ENGINEERING DRAWING (งานง่าย) BY. SUPPHALUK

ENGINEERING DRAWING (งานง่าย) BY. SUPPHALUK
15388547_1156881881073803_311533223_oปกอังกฤษ
15369835_1156881874407137_612499712_oปกไทย

                รูปภาพขั้นตอนการทำภาพฉายและภาพไอโซเมทริก
15403160_1156884311073560_66597669_n             15403175_1156884324406892_1706857298_n      15409888_1156884327740225_1502987042_o         15416889_1156884314406893_2107713081_n

สวัสดีคะก่อนอื่นเรามาแนะนำตัวกันก่อนนะคะ
ดิฉันชื่อ : นางสาวศุภลักษณ์ จันทร์เสียงเย็น
รหัสนักศึกษา : 1590901797

ชื่อเล่น : แนน
อายุ : 19 ปี
เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1
คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาอิเล็กทรอนิกส์
มหาวิทยาลัยกรุงเทพวิทยาเขตรังสิต
    ภาคเรียนที่ 1 / 2559

NAME : SUPPHALUK JUNSAINGYEN
STUDENT’S  ID NUMBER : 1590901797

NICKNAME : NAN
I’M 19 YEARS OLD
SOFTWARE ENGINEERING
OF ELECTRONIC ENGINEERING
SCHOOL OF ENGINEERING
BANGKOK UNIVERSITY 
              1 / 2016

คะสวัสดีคะวันนี้ก็จะมาแนะนำนำเสนอเรื่องการทำโปรเจคเกี่ยวกับการเขียนแบบเชิงวิศวกรรมศาสตร์เป็นในรูปแบบเครื่องจักรกลนะคะจะมาแนะนำทางในการทำและรวมไปถึงการใช้โปรแกรมที่ทำให้เราเข้าใจมากยิ่งขึ้นไปด้วยคะเรามาเริ่มที่ข้อเเรกกันเลยนะคะไปเลยยย…..
ขั้นตอนแรกนะคะ
1.ชื่อของบทความ และทำภาพหน้าปกของบทความ
 รถสำหรับบรรทุกของใช้ในเชิงงานอุตสาหกรรม
    15409888_1156884327740225_1502987042_o
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ชนิดของรถบรรทุก15388547_1156881881073803_311533223_o
15369835_1156881874407137_612499712_o

2. หลักการทำงานของเครื่องจักรกลที่สร้างขึ้น
เราจะมาเรียนรู้หลักการทำงานของเครื่องจักรกลกันนะคะ
     เราจะมาพูดถึงในลักษณะการเกรินก่อนนะคะเกี่ยวกับเครื่องจักรกลเราเป็นเครื่องจักรกลพื้นฐาน เนื่องจากงานก่อสร้างทุกประเภทจะเกี่ยวข้องกับงานดินทั้งสิ้น เช่น งานก่อสร้างอาคาร งานถนน งานเขื่อน งานวางท่อ งานอุโมงค์ งานสะพาน งานสนามกีฬา งานชลประทาน ตลอดจนงานบุกเบิกป่าเป็นต้น

เครื่องจักรกลในงานถนน เครื่องจักรกลที่ใช้ในงานดินทั่วไป
มี 4 ประเภท

1.รถแทรกเตอร์ (Tractor)
2.รถตัก (Loader)
3.เครื่องจักรกลสำหรับขุดดิน (Excavating equipment)
4.รถบรรทุก (Truck)

ได้แบ่งเป็น 4 ชนิด
1.รถขูดอุ้มดิน
2.รถเกรด
3.รถบด
4.เครื่องกลในงานปูพื้นผิวจราจรด้วยแอสฟัลต์
รถบรรทุกหรือที่ชาวบ้านเรียกว่า รถดั้ม ใช้ประโยชน์ในการบรรทุกวัสดุสิ่งของต่าง ๆ เช่นดิน หิน ทราย

สรุปเครื่องจักรกลที่ใช้งานดิน
-รถแทรกเตอร์
-รถตัก
-เครื่องจักรกลสำหรับขุดดิน
-รถบรรทุก

สรุปเครื่องจักรที่ใช้ในงานถนน
-รถบูลโดเซอร์
-รถตัก
-รถบรรทุก
-รถบดอัดสั่นสะเทือน
-รถบดล้อยาง
-รถน้ำ
-รถรีดยาง
-รถบดล้อยาง
-รถบรรทุกแอสฟัลต์ผสมร้อน
-รถพ่นยาง
     
สำหรับเครื่องจักรกลที่เลือกมานั้นคือรถบรรทุกนะคะดังนั้นเรามาดูหลักการทำงานของรถบรรทุกกันเลยคะ

เครื่องจักรกลที่ใช้ในงานดินเป็นเครื่องจักรกลพื้นฐาน ที่จะนำไปใช้งานก่อสร้างอื่น ๆ เช่น เครื่องจักรกลสำหรับงานขุดดิน, เครื่องจักรกลสำหรับบดดิน, บางชนิดสามารถนำไปใช้ในงานถนนได้อีกด้วย
เป็นยานพาหนะก่อสร้างขั้นพื้นฐาน เป็นรถที่ขับเคลื่อนด้วยตัวเองใช้กับงานปรับพื้นที่ดันดิน
-การเคลื่อนย้ายไม่สะดวกถ้านำไปใช้งานไกล ๆ ควรบรรทุกไปบนรถบรรทุกจะสะดวกและประหยัดกว่าที่จะขับเคลื่อนไปด้วยตัวมันเอง
– ยุ่งยากต่อการบำรุงรักษาและต้องเอาใจใส่มากเป็นพิเศษ

ลักษณะของเครื่องจักรกล

1.แบบเหยียดตรง เป็นใบมีดที่มีความแข็งแรง ขนาดเล็กกว่าใบมีดทั่วไปเหมาะกับงานบุกเบิก
2.แบบทั่วไปใช้กับงานเคลื่อนย้ายวัสดุ เช่น ดิน หิน ทราย ขนย้าย ได้ครั้งละมาก ๆ และไกลกว่าแบบเหยียดตรง
3.แบบเหลี่ยม ใช้ในงานเช่นเดียวกับแบบเหยียดตรงแต่จะเหมาะกับงานกลบหลุม กลบท้องร่อง กลบคูคลอง หรือดันดินตามไหล่เขา
4.แบบรองรับน้ำหนัก ใช้เป็นอุปกรณ์สำหรับลากจูงเครื่องมือชนิดอื่น ๆ โดยมีการสั่นสะเทือนหรือระบบป้องกันการสึกหรอ
เป็นเครื่องจักรกลพื้นฐาน เนื่องจากงานก่อสร้างทุกประเภทจะเกี่ยวข้องกับงานดินทั้งสิ้น เช่น งานก่อสร้างอาคาร งานถนน งานเขื่อน งานวางท่อ งานอุโมงค์ งานสะพาน งานสนามกีฬา งานชลประทาน ตลอดจนงานบุกเบิกป่าเป็นต้น

                          การเลือกยางในและยางนอกของรถ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ชนิดของรถบรรทุก

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ชนิดของรถบรรทุก
รถบรรทุก หมายถึง รถที่ใช้บรรทุกสิ่งของ มีหลายขนาด ซึ่งปรกติมีขนาด กำลัง และสัณฐานมาก โดยเฉพาะบรรดาที่ใช้เพื่อการค้า ทั้งอาจประกอบด้วยอุปกรณ์พิเศษด้วย เช่น รถประจญเพลิง และรถโม่คอนกรีต ปัจจุบัน รถบรรทุกส่วนใหญ่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานแกโซลีนหรือดีเซล
       รถบรรทุกคันแรกของโลกได้ผลิตขึ้นโดย Gottlieb Daimler ในปี 1896 โครงสร้างเป็นเหล็ก ล้อทำด้วยไม้ ใช้เครื่องยนต์แบบสองสูบ ขนาดความจุ 1.06 ลิตร ในปีต่อมาก็ได้ทำการติดตั้งเครื่องยนต์ขนาด 2.2 ลิตร ขับเคลื่อนด้วยสายพาน พร้อมกับติดตั้งระบบระบายความร้อนด้วยหม้อน้ำ การพัฒนารถบรรทุกเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ในปี 1898 ได้มีการนำรถบรรทุกไปจัดแสดงที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสและได้รับความสนใจอย่างสูง
ในปัจจุบันรถบรรทุกได้พัฒนาการไปมากตั้งแต่รถบรรทุกขนาดเล็กไปจนถึงรถหัวลาก รวมทั้งรถเอนกประสงค์
รถบรรทุก (Truck) และรถโดยสาร (Bus) มีขั้นตอนการผลิตในเริ่มแรกเหมือนกัน คือเริ่ม จากการประกอบ Chassis เครื่องยนตและชุดบังคับเขาดวยกัน  แลวจะแยกประเภทการ เปนรถบรรทุกหรือรถโดยสารโดยตัวถังที่นํามาครอบ Chassis ดังกลาดังนั้นในที่นี้จะเรียกการผลิต รถบรรทุกและรถโดยสารโดยรวมวาอุตสาหกรรมรถบรรทุก

อุตสาหกรรมรถบรรทุกของประเทศไทยสามารถแบงไดเปน 2 ประเภท 1.อุตสาหกรรม ประกอบรถบรรทุก
2.อุตสาหกรรมตอตัวถังหรือดัดแปลงรถบรรทุก

เบรกรถบรรทุก
   เป็นระบบเบรกที่ออกแบบให้เป็นดรัมเบรก (Drum Brake) ทั้งนี้เนื่องจากดรัมเบรกมีข้อดีในการใช้งาน   คือ   พื้นที่หน้าสัมผัสการเบรกมีมาก   โครงสร้างมีความแข็งแรงดังนั้นเมื่อนำไปติดตั้งกับรถบรรทุกจึงสามารถทำให้การชะลอความเร็วหรือการหยุดรถได้เป็นอย่างดีแต่เนื่องจากรถบรรทุกถูกออกแบบเพื่อใช้ในการบรรทุกน้ำหนักซึ่งแตกต่างจากรถยนต์นั่งทั่วไประบบเบรกจึงจำเป็นต้องออกแบบให้มีความแข็งแรง   เพื่อให้เหมาะสมกับขนาดของรถบรรทุกนอกจากนี้การควบคุมใช้งานจะต้องสามารถทำได้รวดเร็ว   คล่องตัว   และมีประสิทธิภาพสูงสุดเบรกรถบรรทุกปัจจุบันออกแบบวิธีการควบคุมการทำงานเป็นหลายแบบดังนี้

  1. เบรกสุญญากาศช่วย (Vacuum Assisted)
  2. เบรกลมดันช่วย (Air Master)
  3. เบรกลม (Full Air Brake)

รถบรรทุกปัจจุบันมีหลายแบบ   ซึ่งแต่ละแบบจะออกแบบให้ใช้ระบบเบรกที่แตกต่างกันทั้งนี้เพื่อให้การเบรกที่ล้อมีประสิทธิภาพสูงสุด   โครงสร้างของเบรกรถบรรทุกจำแนกตามระบบการควบคุมดังนี้
1. โครงสร้างเบรกแบบสุญญากาศช่วย (Vacuum Assisted) เบรกแบบสุญญากาศช่วย
เป็นระบบเบรกที่ออกแบบเพื่อใช้งานกับรถบรรทุกขนาดเล็ก   ลักษณะของเบรกแบบสุญญากาศช่วยออกแบบให้มีแม่ปั๊มเบรก  2  ตัว   คือ   แม่ปั๊มเบรกตัวที่  1  ติดตั้งกับขาเหยียบเบรก   และแม่ปั๊มเบรกตัวที่  2  ติดตั้งกับหม้อลมสุญญากาศซึ่งอยู่ห่างออกไปจากขาเหยียบเบรก   หม้อลมสุญญากาศได้รับแรงดูดจากปั๊มสุญญากาศซึ่งขับเคลื่อนโดยเครื่องยนต์   การควบคุมระบบเบรกทำได้โดยการเหยียบขาเบรกแรงดันน้ำมันที่สร้างขึ้นโดยแม่ปั๊มเบรกตัวที่  1  จะส่งแรงดันน้ำมันไปยังแม่ปั๊มเบรกตัวที่  2เพื่อเพิ่มแรงเบรกด้วยผลต่างระหว่างความดันอากาศกับสุญญากาศ   โครงสร้างของเบรกแบบสุญญากาศช่วย

โครงสร้างเบรกสุญญากาศช่วย
หม้อสุญญากาศ (Master Vacuum) เป็นอุปกรณ์เพิ่มแรงเบรกให้เบรกมีประสิทธิภาพสูงขึ้นหม้อสุญญากาศทำงานโดยอาศัยความแตกต่างระหว่างความดันบรรยากาศกับสุญญากาศสุญญากาศที่นำมาใช้เพื่อสร้างความแตกต่างภายในหม้อสุญญากาศต่อมาจากปั๊มสุญญากาศ  ภายในหม้อสุญญากาศออกแบ่งเป็นห้องความดันคงที่   และห้องความดันแปรผัน   ซึ่งทั้งสองห้องนี้จะมีแผ่นไดอะแฟรมกั้นเพื่อป้องกันการรั่วของอากาศและสุญญากาศ   โดยมีวาล์วเป็นตัวควบคุมอากาศและวาล์วสุญญากาศในตำแหน่งที่เหยียบเบรกและปล่อยเบรก   แม่ปั๊มเบรกที่ติดตั้งอยู่ส่วนหน้าของหม้อสุญญากาศจะได้รับแรงจากหม้อสุญญากาศโดยตรง   ทำให้การเบรกไม่ต้องออกแรงมากโครงสร้างของหม้อสุญญากาศ

โครงสร้างเบรกลมดันช่วย (Air Master) เบรกลมดันช่วยเป็นระบบเบรกที่ใช้
แรงดันลมอัดดันแผ่นไดอะแฟรมในหม้อลมเบรกเพื่อให้แม่ปั๊มเบรกสร้างแรงดันน้ำมันเบรกจ่ายไปยังกระบอกเบรกที่ล้อ   เบรกลมดันช่วยแยกส่วนประกอบของเบรกออกเป็น  2  ระบบคือ   ระบบสร้างแรงดันลม   และระบบสร้างแรงดันน้ำมันเบรก   ส่วนประกอบของชิ้นส่วนทั้งหมดจะต้องทำงานสัมพันธ์กันเพื่อให้การเบรกมีประสิทธิภาพสูงสุด   เบรกลมดันช่วยจำแนกตามหลักการทำงาน
ออกเป็น  2  แบบดังนี้
2.1   แบบน้ำมันเปิดลมดันน้ำมัน (Air Servo) ระบบเบรกแบบนี้ออกแบบให้มี       แม่ปั๊มเบรกจำนวน  2  ตัว   แม่ปั๊มเบรกตัวที่  1  ติดตั้งกับแป้นเหยียบเบรก   ทำหน้าที่สร้างแรงดันน้ำมันเบรกไปควบคุมกลไกของวาล์วที่ติดตั้งอยู่ภายในหม้อลมเบรกและแม่ปั๊มเบรกตัวที่  2  เพื่อให้ระบบสามารถทำงานได้เมื่อทำการเหยียบเบรก   แม่ปั๊มเบรกตัวที่  2  เป็นตัวที่สร้างแรงดันน้ำมันเบรกเพื่อจ่ายไปยังกระบอกเบรกที่ล้อ   แม่ปั๊มเบรกตัวนี้จะยึดติดกับหม้อลมเบรก   โครงสร้างของเบรกแบบน้ำมันเปิดลมดันน้ำมัน

2.2   โครงสร้างเบรกลมดันน้ำมันโดยตรง (Air Over Hydraulic) เบรกชนิดนี้
ออกแบบเพื่อใช้งานกับรถบรรทุกขนาดกลางและขนาดใหญ่   หม้อลมเบรกและแม่ปั๊มเบรกที่ใช้งานในระบบเบรกแบบลมดันน้ำมันโดยตรงมีจำนวน  2  ชุด   ซึ่งแม่ปั๊มเบรกแต่ละตัวจะทำหน้าที่ควบคุมแรงดันน้ำมันเบรกแยกเป็นล้อหน้าและล้อหลัง   หลักการทำงานของเบรกลมดันน้ำมันโดยตรงใช้แรงดันลมที่ควบคุมผ่านลิ้นเหยียบเบรกดันแผ่นไดอะแฟรมที่อยู่ในหม้อลมเบรกให้เลื่อนไปข้างหน้าเพื่อดันลูกสูบในแม่ปั๊มเบรกให้สร้างแรงดันน้ำมันจ่ายไปยังล้อ   ประสิทธิภาพการเบรกของเบรกลมดันน้ำมันโดยตรงจะสูงกว่าเบรกแบบน้ำเปิดลมดันน้ำมัน   ทั้งนี้เนื่องจากวิธีการควบคุมการทำงานของหม้อลมเบรกนั้นเป็นการควบคุมให้ลมจากถังลมดันน้ำมันโดยตรง   โครงสร้างเบรกลมดันน้ำมันโดยตรง

3. ประโยชน์ที่มนุษย์จะได้จากเครื่องจักรกลนี้
เราก็จะมาแนะนำการใช้ประโยชน์จากเครื่องจักรกลที่เลือกนะคะ
1 .อัตตราการน้ำมัน
2. ความทนทาน
3. การบรรทุกกระบะแรงม้ามากกว่า
4. อำนวยความสะดวกการใช้งานของการก่อสร้างสิ่งต่างๆ
5. ช่วยเบาแรงคนในการทำโดยใช้เครื่องยนต์แทน
6. รถกระบะบรรทุกดัมพ์ 6 ล้อ HINO ใช้บรรทุกวัสดุที่มีน้ำหนักมาก และต้องการความสะดวกรวดเร็วในการถ่ายเทสิ่งของหรือส่งของ

4. อัพ VDO ขั้นตอนการทำเข้า YouTube ของตัวเอง แล้วนำมาใส่ในบทความ
สำหรับวิธีเข้าติดตามหรือดูการรายงานการทำในแต่ละส่วนนะคะให้เพื่อนเข้าไปที่  youtube
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปยูทูป

หลังจากนั้นพิมคำว่า ENGINEERING DRAWING (งานง่าย) BY. SUPPHALUK
ซึ่งเป็นชื่อของตัวผู้สร้างคะสามารถกดติดตามได้นะคะภายในนั้นก็จะมีบทความของ CALCULUS I และเรื่องSOFTWARE ENGINEERING เพื่อนๆสามารถเลือกดูได้เลยคะ

1.https://youtu.be/wVQeoAeYCDQ
นี้ก็คือเว็บไซต์ที่จะนำเข้าหาใน YOU TUBE เพียงเเค่พิมพ์เข้าไปเพื่อนๆก็จะเจอเลยนะคะ

YouTube Preview Image

5. ใส่รูปแบบ Isometric และ Orthographic เขียนอธิบายขั้นตอนการสร้างเครื่องจักรกลนี้ พร้อมรูปหน้าโปรแกรมขณะทำการสร้าง

1. รูปหน้าโปรแกรมที่ทำการสร้าง
15409888_1156884327740225_1502987042_o

2. รูปไอโซเมทริก15403175_1156884324406892_1706857298_n3. รูปออโทกราฟฟิกภาพฉาย
15403160_1156884311073560_66597669_n

15416889_1156884314406893_2107713081_n
คำอธิบายขั้นตอนการสร้าง
ภาพฉาย  หมายถึง  ภาพที่มองจากชิ้นงานจริงฉายไปปรากฏรูปทรงบนระนาบรับภาพ  โดยทั่วไปในการเขียนแบบชิ้นส่วนใด ๆ  ถ้าจะให้มองเห็นได้ชัดเจนและดูเหมือนจริงนั้นสามารถเขียนได้ด้วยภาพ 3 มิติ  ซึ่งแสดงเพียงภาพเดียวก็สามารถมองได้ชัดเจนทั้งสามารถกำหนดรายละเอียดต่าง ๆ ได้และนำไปทำการผลิตได้ด้วย  แต่การเขียนภาพ 3 มิติ  นั้นกระทำได้ยากต้องใช้เวลาในการเขียนแบบงานต้องมีเครื่องมือและอุปกรณ์ช่วยหลายอย่าง  จึงไม่เหมาะสมที่จะนำวิธีการนี้มาเขียนแบบเพื่อสั่งงานผลิต  เพราะจะทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น  ภาพ มิติ  เหมาะสำหรับแสดงรูปร่างและการประกอบกันอยู่ของชิ้นงานในคราวที่จำเป็นมากกว่าการที่จะเขียนงานให้ง่ายและรวดเร็วขึ้นสามารถเขียนได้โดยวิธีการมองภาพทีละด้านและนำเอาแต่ละด้านมาเขียนลงบนกระดาษให้สัมพันธ์กัน  จะทำให้การเขียนลงบนกระดาษให้สัมพันธ์กันจะทำให้การเขียน ,การแสดงอัตราส่วน ,การแสดงขนาด ,การใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ช่วยและสะดวกยิ่งขึ้น
 1. วาดภาพแบบออโทกราฟฟิกภาพฉาย 
 2. วาดภาพฉายจากส่วนที่1 คือ ทอปวิว ส่วนที่2 คือด้านข้าง
 ส่วนที่3คือด้านบน ในแต่ละด้านโดยจะวาดทั้งหมด 3 มุม และทำการ          กำหนดค่าตามที่เราต้องการโดยการทำตามคำสั่งของโปรแกรมที่เราใช้
 3. ทำการวาดภาพแบบไอโซเมทริกคือภาพที่มำมุม 30 องศา 
 4. นำรูปภาพที่สร้างเสร็จมารวมกันให้อยู่ในหน้าเดียวกัน
  และทำการกำหนดค่าต่างๆที่ต้องทำตามความต้องการของเรา
 5. ในที่นี้จะเอาเป็นรูปแบบง่ายโดยจะใช้จำพวกเบสิกในการสร้างและมี    การนำคำสั่งที่ยากมาใช้ปะปนบ้างเล็กน้อย
6. แนบไฟล์ .dwg และ .pdf (Link Google Drive) ของภาพ Isometric และ Orthographic ในบทความ
1. รวม
2. Drawing1.dwgไอโซ
3. PJ.1

แนะนำการใช้ส่วนต่างๆของโปรแกรม
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การแนะนำเครื่องมือautocad 2015
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การใช้โปรแกรมautocad
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ แถบเครื่องมือautocad 2015
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การใช้โปรแกรมautocad
การใช้โดตในการทำออโต้แคท
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การใช้โปรแกรมautocad
หวังเป็นอย่างยิ่งนะคะว่าจะนำไปเป็นประโยชน์ในการสร้างไม่มากก็น้อยหาก                   เกิดข้อผิดพลาดประการใดขออภัยไว้ในที่นี้ด้วยนะคะ
     

         ฝากกดติดตามตามลิงค์ด้านล้างนี้ด้วยนะคะขอบคุณคะ
  ENGINEERING DRAWING (งานง่าย) BY. SUPPHALUK
  ศุภลักษณ์  จัยทร์เสียงเย็น

นางสาวศุภลักษณ์ จันทร์เสียงเย็น 1590901797 
คณะวิศวกรรมศาสตร์สาขาอิเล็กทรอนิก
มหาวิทยาลัยกรุงเทพวิทยาเขตรังสิต

 

supphaluk junsaingyen on sabyoutube
supphaluk junsaingyen
at GlurGeek.Com
ชื่อนางสาวศุภลักษณ์ จันทร์เสียงเย็น กำลังศึกษาระดับปริญญาตรีคณะวิศวกรรมศาสตร์สาขาอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เป็นคนที่ชอบความสนุกสนาน งานความท้าทายความสามารถของตัวเอง ชอบเล่นกีฬา ออกกำลังกาย อ่านหนังสือ ฟังเพลง
เป็นคนที่มีความพึงพอใจในสิ่งที่ตัวเองมี ชอบการทดลอง การทำงานทางด้านเชิงนวัตกรรมวิทยาศาสตร์เพื่อผลิตสิ่งดีๆให้คนในโลกใช้และการสร้างแบบกราฟฟิกที่สร้างสรรค์น่ารักๆคะ <3

Leave a Reply

© 2022 GlurGeek.Com