DATA MINING คืออะไร อยากรู้ต้องอ่าน



Data Mining (เหมืองข้อมูล ) คือกระบวนการที่กระทำกับข้อมูลจำนวนมากเพื่อค้นหารูปแบบและความสัมพันธ์ที่ซ่อนอยู่ในชุดข้อมูลนั้น ในปัจจุบันการทำเหมืองข้อมูลได้ถูกนำไปประยุกต์ใช้ในงานหลายประเภท ทั้งในด้านธุรกิจที่ช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหาร ในด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์รวมทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคม

การทำเหมืองข้อมูล (Data Mining) เปรียบเสมือนวิวัฒนาการหนึ่งในการจัดเก็บและตีความหมายข้อมูล จากเดิมที่มีการจัดเก็บข้อมูลอย่างง่ายๆ มาสู่การจัดเก็บในรูปแบบฐานข้อมูลที่สามารถดึงข้อมูลสารสนเทศมาใช้จนถึงการทำเหมืองข้อมูลที่สามารถค้นพบความรู้ที่ซ่อนอยู่ในข้อมูล หรือจะแยกๆ เป็นข้อๆ ได้ดังนี้

–  กระบวนการหรือการเรียงลำดับของการค้นข้อมูลจำนวนมากและเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

–  การนำมาใช้โดยหน่วยงานทางธุรกิจและนักวิเคราะห์ทางการเงินหรือการนำมาใช้งานในด้านวิทยาศาสตร์เพื่อเอาข้อมูลขนาดใหญ่ที่สร้างโดยวิธีการทดลองและการสังเกตการณ์ที่ทันสมัย

–  การสกัดหรือแยกข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากข้อมูลขนาดใหญ่หรือฐานข้อมูล

–  การวางแผนทรัพยากรขององค์กรโดยสามารถวิเคราะห์ทางสถิติและตรรกะของข้อมูลขนาดใหญ่เป็นการมองหารูปแบบที่สามารถช่วยการตัดสินใจได้

ทคนิคในการทำ Data Mining



    กฎความสัมพันธ์ (Association rule) 

แสดงความสัมพันธ์ของเหตุการณ์หรือวัตถุ ที่เกิดขึ้นพร้อมกัน ตัวอย่างของการประยุกต์ใช้กฎเชื่อมโยง เช่น การวิเคราะห์ข้อมูลการขายสินค้า โดยเก็บข้อมูลจากระบบ ณ จุดขาย (POS) หรือร้านค้าออนไลน์ แล้วพิจารณาสินค้าที่ผู้ซื้อมักจะซื้อพร้อมกัน เช่น ถ้าพบว่าคนที่ซื้อเทปวิดีโอมักจะซื้อเทปกาวด้วย ร้านค้าก็อาจจะจัดร้านให้สินค้าสองอย่างอยู่ใกล้กัน เพื่อเพิ่มยอดขาย หรืออาจจะพบว่าหลังจากคนซื้อหนังสือ ก แล้ว มักจะซื้อหนังสือ ข ด้วย ก็สามารถนำความรู้นี้ไปแนะนำผู้ที่กำลังจะซื้อหนังสือ ก ได้

         

     การจำแนกประเภทข้อมูล (Data classification) 

หากฎเพื่อระบุประเภทของวัตถุจากคุณสมบัติของวัตถุ เช่น หาความสัมพันธ์ระหว่างผลการตรวจร่างกายต่าง ๆ กับการเกิดโรค โดยใช้ข้อมูลผู้ป่วยและการวินิจฉัยของแพทย์ที่เก็บไว้ เพื่อนำมาช่วยวินิจฉัยโรคของผู้ป่วย หรือการวิจัยทางการแพทย์ ในทางธุรกิจจะใช้เพื่อดูคุณสมบัติของผู้ที่จะก่อหนี้ดีหรือหนี้เสีย เพื่อประกอบการพิจารณาการอนุมัติเงินกู้

         

     การแบ่งกลุ่มข้อมูล (Data clustering) 

แบ่งข้อมูลที่มีลักษณะคล้ายกันออกเป็นกลุ่ม แบ่งกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรคเดียวกันตามลักษณะอาการ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์หาสาเหตุของโรค โดยพิจารณาจากผู้ป่วยที่มีอาการคล้ายคลึงกัน



ตัวอย่างการนำเหมืองข้อมูลไปใช้งาน

                 การตลาด 

                    – การทำนายผลการตอบสนองกับการเปิดตัวสินค้าใหม่

                    – การทำนายยอดขายเมื่อมีการลดราคาสินค้า

                    –  การทำนายกลุ่มลูกค้าที่น่าจะใช้สินค้าของเรา

                

                  การเงินการธนาคาร

                     –  การคาดการณ์ถึงโอกาสในการชำระหนี้ของลูกค้าว่าสูงเท่าไหร่?

–  ค้นหาลูกค้าขาดคุณภาพ เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในการปล่อยกู้

–  ค้นหาลูกค้าชั้นดี เพื่อเสนอการปล่อยกู้

–   ทำนายแนวโน้มของพฤติกรรมการใช้บัตรเครดิต

สถานีโทรทัศน์หรือวิทยุ

–  ค้นหารายการที่ดีและเหมาะสมต่อช่วงเวลาที่สุด เพื่อวางผังรายการในแต่ละเดือน

ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์

–  ค้นหาช่วงเวลาที่เหมาะสมกับการผลิตชิพคอมพิวเตอร์ตัวใหม่ เพื่อป้อนสู่ตลาด

–  การทำนายอายุการใช้งานของ Disk Drive หรือ อุปกรณ์ต่าง ๆ

 



TANAWIT BUDKOD
at GlurGeek.Com
ธนวิชญ์ บุตรโคตร 1570900850

Leave a Reply

© 2022 GlurGeek.Com