Test-driven development ความท้าทายที่น่าลอง

 

Test Driven Development

TDD คืออะไร?
TDD คือ กระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ ที่อาศัยหลักการทำซ้ำในวงจรพัฒนาที่สั้นๆ โดยสิ่งแรกที่
สิ่งแรกที่developerจะทำคือเขียน automated test case (ที่จะ fail) เพื่อที่จะกำหนดคุณสมบัติ
ของฟังก์ชันใหม่ที่ต้องการ และจากนั้นจะใช้วิธีการเขียนโค้ดให้น้อยที่สุดที่จะผ่าน test แล้วจึงค่อย
ปรับปรุงโค้ดให้ได้มาตรฐานอีกที
ประวัติของ TDD
Kent Beck ผู้คิดค้น TDDซึ่งใช้กับ Extreme Programming ในปี 90 และเริ่มใช้ตัว test ที่สร้างขึ้นมาเอง
ส่วน JUnit framework พัฒนาโดย Beck และ Erich Gamma ในปี 97 ทำให้การเขียน test และเรียกใช้งานคำสั่ง test นั่นง่ายมากขึ้น จากนั้น JUnit ก็ได้ถูกพัฒนาไปใช้กับภาษาอื่นๆอีกหลายภาษา เช่น .NET, C++, Python,
PHP เป็นต้น ซึ่งเป็นที่เรียกกันในชื่อว่าน xUnit frameworks

ขั้นตอนการทำ TDD
1. Quickly add a test – เขียน test case
2. Run the tests – รัน test เพื่อให้เห็นว่าไม่สามารถรัน test case ใหม่ได้
3. Update the code – แก้ไขโค้ดให้พอเท่าที่สามารถรัน test ได้
4. Re-run tests – รัน test และแก้ไขโค้ดจนกว่าจะผ่าน test
5. Refactor – แก้ไขโค้ดให้ดีไซน์ดีๆ และได้มาตรฐานและลบสิ่งที่เป็นการทำซ้ำที่ไม่จำเป็นออก
6. Repeat – ทำขั้นตอน 1 ถึง 5ซ้ำ

ข้อดีของ TDD
ผู้พัฒนาจะพัฒนาโดยมีความเข้าใจถึงผลลัพธ์สุดท้ายที่ต้องการอยู่ในใจเสมอและที่สำคัญคือ
ผลลัพธ์นั้นจะเป็นสิ่งที่ลูกค้าเห็นและเข้าใจตรงกันด้วยนอกจากนั้นการแบ่งการทดสอบเป็นส่วนย่อยๆ
ยังทำให้สามารถ roll back ได้ง่ายหากโปรแกรมเกิดความผิดพลาดหรือพัฒนาแล้วใช้ไปแล้วไม่ชอบใจ
และด้วยลักษณะที่เน้นให้โปรแกรมผ่าน Test Case ก่อน แล้วค่อยมาปรับแต่งที่หลังทำให้การพัฒนา
รวดเร็วขึ้น เช่นถ้าหากมีส่วนต่อไปที่รอการพัฒนาอยู่ ก็สามารถทำต่อไปได้เลยในขณะที่ส่วนแรกกำลัง
ทำการปัดกวาดในขั้นตอน Refactor โดยพอสรุปเป็นข้อย่อยๆดังนี้
+ เมื่อทำงานบนโค้ดแบบ test-driven จะเพิ่มความมั่นใจให้กับ develop
+ ลดการเกิดข้อบกพร่อง และการที่ต้องกลับมาแก้ไขใหม่
+ โค้ดมีคุณภาพที่ดีขึ้น (แยกเป็นส่วนๆ, เกี่ยวข้องกันน้อย และยืดหยุ่น)
+ เพิ่มความสามารถในการ maintain โค้ด
+ สามารถ refactor ได้โดยไม่ต้องกลัวว่าจะทำให้ส่วนอื่นพัง
+ ทำให้สามารถตรวจพบความเข้าใจผิดหรือความกำกวมของ requirement ตั้งแต่ระยะแรกๆ
+ มีโค้ดแต่ละส่วนที่น้อยลงด้วยการออกแบบที่เรียบง่าย
+ การตรวจปัญหาระหว่างการติดต่อกันของ Object สามารถทำได้ง่ายขึ้น
+ ลดการ manual testing
+ ได้รับข้อเสนอแนะ, ผลตอบรับที่ไว ว่าโค้ดเขียนได้ถูก
ข้อเสียของ TDD
หากแบ่งส่วนของโปรแกรมไม่เหมาะสม เช่น ย่อยเกินไปก็จะเสีย overhead ในการสร้าง
automated test case เยอะ และถ้าหากแบ่งส่วนของโปรแกรมใหญ่เกินไป ก็จะทำให้การสร้าง
automated test case มีความซับซ้อน และมีความเสี่ยงที่จะเกิดความผิดพลาดที่ตัว Test Case เอง
โดยพอสรุปเป็นข้อย่อยๆดังนี้
– ใช้เวลานานในการพัฒนา เพราะต้องใช้ในการพัฒนาโปรแกรมมาก
– ต้องทำความเข้าใจ code ที่มากขึ้นเพราะมีการทดสอบที่แตกต่างกัน
– มีราคาสูงขึ้นในการทดสอบระบบที่มีขนาดใหญ่
– บางครั้งเสียเวลาไปกับการทดสอบกรณีที่ไม่สำคัญ
– ประสิทธิภาพขึ้นอยู่กับประสบการณ์และวินัยของทีมพัฒนา
– ยากที่จะนำเอา TDD ส่วนเดิมไปไปสร้างบน Project ใหม่
– ลดความสามารถในการเขียน code อย่างรวดเร็วและเกิดข้อมูลที่ไม่จำเป็น
– ความยากที่จะประเมินต้นทุนจำนวน TDD เวลาเทียบกับจำนวนบันทึก
– ยากที่จะประเมินว่าเสียเวลาให้กับ TDD เท่าไหร่ หรือว่าช่วยประหยัดเวลาในการทำ TDD
– มีผลการทดสอบที่ลดลง หากมีโปรแกรมทำงานช้า
– มีราคาในการติดตั้งสูง

ที่มา : www.ce.kmitl.ac.th
ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

***Youtube***

YouTube Preview Image

Kumpon Putthasri
at GlurGeek.Com
นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
สิ่งที่ชอบเป็นพิเศษ
1.เที่ยว 2.ดูหนัง 3.กิน 4.เล่นเกม 5.เข้าวัดทำบุญ 6.เตะฟุตซอล 7.ถ่ายภาพ

Leave a Reply

© 2022 GlurGeek.Com