1..2..3D…A..B..C-Clamp สอนวาด C-Clamp หรือปากกาจับชิ้นงานด้วยโปรแกรม AutoCAD

สวัสดีค่ะ วันนี้ผู้เขียนจะมาสอนวาด C-Clamp หรือปากกาจับชิ้นงานด้วยโปรแกรม AutoCAD ค่ะ หลายคนอาจจะสงสัยว่า C-Clamp ที่ผู้เขียนพูดถึงคืออะไร งั้นขออธิบายก่อนนะคะ

C-Clamp มีลักษณะเป็นรูปตัวซี (C) มีหน้าที่จับยึดชิ้นงาน โดยทั่วไปมีมือหมุนเป็นแบบแขนเลื่อนได้ แป้นที่ประกอบติดอยู่บริเวณส่วนปลายของเกลียวจะช่วยให้แคลมป์สามารถปรับตำแหน่งด้วยตนเอง  เมื่อผิวของงานไม่ขนาน และช่วยไม่ให้เกิดการลื่นไถลขณะทำการขันให้แน่น ซึ่งประโยชน์ของมันก็คือใช้สำหรับช่วยในการจับยึดชิ้นงาน งานไม้มักใช้แคลมป์มาเป็นตัวช่วยยึดในระหว่างการตั้งเครื่อง การตั้งรั้ว การเข้ามุม ฯลฯ เป็นต้น

รูปที่ผู้เขียนจะมาสอนวาดในวันนี้มีทั้งหมด 3 แบบด้วยกันค่ะ

  1. แบบ Orthographic
  2. แบบ Isometric
  3. แบบ 3D Model หรือ 3 มิติ

งั้นเรามาเริ่มกันเลยดีกว่าค่ะ

เริ่มที่การวาดแบบ Orthographic หรือ 2 มิติ นะคะ ในที่นี้ผู้เขียนได้วาดแบบมุมมองที่ 3 โดยเริ่มที่การวาดเส้นร่างเตรียมสำหรับการวาดค่ะ

แล้วทำการวาดแกนหมุนออกมาห่างจากเส้นร่าง 10 ในที่นี้เราใช้หน่วยเป็นมิลลิเมตรทั้งหมดนะคะ ความยาว 76 และตรงปลายวาดวงกลมขนาด 3 ค่ะ

จากนั้นใช้คำสั่ง offset ในการวาดเส้นแนนวตั้งออกไปห่างข้างละ 2 ค่ะ โดยกดที่คำสั่ง offset ด้านบน จากนั้นกดที่เส้นแกนกลางอันเดิม แล้วกดออกไปทั้งซ้ายและขวาค่ะ

แล้วใช้คำสั่ง Trim เพื่อลบเส้นที่เกินจากในวงกลมออกนะคะ โดยการกด Trim แล้วกดเมาส์ซ้ายที่วัตถุที่เราใช้เป็นเส้นกำหนดขอบ (ตัววงกลม) แล้วกดเมาส์ขาว จากนั้นกดเมาส์ซ้ายอีกทีเพิ่อทำการลบเส้นที่ไม่จำเป็นออก (เส้นในวงกลม)

จากนั้นทำการวาดขนาดดังรูป

จากนั้นเราต้องการเปลี่ยนเส้นผ่านศุนย์กลางทรงกระบอกให้เป็นเส้น ยาว สั้น ยาว โดยเราสามารถเปลี่ยนได้โดยการกดเปลี่ยนเส้นที่มุมขวาบน จากนั้นกด other แล้วกด load แล้วจึงหาเส้นที่เราต้องการ คือเส้น center แล้วกด ok จากนั้นทำการกดที่เส้นแล้วกดเปลี่ยนเป็น center line

แล้วทำการวาดตามรูปนะคะ

จากนั้นเราจะทำการวาดเกลียวค่ะ โดยขั้นตอนแรกเราต้องกำหนดเส้นร่างขึ้นมาก่อน โดยวาดเส้นร่างในแนวนอน 2 เส้นห่างจากแกนหลัก 1.5 แล้ววาดเส้นในแนวตั้งห่างระยะ 0.5 (สามารถใช้คำสั่ง Offset ช่วยวาดเส้นได้) ขั้นตอนที่ 2 ให้เริ่มวาดเกลียวโดยมุมบนสุดเส้นแรกชนกับมุมล่างสุดเส้นสอง ส่วนด้านบนทำเป็นซี่ฟัน ขั้นตอนที่ 3 พิมพ์คำสั่ง Array แล้วเลือก row 1 และ between ของ column เป็น 1 เช่นเดียวกัน แล้วลากตลอดแนวยาวของตัวเกลียวก็จะได้ดังรูปในขั้นตอนที่ 4

จากนั้นทำการวาดตามขนาดในรูปนะคะ ส่วนตัวส่วนโค้งด้านล่าง ใช้คำสั่ง fillet แล้วกด radius พิมพ์ 10 ค่ะ อย่าลืมทำการเปลี่ยนเส้นทั้งเส้นศุนย์กลาง และเส้นประที่แสดงส่วนที่มองไม่เห็นนะคะ

เมื่อรูปด้าน Front view เสร็จแล้วก็ทำการ project เส้นออกไปเพื่อวาดรูปด้าน side และ top view ค่ะ

จากนั้นก็วาดตามขนาดของรูปนี้เลยนะคะ แล้วก็เป็นอันเรียบร้อยค่ะ

สำหรับผู้อ่านที่ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดูได้จากวิดิโอนี้นะคะ

 

เรามาต่อกันที่รูปที่สองค่ะ การวาดแบบ Isometric ซึ่งเป็นการวาดภาพ 2 มิติ ให้เห็นเป็นแบบสามมิติโดยมีองศาจากพื้น 30 องศาค่ะ

ขั้นตอนแรกก็เช่นกันค่ะ วาดเส้นร่างสูงจากพื้น 30 องศา

จากนั้นทำการร่างพื้นหรือตัวฐานของ C-Clamp ขนาดเหมือนกับ Orthographic เลยนะคะ

แล้วทำการวาดวงกลมตรงหัวของแคลมป์ 4 วงค่ะ โดยการกด เปลี่ยนมุมมองเป็น iso right ที่ด้านล่างขวานะคะ จากนั้นไปกด ellipse แล้วเลือกเมนูที่สอง Axis, End แล้วเลือก isocircle ที่ด้านล่าง จากนั้นกดศูนย์กลางที่จะวาด แล้ววาดไปค่ะรัศมีขนาด 8.5 แล้วจากนั้นทำการลบเส้นที่ไม่จำเป็นออก ด้วยคำสั่ง Trim ซึ่งได้เคยกล่าวไว้ด้านบนนะคะ

 

จากนั้นทำการวาดตัวแกนหมุน และแป้น

 

แล้วทำการวาดตัวแกนหมุนโดยที่ปลายทั้งสองข้างต้องวาดวงกลมขนาด 2 และใช้คำสั่ง Arc วงทรงกลมที่หัวทั้งสองด้าน

จากนั้นทำการวาดเกลียวโดยใช้ Path Array เหมือนด้านบนนะคะ แต่รูปนี้ให้วาดเป็น ellipse เพราะมองจากด้านข้างจะเห็นเป็นเกลียวกลมค่ะ

 

สำหรับผู้อ่านที่ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดูได้จากวิดิโอนี้นะคะ

 

ถัดไปเราจะมาดูรูปสุดท้ายกันค่ะ เริ่มที่วาดฐานแบบสองมิติ (เหมือน orthographic แต่ความสูงแค่ 65 คือไม่รวมส่วนที่เป็นวงกลมด้านบน) จากนั้นกดรูปบ้านที่มุมขวาบน

เมื่อกดรูปบ้านแล้ว หน้าจอจะหมุนมาเพื่อพร้อมสำหรับวาดสามมิติ จากนั้นไปกด press pull แล้วมาคลิกที่รูปที่เราวาดไว้โดยกดคลิกต้องให้เส้นทุกเส้นเป็นสีฟ้านะคะ จากนั้นคลิกแล้วพิมพ์ 17 จะสังเกตเห็นว่ารูปถูกดึงขึ้นมาเป็น 3 มิติแล้วค่ะ

ถัดไปทำการวาดวงกลมที่หัวของฐานแคลมป์เช่นกันกับแบบ isometric ค่ะ แต่ครั้งนี้ใช้คำสั่ง Cylinder แล้วลากให้หนา 17 ทั้งสองข้างค่ะ

เราสามารถเปลี่ยนรูปแบบของ 3 มิติเราให้มองสะดวกขึ้นได้โดยการกดที่ 2D wideframe แล้วทำการเปลี่ยนให้เป็น conceptual จากนั้นทำการวาดแกนหมุนด้วยคำสั่ง Cylinder แล้วก็เริ่มวาดเกลียวค่ะ โดยเราจะใช้คำสั่ง Helix แล้วกดที่ศูนย์กลางวงกลม พิมพ์ 5 แล้ว enter สองครั้งเพื่อบนรัศมีตอนต้นและตอนปลาย แล้วพิมพ์ 70 เพื่อบอกความยาวของเกลียว จากนั้น double click ที่เกลียวทำการเปลี่ยนตัวเลข turn ให้เป็น 70 เพื่อให้ขดทั้งหมด 70 รอบ แล้วเราก็จะได้เกลียวดังรูปค่ะ

จากนั้นทำการวาดโดยใช้ cylinder ให้ได้ตามรูป

จะสังเกตเห็นว่าตัวเกลียวนั้นพันรอบแกน แต่ไม่ได้ฝังเขาไปในแกน ดังนั้นเราจะใช้คำสั่ง solid subtract เพื่อให้เกลียวฝังเข้าไปค่ะ วิธีใช้คือกดที่คำสั่งด้านบนซ้าย จากนั้นกดเมาส์ซ้ายที่แกนหลัก กดเมาส์ขวา แล้วกดซ้ายอีกครั้งที่เกลียว ขั้นตอนนี้คอมพิวเตอร์อาจใช้เวลานานซักหน่อย

แค่นี้รูป 3 มิติของเราก็เสร็จแล้ว แต่เราสามารถตบแต่งให้มันดูเหมือนจริงมากยิ่งขึ้น โดยกด Visualize à Materials Browser เลือกวัตถุดิบที่เราอยากให้มันเป็น แล้วไปเปลี่ยน conceptual ให้เป็น realistic แค่นี้เราก็จะได้ C-Clamp 3 มิติที่สวยงามแล้วค่ะ

 

สำหรับผู้อ่านที่ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดูได้จากวิดิโอนี้นะคะ

 

แล้วนี่ก็คือไฟล์ที่ผู้เขียนได้ทำการวาดไว้นะคะ สามารถกดเข้าไปโหลดดูกันได้

https://drive.google.com/drive/folders/0B-N-tzBgjnqgR3NGNXVQRGpPMzg

เป็นอย่างไรบ้างคะ? ดูไม่ยากเลยใช่ไหม ผู้เขียนก็หวังว่าบทความนี้จะให้ประโยชน์นะคะ สำหรับครั้งนี้ก็ยาวมากแล้ว ผู้เขียนขอลาไปก่อน สวัสดีค่ะ 🙂

PANDHITTAYA NOIKORN on sabyoutube
PANDHITTAYA NOIKORN
at GlurGeek.Com
นางสาวปัณฑิตญา น้อยกร รหัส 1590900435
นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

Leave a Reply

© 2022 GlurGeek.Com