ENGINEERING DRAWING (งานง่าย) BY. SUPPHALUK

ENGINEERING DRAWING (งานง่าย) BY. SUPPHALUK
15388547_1156881881073803_311533223_oปกอังกฤษ
ปกไทย

                รูปภาพขั้นตอนการทำภาพฉายและภาพไอโซเมทริก
                            

สวัสดีคะก่อนอื่นเรามาแนะนำตัวกันก่อนนะคะ
ดิฉันชื่อ : นางสาวศุภลักษณ์ จันทร์เสียงเย็น
รหัสนักศึกษา : 1590901797

ชื่อเล่น : แนน
อายุ : 19 ปี
เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1
คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาอิเล็กทรอนิกส์
มหาวิทยาลัยกรุงเทพวิทยาเขตรังสิต
    ภาคเรียนที่ 1 / 2559

NAME : SUPPHALUK JUNSAINGYEN
STUDENT’S  ID NUMBER : 1590901797

NICKNAME : NAN
I’M 19 YEARS OLD
SOFTWARE ENGINEERING
OF ELECTRONIC ENGINEERING
SCHOOL OF ENGINEERING
BANGKOK UNIVERSITY 
              1 / 2016

คะสวัสดีคะวันนี้ก็จะมาแนะนำนำเสนอเรื่องการทำโปรเจคเกี่ยวกับการเขียนแบบเชิงวิศวกรรมศาสตร์เป็นในรูปแบบเครื่องจักรกลนะคะจะมาแนะนำทางในการทำและรวมไปถึงการใช้โปรแกรมที่ทำให้เราเข้าใจมากยิ่งขึ้นไปด้วยคะเรามาเริ่มที่ข้อเเรกกันเลยนะคะไปเลยยย…..
ขั้นตอนแรกนะคะ
1.ชื่อของบทความ และทำภาพหน้าปกของบทความ
 รถสำหรับบรรทุกของใช้ในเชิงงานอุตสาหกรรม
    

2. หลักการทำงานของเครื่องจักรกลที่สร้างขึ้น
เราจะมาเรียนรู้หลักการทำงานของเครื่องจักรกลกันนะคะ
     เราจะมาพูดถึงในลักษณะการเกรินก่อนนะคะเกี่ยวกับเครื่องจักรกลเราเป็นเครื่องจักรกลพื้นฐาน เนื่องจากงานก่อสร้างทุกประเภทจะเกี่ยวข้องกับงานดินทั้งสิ้น เช่น งานก่อสร้างอาคาร งานถนน งานเขื่อน งานวางท่อ งานอุโมงค์ งานสะพาน งานสนามกีฬา งานชลประทาน ตลอดจนงานบุกเบิกป่าเป็นต้น

เครื่องจักรกลในงานถนน เครื่องจักรกลที่ใช้ในงานดินทั่วไป
มี 4 ประเภท

1.รถแทรกเตอร์ (Tractor)
2.รถตัก (Loader)
3.เครื่องจักรกลสำหรับขุดดิน (Excavating equipment)
4.รถบรรทุก (Truck)

ได้แบ่งเป็น 4 ชนิด
1.รถขูดอุ้มดิน
2.รถเกรด
3.รถบด
4.เครื่องกลในงานปูพื้นผิวจราจรด้วยแอสฟัลต์
รถบรรทุกหรือที่ชาวบ้านเรียกว่า รถดั้ม ใช้ประโยชน์ในการบรรทุกวัสดุสิ่งของต่าง ๆ เช่นดิน หิน ทราย

สรุปเครื่องจักรกลที่ใช้งานดิน
-รถแทรกเตอร์
-รถตัก
-เครื่องจักรกลสำหรับขุดดิน
-รถบรรทุก

สรุปเครื่องจักรที่ใช้ในงานถนน
-รถบูลโดเซอร์
-รถตัก
-รถบรรทุก
-รถบดอัดสั่นสะเทือน
-รถบดล้อยาง
-รถน้ำ
-รถรีดยาง
-รถบดล้อยาง
-รถบรรทุกแอสฟัลต์ผสมร้อน
-รถพ่นยาง
     
สำหรับเครื่องจักรกลที่เลือกมานั้นคือรถบรรทุกนะคะดังนั้นเรามาดูหลักการทำงานของรถบรรทุกกันเลยคะ

เครื่องจักรกลที่ใช้ในงานดินเป็นเครื่องจักรกลพื้นฐาน ที่จะนำไปใช้งานก่อสร้างอื่น ๆ เช่น เครื่องจักรกลสำหรับงานขุดดิน, เครื่องจักรกลสำหรับบดดิน, บางชนิดสามารถนำไปใช้ในงานถนนได้อีกด้วย
เป็นยานพาหนะก่อสร้างขั้นพื้นฐาน เป็นรถที่ขับเคลื่อนด้วยตัวเองใช้กับงานปรับพื้นที่ดันดิน
-การเคลื่อนย้ายไม่สะดวกถ้านำไปใช้งานไกล ๆ ควรบรรทุกไปบนรถบรรทุกจะสะดวกและประหยัดกว่าที่จะขับเคลื่อนไปด้วยตัวมันเอง
– ยุ่งยากต่อการบำรุงรักษาและต้องเอาใจใส่มากเป็นพิเศษ

ลักษณะของเครื่องจักรกล

1.แบบเหยียดตรง เป็นใบมีดที่มีความแข็งแรง ขนาดเล็กกว่าใบมีดทั่วไปเหมาะกับงานบุกเบิก
2.แบบทั่วไปใช้กับงานเคลื่อนย้ายวัสดุ เช่น ดิน หิน ทราย ขนย้าย ได้ครั้งละมาก ๆ และไกลกว่าแบบเหยียดตรง
3.แบบเหลี่ยม ใช้ในงานเช่นเดียวกับแบบเหยียดตรงแต่จะเหมาะกับงานกลบหลุม กลบท้องร่อง กลบคูคลอง หรือดันดินตามไหล่เขา
4.แบบรองรับน้ำหนัก ใช้เป็นอุปกรณ์สำหรับลากจูงเครื่องมือชนิดอื่น ๆ โดยมีการสั่นสะเทือนหรือระบบป้องกันการสึกหรอ
เป็นเครื่องจักรกลพื้นฐาน เนื่องจากงานก่อสร้างทุกประเภทจะเกี่ยวข้องกับงานดินทั้งสิ้น เช่น งานก่อสร้างอาคาร งานถนน งานเขื่อน งานวางท่อ งานอุโมงค์ งานสะพาน งานสนามกีฬา งานชลประทาน ตลอดจนงานบุกเบิกป่าเป็นต้น

                          การเลือกยางในและยางนอกของรถ


รถบรรทุก หมายถึง รถที่ใช้บรรทุกสิ่งของ มีหลายขนาด ซึ่งปรกติมีขนาด กำลัง และสัณฐานมาก โดยเฉพาะบรรดาที่ใช้เพื่อการค้า ทั้งอาจประกอบด้วยอุปกรณ์พิเศษด้วย เช่น รถประจญเพลิง และรถโม่คอนกรีต ปัจจุบัน รถบรรทุกส่วนใหญ่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานแกโซลีนหรือดีเซล
       รถบรรทุกคันแรกของโลกได้ผลิตขึ้นโดย Gottlieb Daimler ในปี 1896 โครงสร้างเป็นเหล็ก ล้อทำด้วยไม้ ใช้เครื่องยนต์แบบสองสูบ ขนาดความจุ 1.06 ลิตร ในปีต่อมาก็ได้ทำการติดตั้งเครื่องยนต์ขนาด 2.2 ลิตร ขับเคลื่อนด้วยสายพาน พร้อมกับติดตั้งระบบระบายความร้อนด้วยหม้อน้ำ การพัฒนารถบรรทุกเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ในปี 1898 ได้มีการนำรถบรรทุกไปจัดแสดงที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสและได้รับความสนใจอย่างสูง
ในปัจจุบันรถบรรทุกได้พัฒนาการไปมากตั้งแต่รถบรรทุกขนาดเล็กไปจนถึงรถหัวลาก รวมทั้งรถเอนกประสงค์
รถบรรทุก (Truck) และรถโดยสาร (Bus) มีขั้นตอนการผลิตในเริ่มแรกเหมือนกัน คือเริ่ม จากการประกอบ Chassis เครื่องยนตและชุดบังคับเขาดวยกัน  แลวจะแยกประเภทการ เปนรถบรรทุกหรือรถโดยสารโดยตัวถังที่นํามาครอบ Chassis ดังกลาดังนั้นในที่นี้จะเรียกการผลิต รถบรรทุกและรถโดยสารโดยรวมวาอุตสาหกรรมรถบรรทุก

อุตสาหกรรมรถบรรทุกของประเทศไทยสามารถแบงไดเปน 2 ประเภท 1.อุตสาหกรรม ประกอบรถบรรทุก
2.อุตสาหกรรมตอตัวถังหรือดัดแปลงรถบรรทุก

เบรกรถบรรทุก
   เป็นระบบเบรกที่ออกแบบให้เป็นดรัมเบรก (Drum Brake) ทั้งนี้เนื่องจากดรัมเบรกมีข้อดีในการใช้งาน   คือ   พื้นที่หน้าสัมผัสการเบรกมีมาก   โครงสร้างมีความแข็งแรงดังนั้นเมื่อนำไปติดตั้งกับรถบรรทุกจึงสามารถทำให้การชะลอความเร็วหรือการหยุดรถได้เป็นอย่างดีแต่เนื่องจากรถบรรทุกถูกออกแบบเพื่อใช้ในการบรรทุกน้ำหนักซึ่งแตกต่างจากรถยนต์นั่งทั่วไประบบเบรกจึงจำเป็นต้องออกแบบให้มีความแข็งแรง   เพื่อให้เหมาะสมกับขนาดของรถบรรทุกนอกจากนี้การควบคุมใช้งานจะต้องสามารถทำได้รวดเร็ว   คล่องตัว   และมีประสิทธิภาพสูงสุดเบรกรถบรรทุกปัจจุบันออกแบบวิธีการควบคุมการทำงานเป็นหลายแบบดังนี้

  1. เบรกสุญญากาศช่วย (Vacuum Assisted)
  2. เบรกลมดันช่วย (Air Master)
  3. เบรกลม (Full Air Brake)

รถบรรทุกปัจจุบันมีหลายแบบ   ซึ่งแต่ละแบบจะออกแบบให้ใช้ระบบเบรกที่แตกต่างกันทั้งนี้เพื่อให้การเบรกที่ล้อมีประสิทธิภาพสูงสุด   โครงสร้างของเบรกรถบรรทุกจำแนกตามระบบการควบคุมดังนี้
1. โครงสร้างเบรกแบบสุญญากาศช่วย (Vacuum Assisted) เบรกแบบสุญญากาศช่วย
เป็นระบบเบรกที่ออกแบบเพื่อใช้งานกับรถบรรทุกขนาดเล็ก   ลักษณะของเบรกแบบสุญญากาศช่วยออกแบบให้มีแม่ปั๊มเบรก  2  ตัว   คือ   แม่ปั๊มเบรกตัวที่  1  ติดตั้งกับขาเหยียบเบรก   และแม่ปั๊มเบรกตัวที่  2  ติดตั้งกับหม้อลมสุญญากาศซึ่งอยู่ห่างออกไปจากขาเหยียบเบรก   หม้อลมสุญญากาศได้รับแรงดูดจากปั๊มสุญญากาศซึ่งขับเคลื่อนโดยเครื่องยนต์   การควบคุมระบบเบรกทำได้โดยการเหยียบขาเบรกแรงดันน้ำมันที่สร้างขึ้นโดยแม่ปั๊มเบรกตัวที่  1  จะส่งแรงดันน้ำมันไปยังแม่ปั๊มเบรกตัวที่  2เพื่อเพิ่มแรงเบรกด้วยผลต่างระหว่างความดันอากาศกับสุญญากาศ   โครงสร้างของเบรกแบบสุญญากาศช่วย

โครงสร้างเบรกสุญญากาศช่วย
หม้อสุญญากาศ (Master Vacuum) เป็นอุปกรณ์เพิ่มแรงเบรกให้เบรกมีประสิทธิภาพสูงขึ้นหม้อสุญญากาศทำงานโดยอาศัยความแตกต่างระหว่างความดันบรรยากาศกับสุญญากาศสุญญากาศที่นำมาใช้เพื่อสร้างความแตกต่างภายในหม้อสุญญากาศต่อมาจากปั๊มสุญญากาศ  ภายในหม้อสุญญากาศออกแบ่งเป็นห้องความดันคงที่   และห้องความดันแปรผัน   ซึ่งทั้งสองห้องนี้จะมีแผ่นไดอะแฟรมกั้นเพื่อป้องกันการรั่วของอากาศและสุญญากาศ   โดยมีวาล์วเป็นตัวควบคุมอากาศและวาล์วสุญญากาศในตำแหน่งที่เหยียบเบรกและปล่อยเบรก   แม่ปั๊มเบรกที่ติดตั้งอยู่ส่วนหน้าของหม้อสุญญากาศจะได้รับแรงจากหม้อสุญญากาศโดยตรง   ทำให้การเบรกไม่ต้องออกแรงมากโครงสร้างของหม้อสุญญากาศ

โครงสร้างเบรกลมดันช่วย (Air Master) เบรกลมดันช่วยเป็นระบบเบรกที่ใช้
แรงดันลมอัดดันแผ่นไดอะแฟรมในหม้อลมเบรกเพื่อให้แม่ปั๊มเบรกสร้างแรงดันน้ำมันเบรกจ่ายไปยังกระบอกเบรกที่ล้อ   เบรกลมดันช่วยแยกส่วนประกอบของเบรกออกเป็น  2  ระบบคือ   ระบบสร้างแรงดันลม   และระบบสร้างแรงดันน้ำมันเบรก   ส่วนประกอบของชิ้นส่วนทั้งหมดจะต้องทำงานสัมพันธ์กันเพื่อให้การเบรกมีประสิทธิภาพสูงสุด   เบรกลมดันช่วยจำแนกตามหลักการทำงาน
ออกเป็น  2  แบบดังนี้
2.1   แบบน้ำมันเปิดลมดันน้ำมัน (Air Servo) ระบบเบรกแบบนี้ออกแบบให้มี       แม่ปั๊มเบรกจำนวน  2  ตัว   แม่ปั๊มเบรกตัวที่  1  ติดตั้งกับแป้นเหยียบเบรก   ทำหน้าที่สร้างแรงดันน้ำมันเบรกไปควบคุมกลไกของวาล์วที่ติดตั้งอยู่ภายในหม้อลมเบรกและแม่ปั๊มเบรกตัวที่  2  เพื่อให้ระบบสามารถทำงานได้เมื่อทำการเหยียบเบรก   แม่ปั๊มเบรกตัวที่  2  เป็นตัวที่สร้างแรงดันน้ำมันเบรกเพื่อจ่ายไปยังกระบอกเบรกที่ล้อ   แม่ปั๊มเบรกตัวนี้จะยึดติดกับหม้อลมเบรก   โครงสร้างของเบรกแบบน้ำมันเปิดลมดันน้ำมัน

2.2   โครงสร้างเบรกลมดันน้ำมันโดยตรง (Air Over Hydraulic) เบรกชนิดนี้
ออกแบบเพื่อใช้งานกับรถบรรทุกขนาดกลางและขนาดใหญ่   หม้อลมเบรกและแม่ปั๊มเบรกที่ใช้งานในระบบเบรกแบบลมดันน้ำมันโดยตรงมีจำนวน  2  ชุด   ซึ่งแม่ปั๊มเบรกแต่ละตัวจะทำหน้าที่ควบคุมแรงดันน้ำมันเบรกแยกเป็นล้อหน้าและล้อหลัง   หลักการทำงานของเบรกลมดันน้ำมันโดยตรงใช้แรงดันลมที่ควบคุมผ่านลิ้นเหยียบเบรกดันแผ่นไดอะแฟรมที่อยู่ในหม้อลมเบรกให้เลื่อนไปข้างหน้าเพื่อดันลูกสูบในแม่ปั๊มเบรกให้สร้างแรงดันน้ำมันจ่ายไปยังล้อ   ประสิทธิภาพการเบรกของเบรกลมดันน้ำมันโดยตรงจะสูงกว่าเบรกแบบน้ำเปิดลมดันน้ำมัน   ทั้งนี้เนื่องจากวิธีการควบคุมการทำงานของหม้อลมเบรกนั้นเป็นการควบคุมให้ลมจากถังลมดันน้ำมันโดยตรง   โครงสร้างเบรกลมดันน้ำมันโดยตรง

3. ประโยชน์ที่มนุษย์จะได้จากเครื่องจักรกลนี้
เราก็จะมาแนะนำการใช้ประโยชน์จากเครื่องจักรกลที่เลือกนะคะ
1 .อัตตราการน้ำมัน
2. ความทนทาน
3. การบรรทุกกระบะแรงม้ามากกว่า
4. อำนวยความสะดวกการใช้งานของการก่อสร้างสิ่งต่างๆ
5. ช่วยเบาแรงคนในการทำโดยใช้เครื่องยนต์แทน
6. รถกระบะบรรทุกดัมพ์ 6 ล้อ HINO ใช้บรรทุกวัสดุที่มีน้ำหนักมาก และต้องการความสะดวกรวดเร็วในการถ่ายเทสิ่งของหรือส่งของ

4. อัพ VDO ขั้นตอนการทำเข้า YouTube ของตัวเอง แล้วนำมาใส่ในบทความ
สำหรับวิธีเข้าติดตามหรือดูการรายงานการทำในแต่ละส่วนนะคะให้เพื่อนเข้าไปที่  youtube


หลังจากนั้นพิมคำว่า ENGINEERING DRAWING (งานง่าย) BY. SUPPHALUK
ซึ่งเป็นชื่อของตัวผู้สร้างคะสามารถกดติดตามได้นะคะภายในนั้นก็จะมีบทความของ CALCULUS I และเรื่องSOFTWARE ENGINEERING เพื่อนๆสามารถเลือกดูได้เลยคะ

1.https://youtu.be/wVQeoAeYCDQ
นี้ก็คือเว็บไซต์ที่จะนำเข้าหาใน YOU TUBE เพียงเเค่พิมพ์เข้าไปเพื่อนๆก็จะเจอเลยนะคะ

5. ใส่รูปแบบ Isometric และ Orthographic เขียนอธิบายขั้นตอนการสร้างเครื่องจักรกลนี้ พร้อมรูปหน้าโปรแกรมขณะทำการสร้าง

1. รูปหน้าโปรแกรมที่ทำการสร้าง

2. รูปไอโซเมทริก3. รูปออโทกราฟฟิกภาพฉาย


คำอธิบายขั้นตอนการสร้าง
ภาพฉาย  หมายถึง  ภาพที่มองจากชิ้นงานจริงฉายไปปรากฏรูปทรงบนระนาบรับภาพ  โดยทั่วไปในการเขียนแบบชิ้นส่วนใด ๆ  ถ้าจะให้มองเห็นได้ชัดเจนและดูเหมือนจริงนั้นสามารถเขียนได้ด้วยภาพ 3 มิติ  ซึ่งแสดงเพียงภาพเดียวก็สามารถมองได้ชัดเจนทั้งสามารถกำหนดรายละเอียดต่าง ๆ ได้และนำไปทำการผลิตได้ด้วย  แต่การเขียนภาพ 3 มิติ  นั้นกระทำได้ยากต้องใช้เวลาในการเขียนแบบงานต้องมีเครื่องมือและอุปกรณ์ช่วยหลายอย่าง  จึงไม่เหมาะสมที่จะนำวิธีการนี้มาเขียนแบบเพื่อสั่งงานผลิต  เพราะจะทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น  ภาพ มิติ  เหมาะสำหรับแสดงรูปร่างและการประกอบกันอยู่ของชิ้นงานในคราวที่จำเป็นมากกว่าการที่จะเขียนงานให้ง่ายและรวดเร็วขึ้นสามารถเขียนได้โดยวิธีการมองภาพทีละด้านและนำเอาแต่ละด้านมาเขียนลงบนกระดาษให้สัมพันธ์กัน  จะทำให้การเขียนลงบนกระดาษให้สัมพันธ์กันจะทำให้การเขียน ,การแสดงอัตราส่วน ,การแสดงขนาด ,การใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ช่วยและสะดวกยิ่งขึ้น
 1. วาดภาพแบบออโทกราฟฟิกภาพฉาย 
 2. วาดภาพฉายจากส่วนที่1 คือ ทอปวิว ส่วนที่2 คือด้านข้าง
 ส่วนที่3คือด้านบน ในแต่ละด้านโดยจะวาดทั้งหมด 3 มุม และทำการ          กำหนดค่าตามที่เราต้องการโดยการทำตามคำสั่งของโปรแกรมที่เราใช้
 3. ทำการวาดภาพแบบไอโซเมทริกคือภาพที่มำมุม 30 องศา 
 4. นำรูปภาพที่สร้างเสร็จมารวมกันให้อยู่ในหน้าเดียวกัน
  และทำการกำหนดค่าต่างๆที่ต้องทำตามความต้องการของเรา
 5. ในที่นี้จะเอาเป็นรูปแบบง่ายโดยจะใช้จำพวกเบสิกในการสร้างและมี    การนำคำสั่งที่ยากมาใช้ปะปนบ้างเล็กน้อย
6. แนบไฟล์ .dwg และ .pdf (Link Google Drive) ของภาพ Isometric และ Orthographic ในบทความ
1. รวม
2. Drawing1.dwgไอโซ
3. PJ.1

แนะนำการใช้ส่วนต่างๆของโปรแกรม




การใช้โดตในการทำออโต้แคท

หวังเป็นอย่างยิ่งนะคะว่าจะนำไปเป็นประโยชน์ในการสร้างไม่มากก็น้อยหาก                   เกิดข้อผิดพลาดประการใดขออภัยไว้ในที่นี้ด้วยนะคะ
     

         ฝากกดติดตามตามลิงค์ด้านล้างนี้ด้วยนะคะขอบคุณคะ
  ENGINEERING DRAWING (งานง่าย) BY. SUPPHALUK
  ศุภลักษณ์  จัยทร์เสียงเย็น

นางสาวศุภลักษณ์ จันทร์เสียงเย็น 1590901797 
คณะวิศวกรรมศาสตร์สาขาอิเล็กทรอนิก
มหาวิทยาลัยกรุงเทพวิทยาเขตรังสิต

 

at GlurGeek.Com
ชื่อนางสาวศุภลักษณ์ จันทร์เสียงเย็น กำลังศึกษาระดับปริญญาตรีคณะวิศวกรรมศาสตร์สาขาอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เป็นคนที่ชอบความสนุกสนาน งานความท้าทายความสามารถของตัวเอง ชอบเล่นกีฬา ออกกำลังกาย อ่านหนังสือ ฟังเพลง
เป็นคนที่มีความพึงพอใจในสิ่งที่ตัวเองมี ชอบการทดลอง การทำงานทางด้านเชิงนวัตกรรมวิทยาศาสตร์เพื่อผลิตสิ่งดีๆให้คนในโลกใช้และการสร้างแบบกราฟฟิกที่สร้างสรรค์น่ารักๆคะ <3

Leave a Reply

© 2022 GlurGeek.Com
Exit mobile version