ระบบรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติด้วย Arduino (Automatic Watering)



โครงการ ระบบรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติ

โครงการ ระบบรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติ

บทที่ 1

บทนํา

1.1 ความเป็นมา
ในปัจจุบันนี้โลกกําลังเผชิญกับปัญหาภาวะโลกร้อน อันเนื่องมาจากทรัพยากรป่าไม้กําลังจะ หมดไป ดังน้นทางภาครัฐจึงได้มีการรณรงค์ให้มีการปลูกต้นไม้ซึ่งมนุษย์ในโลกปัจจุบันต้องทํางานจึง ไม่มีเวลาในการรดน้ำต้นไม้ จึงทําให้เกิดความคิดที่จะสร้างเครื่องรดนำต้นไม้อัตโนมัติขึ้นมาเพื่ออํานวย ความสะดวกแก่บุคคลที่รักษ์โลก และเพื่อตอบสนองความต้องการของภาครัฐที่ต้องการให้ทุกคน ช่วยกันรักษาต้นไม้เพื่อลดภาวะโลกร้อน ดังนั้นโครงงานเครื่องรดน้ำอัตโนมัติจึงเหมาะกับโลกในยุค ปัจจุบัน

1.2 ขอบเขตงาน
1. เพื่อตอบสนองความต้องการของส่วนบุคคลทีÉต้องการความสะดวกในชีวิตประจําวัน
2. เพื่อตอบสนองความต้องการของภาครัฐ
3. เพื่อให้บุคคลทั่วไปหันมาสนใจการปลูกต้นไม้
4. เพื่อลดภาวะโลกร้อน
5. เพื่อใช้ในการเกษตร

1.3 ขั้นตอนการดําเนินงาน
1.ศึกษาหัวเรื่องที่ต้องการศึกษานํามาเปรียบเทียบและทําการเลือกหัวข้อที่ต้องการศึกษาเรื่อง เครื่องรดนํ้าต้นไม้อัตโนมัติ
2.ศึกษาข้อมูลศึกษาข้อมูลนํามาประกอบกับความรู้ทางทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหัวข้อที่ต้องการศึกษา
3.ทําการจัดซืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการศึกษาและศึกษาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
4.เขียนโปรแกรมควบคุมการทํางาน
5.ตรวจสอบโปรแกรมและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ตลอดจนการเตรียมเอกสาร จัดทําเอกสารและนําเสนอโครงงาน

1.4 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ทําให้บุคคลทั่วไปหันมาสนใจการปลูกต้นไม้
2. สามารถลดภาวะโลกร้อนได้
3. สามารถนําไปใช้ในการเกษตรได้
4. สามารถทํางานเป็นทีมได้
5. สามารถวิเคราะห์งานและแก้ปัญหาอย่างเป็ นระบบได้

บทที่ 2

ทฤษฎีและหลักการที่เกี่ยวข้อง

2.1 บทนํา



การทดสอบการทํางานของเครื่องรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติ ได้ใช้ทฤษฎีและหลักการที่เกี่ยวข้อง คือ Arduino UNO     เซนเซอร์วัดความชื้นและอุณหภูมิที่มีหลักการทํางาน ดังต่อไปนี้

2.2 หลักการทํางานของ Arduino

Arduino คือ โครงการที่นำชิปไอซีไมโครคอนโทรลเลอร์ตระกูลต่างๆ มาใช้ร่วมกันในภาษา C ซึ่งภาษา C นี้เป็นลักษณะเฉพาะ คือมีการเขียนไลบารี่ของ Arduino ขึ้นมาเพื่อให้การสั่งงานไมโครคอนโทรลเลอร์ที่แตกต่างกัน สามารถใช้งานโค้ดตัวเดียวกันได้ โดยตัวโครงการได้ออกบอร์ดทดลองมาหลายๆรูปแบบ เพื่อใช้งานกับ IDE ของตนเอง สาเหตุหลักที่ทำให้ Arduino เป็นนิยมมาก เป็นเพราะซอฟแวร์ที่ใช้งานร่วมกันสามารถโหลดได้ฟรี และตัวบอร์ดทดลองยังถูกแจกแปลน ทำให้ผู้ผลิตจีนนำไปผลิตและขายออกตลาดมาในราคาที่ถูกมากๆ

Auduino นั้นได้ใช้ชิป AVR เป็นหลักใน Auduino แทบรุ่น สาเหตุมาจากไมโครคอนโทรเลอร์ของตะกูล AVR นั้นมีความทันสมัย ในชิปในบางตัวสามารถเชื่อมต่อผ่าน USB ได้โดยตรง สามารถใช้กับคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ได้เป็นอย่างดี และในไมโครคอนโทรเลอร์ตะกูล AVR ยังมีส่วนของโปรแกรมพิเศษที่เรียกว่า Bootloader อยู่ในระดับล่างกว่าส่วนโปรแกรมปกติ ซึ่งจะเป็นส่วนโปรแกรมที่จะถูกเรียกขึ้นมาก่อนการเรียกโปรแกรมปกติ ทำให้สามารถเขียนสั่งให้ทำงานใดๆก็ได้ ก่อนการเรียกโปรแกรมปกติ ทำให้ Arduino นั้นอาศัยส่วนโปรแกรมแกรมพิเศษนี้ในการทำให้ชิปสามารถโปรแกรมผ่านพอร์ตอนุกรมชนิด UART ได้ จึงทำให้การเขียนโปรแกรมลงไปในชิปใช้เพียง USB to UART ก็เพียงพอแล้ว แต่การโปรแกรมด้วยการใช้โปรโตคอล UART ก็มีข้อเสียตรงที่ต้องใช้เวลาในการบูตเข้าโปรแกรมปกติประมาณ 1 – 2 วินาที

ข้อมูลจำเพาะ

ชิปไอซีไมโครคอนโทรเลอร์ ATmega328
ใช้แรงดันไฟฟ้า 5V
รองรับการจ่ายแรงดันไฟฟ้า (ที่แนะนำ) 7 – 12V
รองรับการจ่ายแรงดันไฟฟ้า (ที่จำกัด) 6 – 20V
พอร์ต Digital I/O 14 พอร์ต (มี 6 พอร์ต PWM output)
พอร์ต Analog Input 6 พอร์ต
กระแสไฟที่จ่ายได้ในแต่ละพอร์ต 40mA
กระแสไฟที่จ่ายได้ในพอร์ต 3.3V 50mA
พื้นที่โปรแกรมภายใน 32KB พื้นที่โปรแกรม, 500B ใช้โดย Booloader
พื้นที่แรม 2KB
พื้นที่หน่วยความจำถาวร (EEPROM) 1KB
ความถี่คริสตัล 16MHz
ขนาด 68.6×53.4 mm
น้ำหนัก 25 กรัม



2.3 หลักการทํางานของเซนเซอร์วัดความชื้นและอุณหภูมิ

     เซ็นเซอร์วัดความชื้นในดิน Soil Moisture Sensor ใช้วัดความชื้นในดิน หรือใช้เป็นเซ็นเซอร์น้ำ สามารถต่อใช้งานกับไมโครคอนโทรลเลอร์โดยใช้อนาล็อกอินพุตอ่านค่าความชื้น หรือเลือกใช้สัญญาณดิจิตอลที่ส่งมาจากโมดูล สามารถปรับความไวได้ด้วยการปรับ Trimpot

สินค้านี้ ประกอบไปด้วย

  • แผ่น PCB สำหรับเสียบลงดินเพื่อวัดค่าความชิ้น
  • โมดูลวัด และประมวลผล
  • สายจั้มตัวเมีย – เมีย จำนวน 6 เส้น

หลักการทำงาน

การใช้งาน จะต้องเสียบแผ่น PCB สำหรัลวัดลงดิน เพื่อให้วงจรแบ่งแรงดันทำงานได้ครบวงจร จากนั้นจึงใช้วงจรเปรียบเทียบแรงดันโดยใช้ไอซีออปแอมปเบอร์ LM393 เพื่อวัดแรงดันเปรียบเทียบกันระหว่างแรงดันดันที่วัดได้จากความชิ้นในดิน กับแรวดันที่วัดได้จากวงจรแบ่งแรงดันปรับค่าโดยใช้ Trimpot หากแรงดันที่วัดได้จากความชิ้นของดิน มีมากกว่า ก็จะทำให้วงจรปล่อยลอจิก 1 ไปที่ขา D0 แต่หากความชิ้นในดินมีน้อย ลอจิก 0 จะถูกปล่อยไปที่ขา D ขา A0 เป็นขาที่ต้อโดยตรงกับวงจรที่ใช้วงความชื้นในดิน ซึ่งให้ค่าแรงดันออกมาตั้งแต่ 0 – 5V (ในทางอุดมคติ) โดยหากความชิ้นในดินมีมาก แรงดันที่ปล่อยออกไปก็จะน้อยตามไปด้วย ในลักษณะของการแปรผันกลับ



 

บทที่  3

การออกแบบ

3.1 บทนํา

ในบทนี้จะกล่าวถึงการออกแบบเครื่องรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 หัวข้อ คือ การ ออกแบบ Hardware

3.2  อุปกรณ์ที่ใช้

1. Board Arduino Uno

เป็นบอร์ด Arduino รุ่นแรกที่ออกมา มีขนาดประมาณ 68.6×53.4mm เป็นบอร์ดมาตรฐานที่นิยมใช้งานมากที่สุด เนื่องจากเป็นขนาดที่เหมาะสำหรับการเริ่มต้นเรียนรู้ Arduino และมี Shields ให้เลือกใช้งานได้มากกว่าบอร์ด Arduino รุ่นอื่นๆที่ออกแบบมาเฉพาะมากกว่า โดยบอร์ด Arduino Uno ได้มีการพัฒนาเรื่อยมา ตั้งแต่ R2 R3 และรุ่นย่อยที่เปลี่ยนชิปไอซีเป็นแบบ SMD

ข้อมูลจำเพาะ

ชิปไอซีไมโครคอนโทรเลอร์ ATmega328

ใช้แรงดันไฟฟ้า     5V

รองรับการจ่ายแรงดันไฟฟ้า (ที่แนะนำ)               7 – 12V

รองรับการจ่ายแรงดันไฟฟ้า (ที่จำกัด)  6 – 20V

พอร์ต Digital I/O  14 พอร์ต (มี 6 พอร์ต PWM output)

พอร์ต Analog Input               6 พอร์ต

กระแสไฟที่จ่ายได้ในแต่ละพอร์ต        40mA

กระแสไฟที่จ่ายได้ในพอร์ต 3.3V         50mA

พื้นที่โปรแกรมภายใน           32KB พื้นที่โปรแกรม, 500B ใช้โดย Booloader

พื้นที่แรม 2KB

พื้นที่หน่วยความจำถาวร (EEPROM)   1KB

ความถี่คริสตัล       16MHz

ขนาด      68.6×53.4 mm

น้ำหนัก   25 กรัม



2. liquid crystal display: LCD

โมดูลแสดงผลแบบ LCD เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับแสดงข้อความตัวเลขหรือตัวอักษรแบบ 2 หรือ 4 บรรทัด จำนวน 16 หรือ 20 ตำแหน่งต่อบรรทัด (16×2, 20×2, 20×4 เป็นต้น) และขนาดของตัวอักษรที่พบเห็นได้บ่อย คือ 5×7, 5×8 และ 5×10 จุด (dot matrix) โมดูล LCD โดยทั่วไป มักนิยมใช้การเชื่อมต่อกับไมโครคอนโทลเลอร์แบบ parallel (บิตขนาน) สำหรับรับส่งข้อมูลทีละ 8 บิต หรือ 4 บิต และยังต้องใช้ขาสัญญาณควบคุมอีกคือ Enable, R/W, RS   บทความนี้จะกล่าวถึง การใช้งานโมดูล LCD ผ่านบัส I2C โดยใช้ไอซี PCF8574 เพื่อลดจำนวนสายสัญญาณที่ต้องใช้ และเขียนโค้ด Arduino Sketch เพื่อสาธิตการทำงาน

ในการทดลองนี้ ได้เลือกใช้โมดูลที่ใช้ไอซี PCF8574 ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวรับส่งข้อมูลผ่านบัส I2C และมีขา 16 ขา สำหรับนำไปต่อกับโมดูล LCD นอกจากนั้นยังมีวงจรปรับแรงดันด้วย trimpot เพื่อใช้ปรับความเข้มของตัวอักษรที่ปรากฏบนจอแสดงผล LCD

ขาสัญญาณของโมดูล LCD-I2C มีทั้งหมด 16 ขา ในแถวเดียวกัน สำหรับนำไปเชื่อมต่อกับโมดูล LCD เรียงตามลำดับดังนี้

Pin 1 เป็นขา Gnd สำหรับลอจิก (อยู่ด้านเดียวกับ 4-pin header) ต่อกับ Pin 1 (Gnd) ของ LCD

Pin 2 เป็นขาแรงดันไฟเลี้ยง Vcc (+4.5V..+5.5V) สำหรับลอจิก ต่อกับ Pin 2 (VCC) ของ LCD

Pin 3 นำไปต่อกับวงจรปรับระดับแรงดันได้ สำหรับปรับความเข้มของตัวอักษร ต่อกับ Pin 3 (VEE) ของ LCD

Pin 4 มาจากขา P0 ของ PCF8574 และต่อกับ Pin 4 (RS or Register Select) ของ LCD

Pin 5 มาจากขา P1 ของ PCF8574 และต่อกับ Pin 5 (RW or Read not Write) ของ LCD

Pin 6 มาจากขา P2 ของ PCF8574 และต่อกับ Pin 6 (EN or Enable) ของ LCD

Pin 7 ต่อกับ Pin 7 (DB0 or Data Bit 0) ของ LCD — ไม่ได้ใช้งาน

Pin 8 ต่อกับ Pin 8 (DB1 or Data Bit 1) ของ LCD — ไม่ได้ใช้งาน

Pin 9 ต่อกับ Pin 9 (DB2 or Data Bit 2) ของ LCD — ไม่ได้ใช้งาน

Pin 10 ต่อกับ Pin 10 (DB3 or Data Bit 3) ของ LCD — ไม่ได้ใช้งาน

Pin 11 มาจากขา P4 ของ PCF8574 และต่อกับ Pin 12 (DB4 or Data Bit 4) ของ LCD

Pin 12 มาจากขา P5 ของ PCF8574 และต่อกับ Pin 13 (DB5 or Data Bit 5) ของ LCD

Pin 13 มาจากขา P6 ของ PCF8574 และต่อกับ Pin 14 (DB6 or Data Bit 6) ของ LCD

Pin 14 มาจากขา P7 ของ PCF8574 และต่อกับ Pin 15 (DB7 or Data Bit 7) ของ LCD

Pin 15 (LED+) เป็นขา Vcc สำหรับ LED backlight (ต่อผ่าน +5V ผ่าน Jumper )

Pin 16 (LED-) เป็นขา Gnd สำหรับ LED backlight (ใช้ขา P3 ของ PCF8574 ควบคุมเปิด-ปิดกระแส)

 



ขาสัญญาณของโมดูล LCD-I2C ยังมีคอนเนกเตอร์แบบ 4-pin male pin-header

Gnd เป็น Gnd ของวงจร

Vcc ใช้ป้อนแรงดันไฟเลี้ยง +5V (+4.5V..+5.5V)

SDA ขาสัญญาณ serial data สำหรับ I2C ( SDA = Arduino Uno A4 Pin)

SCL ขาสัญญาณ serial clock สำหรับ I2C ( SCL = Arduino Uno A5 Pin)

3. Soil sensor moisture    

ในการวัดค่าความชื้นในดินนั้น จะต้องนำเอาแท่งอิเล็กโทรดปักลงไปในดินที่ต้องการวัดซึ่งก็จะสามารถอ่านค่าความชื้นของดินได้ หลักการ คือ การวัดค่าความต้านทานระหว่างอิเล็กโทรด 2 ข้าง

ในกรณีที่อ่านค่าความต้านทานได้น้อย ก็แปลว่ามีความชื้นในดินมาก หรือดินชุ่มชื้นไม่ต้องรดน้ำ ในกรณีที่อ่านค่าความต้านทานได้มาก ก็แปลว่ามีความชื้นในดินน้อย หรือดินแห้งอาจจะต้องรดน้ำ  ในส่วนของ Soil moisture sensor module นี้สามารถให้ค่าได้ 2 แบบ

อ่านค่าเป็นแบบ Analog หมายถึงอ่านค่าความชื่นและให้ค่าตั้งแต่ 0 ถึง 1024

อ่านค่าเป็นแบบ Digital โดยเปรียบเทียบกับค่าที่ตั้งไว้ ถ้ามากกว่าก็ให้ logic HIGH ถ้าต่ำกว่าก็ LOW

จากนั้นค่าที่อ่านได้ก็จะเอาป้อนให้กับวงจรเปรียบเทียบแรงดัน IC LM393 (DUAL DIFFERENTIAL COMPARATORS) โดยตั้งค่าได้จาก Variable Resistor ซึ่งเป็นการปรับค่าแรงดันที่ใช้ในการเปรียบเทียบ

 การต่อใช้งานกับ Arduino แบบ 4 เส้น

  1. VCC: 3V-5V
  2. GND: GND ของ Arduino
  3. D0: ต่อเข้ากับขา Digital ของ Arduino
  4. A0: ต่อเข้ากับขา Analog ของ Arduino

 



4. Motor pump

Mini Pump Motor คือปั๊มน้ำขนาดเล็กที่ใช้มอเตอร์ขนาด 5V ในการสูบน้ำขึ้นทางท่อยางไปยังภาชนะอื่น โดยการนำตัวปั๊มจุ่มลงไปในน้ำเพื่อสูบน้ำขึ้นมาใช้งานต่อไป
ลักษณะทั่วไป

  • แรงดันไฟฟ้า: 2.5-6V
  • ลิฟท์สูงสุด: 40-110cm / 15.75 “-43.4”
  • อัตราการไหล: 80-120L / H เส้นผ่าศูนย์กลางภายนอก: 7.5mm / 0.3 “
  • เส้นผ่าศูนย์กลางภายใน: 5mm / 0.2 “
  • เส้นผ่าศูนย์กลาง: ประมาณ 24 มม. / 0.95 “
  • ความยาว: ประมาณ 45mm / 1.8 “
  • ความสูง: ประมาณ 30mm / 1.2 ” วั
  • สดุ: พลาสติกวิศวกรรม โหมดการขับขี่: การออกแบบ DC การขับขี่แบบแม่เหล็ก อายุการใช้งานต่อเนื่อง 500 ชั่วโมง

5. LED

ไดโอดเปล่งแสง (อังกฤษ: light-emitting diode หรือย่อว่า LED) เป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำอย่างหนึ่ง จัดอยู่ในจำพวกไดโอด ที่สามารถเปล่งแสงในช่วงสเปกตรัมแคบ เมื่อถูกไบอัสทางไฟฟ้าในทิศทางไปข้างหน้า(ไบอัสตรง(Forward bias))ปรากฏการณ์นี้อยู่ในรูปของ electroluminescence สีของแสงที่เปล่งออกมานั้นขึ้นอยู่กับองค์ประกอบทางเคมีของวัสดุกึ่งตัวนำที่ใช้ และเปล่งแสงได้ใกล้ช่วงอัลตราไวโอเลต ช่วงแสงที่มองเห็น และช่วงอินฟราเรด

3.3 Source Code  การทำงานของโปรแกรม Arduino

#include “LiquidCrystal_I2C.h”

#include “DHT.h”

#define DHTPIN 8

#define DHTTYPE DHT11

DHT dht(DHTPIN, DHTTYPE);

LiquidCrystal_I2C lcd(0x27, 16, 2);

int sensor_Pin = A0;

double sensor_Value = 0;

double moisture_Value = 0;

const int MOISTURE_LEVEL = 300;

void setup() {

Serial.begin(9600);

dht.begin();

lcd.begin();

pinMode(7, OUTPUT);

pinMode(12, OUTPUT);

pinMode(13, OUTPUT);

}

void loop() {

float t = dht.readTemperature(true);

sensor_Value = analogRead(sensor_Pin);

Serial.print(“Soil Moisture Sensor Value = “);

Serial.print(sensor_Value);

moisture_Value = (sensor_Value * 100) / 1000;

moisture_Value = 100 – moisture_Value;

Serial.print(” Soil Moisture Value = “);

Serial.print(moisture_Value);

Serial.println(” %”);

Serial.print(” Temp = “);

Serial.print(t);

Serial.println(” C”);

lcd.setCursor(0, 0);

lcd.print(“Temp=” + String(t) + ‘C’);

lcd.setCursor(0, 1);

lcd.print(“Moisture=” + String(moisture_Value) + ‘%’);

if(sensor_Value > MOISTURE_LEVEL){

digitalWrite(7,HIGH);

digitalWrite(13,HIGH);

digitalWrite(12,LOW);

}

else {

digitalWrite(7,LOW);

digitalWrite(13,LOW);

digitalWrite(12,HIGH);

}

delay(1000);

}

 

บทที่  4

ผลการทดลอง

4.1 ตารางการทดลอง

ครั้งที่ ความชื้น(%) อุณหภูมิ(*C) ลักษณะของดิน
1 67.45 28..65 แห้ง
2 76.32 27.87 ชื้น
3 78.34 27.54 ชื้น
4 68.73 30.54 แห้ง
5 70.71 27.91 ชื้น
6 68.95 27.83 แห้ง
7 76.41 28.45 ชื้น
8 69.37 28.53 แห้ง
9 68.98 28.90 แห้ง
10 70.29 29.87 ชื้น
ค่าเฉลี่ย  =  71.55 % ค่าเฉลี่ย  =  28.61 *C

 



4.2  วิเคราะห์ผลการทดลอง

     การทดสอบเก็บข้อมูลค่าความชื้นทั้งหมด 10 ครั้ง จะเห็นว่าค่าความชื้นมีค่า น้อย เมื่ออุณหภูมิสูงและดินมีลักษณะแห้ง ซึ่งในทางตรงกันข้าม เมื่ออุณหภูมิตำและดินมีลักษณะเปียก จะทําให้ค่าความชื้นมีค่ามาก เมื่อนํามาหาค่าความชื้นเฉลี่ย พบว่ามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 71.55%

จากผลการทดสอบการทํางานของเครื่องรดน้ำต้นไม้อัตโนมัตจะเห็นว่าเครื่องจะทำงาน ซึ่งวัดความชื้นก่อนรดน้ำต้นไม้ ซึ่งมีค่าต่ำกว่า  70.00% ของความชื้นในดิน  และจะหยุดทำงานเมื่อค่าความชื้นที่วัดได้ในดินนั้นมีค่าที่มากกว่า  70.00%  ขึ้นไปนั่นแสดงว่าความชื้นที่พืชต้องการในแต่ละชนิดนั้นมีความแตกต่างกันออกไป  ดังนั้นเราสามารถที่จะกำหนดค่าความชื้นที่พืชต้องการในการกำหนดการรดน้ำของเครื่องได้

บทที่ 5

สรูปผลการทดลอง

5.1 บทนำ

ในบทนี้เป็ นการสรุปผลการทดลองการทดสอบการทํางานของเครื่องรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติ ซึ่ ง ได้นําผลการทดลองจากบท

ที่ 4 มาสรุปเป็ นดังนี้

5.2 สรุปผลการทดสอบ

โครงง านนี้ได้ทํากา รศึกษา เกี่ยวกับการทํางานของเครื่องรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติ ซึ่งมี ส่วนประกอบที่สําคัญ คือ Arduino UNO  เซนเซอร์วัดความชื้น และอุณหภูมิเพื่อให้ทุกคนช่วยกันรักษาต้นไม้เพื่อลดภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งเราสามารถตั่งการรดน้ำต้นไม้ได้  โดยอาศัยความชื้นในช่วงเวลาที่เราไม่อยู่บ้าน หรือใช้ระบบฟาร์มที่ต้องอาศัยแรงงานคนเป็นจำนวนมากเพื่อนำไปสู่การลดใช้แรงงานจากคนได้

จากการทดสอบการทํางาน พบว่า เครื่องรดน้ำต้นไม้จะทํางานตามค่าความชื้นที่วัดได้มีค่าน้อยกว่าค่าความชื้นที่กําหนดไว้แต่ในช่วงเวลาที่ความชื้นมากกว่าค่าที่กําหนดไว้ เครื่องจะไม่ทํางาน ซึ่งจะเป็นการช่วยประหยัดน้ำและแรงงานคนได้อีกด้วย

จากการทดสอบนี้ได้ผลสรุปว่า เครื่องรดน้ำต้นไม้อัตโนมัตนี้สามารถตอบโจทย์คนที่อยากปลุกพืชผักแต่ม่มีเวลาในการดูแล รดน้ำต้นไม้เช้า- เย็นได้และยังมีประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านการเกษตรกรรม ซึ่งสามารถนําไปใช้กับพืชได้เกือบทุกชนิด และเป็นการรักษาต้นไม้เพื่อลดภาวะโลกร้อนได้อีกด้วย



แหล่งที่มาอ้างอิง

คลิปสาธิตการทำงานของชิ้นงาน

https://www.youtube.com/watch?v=RjnMFU7ARXQ&t=3s

 สมาชิก

 1.นายชนะพลโปธิ 

 2.นายสมศักดิ์แซ่โซ้ง 



SOMSAK SAESONG
at GlurGeek.Com
บุคคลที่เรียนเก่งที่สุดในโลก

Leave a Reply

© 2022 GlurGeek.Com