[Innovation] แว่นตาอัจฉริยะ Google Glass

Google Glass  แว่นตาอัจฉริยะ

แว่นตาเป็นกระจกที่ใส่ไว้ในกรอบสำหรับสวมบนใบหน้าโดยมีแท่นรองรับบนสันจมูกและก้านแว่นเกี่ยวที่ใบหู  ในสมัยโบราณมีแว่นตาบางชนิดที่ใช้วางอยู่หน้าตาข้างใดข้างหนึ่งสำหรับผู้สูงอายุเมื่อต้องการดูของใกล้ เมื่อไม่ต้องการดูก็ถอดออก ส่วนอัจฉริยะ คือ ความวิเศษน่าอัศจรรย์  มีความรู้ความสามารถเกินกว่าระดับปรกติมาก  ดังนั้น แว่นตาอัจฉริยะ จึงเป็น แว่นตาที่ผสมเทคโนโลยีใหม่ทันสมัย ซึ่งมีความวิเศษน่าอัศจรรย์ปัจจุบันกระแสความคลั่งไคล้เทคโนโลยีแวเรเบิล (wearable) กําลังมาแรงจึงทำให้กูเกิล(Google) มีการพัฒนาได้เผยโปรเจคท์ใหม่กับแว่นตาแห่งโลกอนาคต อย่าง Google Glass

Google Glass  คืออะไร

          Google Glass  คือ  แว่นตาที่ผสมเทคโนโลยีใหม่ทันสมัย  Google ที่พัฒนาเทคโนโลยีใหม่ให้ได้เห็นอยู่เสมอ และได้มีการพัฒนา แว่นตาที่เรียกว่า Google Glass ขึ้นมาและจะเริ่มวางจำหน่ายที่สหรัฐอเมริกาในปีหน้า 2014 ( Google Glass,  2557  :  ออนไลน์ )

แว่นตาชนิดหนึ่งที่มีความพิเศษมหัศจรรย์ โดยใส่เทคโนโลยีเพิ่มเข้าไป ทำให้แว่นตาสามารถทำหน้าที่ได้หลายอย่างแบบไม่น่าเชื่อเรียกไว้ว่าเป็นแว่นตาคอมพิวเตอร์ก็ได้ เพราะมันทำได้หลายอย่างเหมือนคอมพิวเตอร์ทำได้ ( Google Glass,  2557  :  ออนไลน์ )

คอมพิวเตอร์ที่สวมใส่ได้ (Wearable Computer) ที่เป็นส่วนหนึ่งของUbiquitous Computing หรือการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ทุกที่ทุกเวลา โดยถูกออกแบบสำหรับสวมใส่แทนแว่นตาหรือร่วมกับแว่นตา เพื่อให้ผู้ใช้สามารถมองผ่านจอภาพที่จะแสดงผลเป็นภาพซ้อนอยู่เหนือสิ่งที่ผู้ใช้จะมองเห็นจริง (Augmented Reality) ในรุ่นปัจจุบัน Google Glass จะมีจอภาพอยู่เหนือตาข้างขวา จึงสามารถใช้ตาขวามองจอภาพได้ตลอดเวลาใช้ระบบปฏิบัติการ Android ด้านหน้ามีหน้าจอแสดงผลเล็กๆ หน้าจอนี้มีตัวตรวจจับการเคลื่อนไหว การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตมี GPS และระบบ 3G 4G มี Wi-Fi และ Bluetoothหลายๆฟังชั่น ของ Google Glass เหมือนกับระบบ Smartphone รุ่นใหม่ สามารถเชื่อมต่อส่งข้อมูลกันได้ ผ่านทาง Wi-Fi หรือ Bluetooth 4.0, ด้านหน้ามีกล้องสำหรับถ่ายภาพและวีดีโอ

มีคุณสมบัติและฟีเจอร์ที่คล้ายคลึงกับสมาร์ทโฟน ทั้งเรื่องของการถ่ายภาพ และฟีเจอร์ที่ดึงเอางานถนัดอย่างระบบค้นหา เข้ามาผสม ที่โดดเด่นก็คือระบบการค้นหาด้วยเสียง เพราะจะมีส่วนของไจโรสโคปตัววัดต่างๆ ( accelerometer ) และเข็มทิศ ซึ่งทั้งหมดจะถูกรันด้วยหน่วยประมวลผล และมีการเชื่อมต่อ อาทิ Wi-Fi , Bluetooth , GPS  ( Google Glass,  2557  :  ออนไลน์ )

ส่วนประกอบหลักของตัวเครื่องที่อยู่ด้านนอก ได้แก่

          ก้านแว่นตาซึ่งมีความแข็งแรงทนทาน วัสดุทำจากไทเทเนียม สามารถปรับระดับก้านแว่นตาให้รองรับกับขนาดโครงหน้าที่ต่างกัน มีก้านรองจมูกที่ปรับโค้งงอได้ แต่ไม่มีกรอบแว่นและเลนส์แว่นติดมากระจกใสทรงปริซึมสี่เหลี่ยม ภายในมีจอแสดงผลความละเอียด 640×360 พิกเซล

เลนส์กล้องความละเอียด 5 ล้านพิกเซล (สามารถปรับองศาของกล้องและจอแสดงผลได้ในแนวระนาบ)

เซ็นเซอร์สัมผัสหรือทัชแพด (ก้านสีดำข้างขวาติดกับเลนส์กล้อง) สามารถใช้นิ้วปัดเลื่อนไปทางซ้าย-ขวาของทัชแพดเพื่อเลื่อนเมนู / ใช้นิ้วปัดลงจะเป็นการถอยหลัง (back) กลับไปหน้าก่อน

มุมขวาบนของก้านแว่นมีปุ่มชัตเตอร์สำหรับถ่ายรูป การถ่ายรูปสามารถใช้คำสั่งเสียง “take a picture”

หรือการขยิบตาขวาเพื่อถ่ายรูปได้

ส่วนประกอบหลักของตัวเครื่องที่อยู่ด้านใน ได้แก่

ไมโครโฟนถูกติดตั้งอยู่ที่ด้านหลังกล้อง

ปุ่ม Power On/Off อยู่บริเวณปลายตัวเครื่อง ด้านล่างมีพอร์ต microUSB เวลาชาร์จแบตเตอรี่จะมีไฟ LED สีขาวกระพริบ

 

ปุ่มที่อยู่ใกล้กับหูข้างขวา ซึ่งมีคำว่า “GLASS” ติดอยู่เป็นเซ็นเซอร์ตรวจจับว่ามีการสวมใส่อุปกรณ์และมีลำโพงที่ส่งเสียงด้วยระบบเสียงเทคโนโลยี Bone Conduction Transducer

 

Specification

– จอแสดงผลความละเอียดสูง การแสดงผลเทียบเท่ากับการมองหน้าจอขนาดกว้าง 25 นิ้ว ในระยะห่าง 8 ฟุต

– กล้องถ่ายรูปความละเอียด 5 ล้านพิกเซล

– บันทึกวิดีโอความละเอียด HD 720p

– ระบบเสียงเทคโนโลยี Bone Conduction Transducer

– รองรับการเชื่อมต่อ Wi-Fi 802.11 b/g

– รองรับการเชื่อมต่อ Bluetooth

– พื้นที่เก็บข้อมูลภายในเครื่อง 12GB รองรับการซิงค์ข้อมูลผ่านที่เก็บข้อมูลออนไลน์Google Coud Storage

– แบตเตอรี่ 1 วันสำหรับใช้งานทั่วไป (บางฟีเจอร์อย่างเช่น การบันทึกวิดีโอจะใช้พลังงานแบตเตอรี่มากกว่าปกติ)

– รองรับพอร์ต microUSB (สำหรับการชาร์จแบตเตอรี่และเสียบหูฟัง Earbud)

– รองรับการทำงานร่วมกับอุปกรณ์ Android 4.0.3 ขึ้นไป หรือ อุปกรณ์ iOS 7 ขึ้นไป โดยใช้งานผ่านแอพฯ MyGlass

กลุ่มลูกค้าในการใช้งาน  Google Glass

–  ลูกค้าที่ใช้เกี่ยวกับ intranet  หรือ google

–  ลูกค้าที่ใช้เกี่ยวกับสมาร์ทโฟนต่างๆ

การทำงาน Google Glass

ติดตั้งแอพบนเครื่องสมาร์ทโฟนและเปิด Bluetooth และต่อWi-Fi หรือเชื่อมต่อข้อมูลเครือข่ายให้เรียบร้อย หน้าแรกจะเป็นการแนะนำแว่นด้วยคลิปวิดีโอ หน้าถัดไปจะมีให้เลือกบัญชี Google Account ที่ต้องการใช้งานจากนั้นเข้าสู่หน้าการจับคู่ Google Glass กับอุปกรณ์สมาร์ทโฟนผ่านทาง Bluetooth และสมาร์ทโฟนต้องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยเพื่อจับคู่

จุดเด่น – จุดด้อย ของ Google Glass

จุดเด่น

  • สวมใส่สบาย
  • Google Now ช่วยอำนวยความสะดวกได้อย่างดีเยี่ยม
  • ถ่ายรูปและวิดีโอได้สะดวกและง่ายดาย
  • ระบบนำทางทำงานได้อย่างยอดเยี่ยม

จุดด้อย

  • ราคาแพง  $1500  ( 46,000-48,000 บาท)
  • อายุการใช้งานแบตเตอรี่ค่อนข้างน้อย
  • แอพพิเคชั่นยังมีน้อยอยู่

ประโยชน์ Google Glass 

  • ความง่ายดายในการพกพา
  • ถ่ายรูปได้ง่าย
  • อยู่ในระดับสายตาของผู้ใช้ในทุกอิริยาบถและพร้อมที่จะรับฟังคำสั่งด้วยเสียงอยู่ตลอดเวลา
  • ซึ่งใช้งานเหมือน Smartphone

ไอเดียเพิ่มเติม

  • สามารถเล่น VR ได้
  • มีเน็ตในตัวแว่นเอง
  • มีคำสั่งหลากหลายในการสั่งใช้แอพต่างๆ

ประโยชน์ Google Glass  ที่เพิ่มมา

  • เข้าแอพพิเคชั่นได้เร็วและสะดวกรวดเร็ว
  • เล่น VR ได้เหมือนภาพเสมือนจริง
  • สะดวกไม่ต้องเชื่อม Bluetooth และต่อWi-Fi

 คู่แข่งทางธุรกิจของGoogle Glass

   จะเห็นได้ว่า Google Glass เป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ที่ผู้บริโภคให้ความสนใจเป็นอย่างมากถึงแม้กระแสสังคมเชิงลบก็ยังคงมีออกมาเรื่อยๆ แต่นั่นก็ส่งผลให้Google Glass ได้กลายเป็น Talk of the town และสร้างกระแสความอยากครอบครองของผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี สิ่งที่ต้องจับตาดูน่าจะอยู่ที่คู่แข่งในวงการ IT ย่อมไม่มีทางยอมได้แน่นอน และผู้บริโภคอาจจะได้เห็นสิ่งประดิษฐ์ที่ไฮเทคยิ่งไปกว่า Google Glass ในอีกไม่ช้าเช่นกัน (Google Glass,  2557  :  ออนไลน์ )ในวันที่กูเกิล Google Glass วางจำหน่ายในราคา 1,500 เหรียญสหรัฐหรือราว 45,000 บาท ผู้ผลิตสัญชาติญี่ปุ่นอย่างเอปสัน (Epson) ลงมือเปิดตัวแว่นตาลักษณะเดียวกันที่มาพร้อมเทคโนโลยีแสดงภาพเสมือนจริงหรือ Augmented Reality ในราคาที่ประหยัดกว่าเกือบครึ่งหนึ่ง แถมยังมีการฝังลำโพงระบบ Dolby และกล้องดิจิตอลด้านหน้า รวมถึงเซ็นเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหวแบบเต็มขั้นEpson ตั้งชื่อแว่นรุ่นใหม่ของตัวเองว่า Epson Moverio BT-200 หลักการทำงานของเครื่องคือการทำให้ผู้สวมใส่ได้ชมภาพคมชัดเต็มตาที่ฉายจากโปรเจกเตอร์จิ๋ว 2 ชุดซึ่งติดตั้งไว้ภายในแว่นโดยภาพที่ได้จะมีความละเอียด 960×540 พิกเซล จุดนี้ผู้ใช้จะสามารถชมภาพยนตร์ส่วนตัวได้อย่างเต็มอรรถรสผ่านระบบเสียงดอลบี (Dolby)ที่ติดตั้งให้พร้อมในแว่น ขณะเดียวกันก็สามารถถ่ายภาพประสบการณ์ชีวิตได้จากกล้องหน้า รวมถึงใช้งานบริการที่เกี่ยวข้องกับความเคลื่อนไหวได้ผ่านเซ็นเซอร์แอ็กเซเลโรมิเตอร์ (Accelerometer)ทั้งหมดนี้ตัวแว่นสามารถใช้สมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ควบคุมการทำงานได้สะดวกMoverio BT-200 ที่ถูกพัฒนาให้มีความบางและมีประสิทธิภาพมากกว่ารุ่นแรกนั้นมีราคาจำหน่าย 700 เหรียญสหรัฐเท่านั้น ถือว่าเป็นราคาที่ต่ำกว่าแว่นอัจฉริยะของกูเกิลมากกว่าครึ่ง(Epson Movierio,  2557  :  ออนไลน์ )

อ้างอิง

http://mygoogle-glass.blogspot.com/

http://news.siamphone.com/

เทคโนโลยีนวัตกรรมมาแรงในอนาคต

—— แว่นตาอัจฉริยะ ——

จัดทำโดย

นายธีรศักดิ์ จำปาเงิน 1610901587

เสนอ

อาจารย์ทศพล บ้านคลองสี่

วิชา

CE111 ปฏิบัติการคอมพิวเตอร์เบื้องต้น

ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และหุ่นยนต์

คณะวิศวกรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561

—————————————————-

INNOVATION TECHNOLOGY IN THE FUTURE

—— Google Glass   ——

SUBMITTED BY NATH ONLAMOM 1590902761

PRESENT TODSAPON BANKLONGSI

CE111 FUNDAMENTAL COMPUTER LABORATORY

DEPARTMENT OF COMPUTER AND ROBOTICS ENGINEERING

SCHOOL OF ENGINEERING

BANGKOK UNIVERSITY

SEMESTER 2 YEAR 2018

 

TEERASAK JAMPANQUEN
at GlurGeek.Com
มหาลัยกรุงเทพ ปี1 คณะวิศวกรรมหุ่นยนต์ คอมพิวเตอร์ งานอดิเรก : ชอบฟังเพลง อ่านอะไรอ่านตอบโลกออนไลน์ และชอบให้ผู้ชอบและติดใจที่จะอ่านอีกครั้ง

Leave a Reply

© 2022 GlurGeek.Com