะถูกกว่าของผู้สร้างโดยตรง
เปิดตัวหนังสือ Pratical Microcontroller Programming with Arduino เรียนง่ายเป็นเร็ว
วางแผงเป็นที่เรียบร้อยครับ หนังสือเล่มนี้ออกแบบมาให้สามารถเรียนได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ฝากอุดหนุนผลงานด้วยนะครับ #arduino #programming #book #ebook
Book สั่งซื้อที่ร้านของสำนักพิมพ์ได้เลยครับ
คลิกสั่งผ่าน Shopee คลิกที่ลิ้งค์ https://shope.ee/89rPOnCvVg
คลิกสั่งผ่าน Lazada คลิกที่ลิ้งค์ https://bit.ly/3NGyGTP
มีจำหน่ายร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ SE-ED Book, B2S, ร้านนายอินทร์, ศูนย์หนังสือจุฬาฯ หรือสั่งซื้อกับตัวแทนจำหน่ายทั่วประเทศได้เลยครับ
————————————————–
E-Book ช่องทางการสั่งซื้อ (พร้อมจำหน่ายแล้ว)
ookbee: http://bitly.ws/rnRB
mebmarket: http://bitly.ws/rnRF
naiin : http://bitly.ws/rnRM
hytexts: http://bitly.ws/rnRN
se-ed: http://bitly.ws/rnTq