สร้างเครื่องให้อาหารสุนัขอัตโนมัติ



  1. บทนำ
               เครื่องให้อาหารสัตว์อัตโนมัติ จะช่วยให้ไม่ต้องกังวงเกี่ยวกับปัญหานี้อีกต่อไป เครื่องให้อาหารสัตว์อัตโนมัติจะคอยให้อาหารสัตว์เลี้ยงของท่าน โดยที่ท่านสามารถตั้งเวลาให้อาหารเองได้ เครื่องให้อาหารสัตว์อัตโนมัติไม่ได้เหมาะกับเจ้าของที่ไม่ค่อยมีเวลาอยู่บ้านอย่างเดียวเท่านั้น เครื่องให้อาหารสัตว์อัตโนมัติยังช่วยควบคุมระเบียบวินัยในการกินอาหารของสัตว์ อีกทั้งยังสามารถควบคุมปริมาณอาหารในแต่ละมื้อ เพื่อไม่ให้มากหรือน้อยจนเกินไป เครื่องให้อาหารสัตว์อัตโนมัติมีหารประเภท และหลายรุ่นให้เลือกตามความเหมาะสมของสัตว์เลี้ยงที่ท่านเลี้ยง เช่น เครื่องให้อาหารสุนัขก็จะมีลักษณะที่ใหญ่กว่าเครื่องให้อาหารกระต่าย เนื่องจากมีขนาดตัวที่สุนัขมีขนาดใหญ่กว่ากระต่าย จึงกินอาหารในปริมาณที่มากกว่ากระต่าย และอาจจะชนให้เครื่องให้อาหารนั้นล้มได้ แต่สุนัขนั้นก็มีหลายพันธุ์และหลายขนาด จึงสามารถใช้เครื่องให้อาหารแมวหรือกระต่ายทดแทนได้ ในขณะเดียวกัน เครื่องให้อาหารสุนัขสามารถใช้กับแมวหรือกระต่ายได้เช่นกัน
  1. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
               เพื่อสร้างเครื่องอำนวยความสะดวกในการให้อาหาร
               เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการจ้างแรงงาน
               เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงาน
               เพื่อฝึกปฏิบัติการทำเครื่องมือให้ประสบความสำเร็จ
  1. รายละเอียดของการพัฒนา
3.1 เนื้อเรื่องย่อ
               ปัจจุบันในการทาการประมง รวมทั้งการเลี้ยงสัตว์เพื่องานธุรกิจขนาดกลาง หรือขนาดใหญ่ การดูแลรักษา รวมทั้งการให้อาหารแก่สัตว์เลี้ยง นับเป็นปัจจัยหนึ่งในการ ทาธุรกิจสัตว์เลี้ยงเพื่อการส่งออกในประเทศและต่างประเทศซึ่ง การให้อาหารสัตว์ต้องใช้ แรงงานคนจานวนมาก อันเป็นภาระของผู้ประกอบการในการจัดหาแรงงานและค่าใช้จ่าย รวมทั้งผู้ที่ชอบเลี้ยงสัตว์ เลี้ยง เช่น ปลาสวยงาม สุนัข แมว เป็นต้นกระทบต่อร่างกายและสุขภาพ และได้มีการดาเนินการโครงสร้างทางธุรกิจเติบโตมากขึ้น ส่งผลให้ต้องมีการปรับปรุง โครงสร้างทางคมนาคม ต้องเพิ่ม ความสะดวก ความคล่องตัวมากขึ้นแต่เนื่องจากปจุบันยังคง มีปัญหาการจราจรที่ติดขัดในตัวเมือง และเขตอุตสาหกรรมต่างๆ ทาให้การใช้ชีวิตของบุคคล ช่วงวัยทางาน ใช้เวลากับการเดินทางบนถนนเป็นส่วนใหญ่ พบกับปัญหาเวลาการเดินทาง ไป ยังจุดหมายไม่แน่นอน หากครอบครัวของบุคคลที่ต้องพบเจอกับการใช้เวลา ไปและกลับ เสียเวลาส่วนใหญ่ไปกับชีวิตในรถยนต์ หรือการโดยสารพาหนะต่างๆ
3.2 ทฤษฎีหลักการและเทคนิคหรือเทคโนโลยีที่ใช้
               ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาเป็นกรอบและแนวทางในการศึกษาค้นคว้า ในหัวข้อต่อไปนี้
  1. ทามเมอร์ตั้งเวลาดิจิตอล
  2. หม้อแปลง
  3. แบตเตอรี่
  4. สวิทช์
  5. ลิมิตสวิทช์



3.2.1 ทามเมอร์เครื่องตั้งเวลาดิจิตอล
               เครื่องตั้งเวลาเปิดปิดไฟแบบดิจิตอลใช้สำหรับตั้งเวลาเพื่อสั่งให้เครื่องใช้ไฟฟ้าเปิดและปิดตามเวลาที่เรากำหนดไว้ ซึ่งเครื่องตั้งเวลานั้นได้เข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกในการควบคุมการเปิดปิดไฟที่นิยมนำมาใช้กับเปิดปิดน้ำเพื่อใช้รดน้ำต้นไม้ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องตั้งเวลารดน้ำต้นไม้ได้เป็นอย่างดี อาจจะตั้งรดน้ำเช้า-กลางวัน-เย็น ขึ้นอยู่กับพืชและวิธีการปลูก ใช้ควบคุมการการเปิดปิดโคมไฟถนน-ไฟทางได้หรือนำไปใช้เป็นตัวควบคุมเวลาในการทำงานของเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆได้ทุกชนิด โดยเครื่องตั้งเวลา Timer นั้นมีแบบใช้กับไฟ12v , 24v , 220v ทามเมอร์แบบดิจิตอลนั้นสามารถตั้งเวลาเป็นตัวเลขได้เที่ยงตรงแม่นยำและสามารถปรับตั้งเวลาเปิดปิดได้ขั้นต่ำที่1นาที ตั้งให้ทำงานทุกวันหรือเป็นบางวันก็ได้ ทามเมอร์ยังสามารถตั้งการทำงานได้ถึง17โปรแกรม การใช้งานง่ายไม่ยุ่งยาก
               เครื่องตั้งเวลาดิจิตอลทามเมอร์มีให้เลือกใช้งาน ถ้าเป็นแบบสวิทซ์ควบคุมโดยตรง ตัวเครื่องตั้งเวลาจะมีการทำงานไม่ซับซ้อน หมายถึงจะมีด้านอินพุตไฟเข้าและด้านเอ้าท์พุทไฟออกเอาไปต่อกับอุปกรณ์ไฟฟ้าใช้งานง่ายมาก และอีกแบบจะเป็นแบบที่มีขาNC และ NO แบบนี้เมื่อต่อใช้งานทางด้านขาNCจะมีไฟจ่ายเลี้ยงอยู่ตลอดคือนอมอลโค๊ด และเมื่อเวลาที่ตั้งไว้จากโปรแกรมที่เราตั้งเวลาไว้ทำงานก็จะสับสวิทซ์มาที่ขาNO จ่ายไฟให้อุปกรณ์ไฟฟ้าทำงาน การใช้งานง่ายเหมือนกัน
3.2.2 หม้อแปลง
            หม้อแปลง เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ในการส่งผ่านพลังงานจากวงจรไฟฟ้าหนึ่งไปยังอีก วงจรโดยอาศัย
หลักการของแม่เหล็กไฟฟ้า โดยปกติจะใช้เชื่อมโยงระหว่างระบบไฟฟ้าแรงสูง และไฟฟ้าแรงต่างหม้อแปลงเป็นอุปกรณ์หลักในระบบส่งกำลังไฟฟ้า
 โครงสร้างของหม้อแปลง 10 หม้อแปลง แบ่งออกตามการใช้งานของระบบไฟฟ้ากำลังได้ 2 แบบคือ หม้อแปลงไฟฟ้าชนิด 1 เฟส และหม้อแปลงไฟฟ้าชนิด 3 เฟส แต่ละชนิดมีโครงสร้างสำคัญประกอบด้วย
  1. ขดลวดตัวนำปฐมภูมิ (Primary Winding) ทำหน้าที่รับแรงเคลื่อนไฟฟ้ า
  2. ขดลวดทุติยภูมิ (Secondary Winding) ทำหน้าที่จ่ายแรงเคลื่อนไฟฟ้า ประกอบด้วย
     -ขั้วต่อสายไฟ (Terminal) ทำหน้าที่เป็นจุดต่อสายไฟกับขดลวด
     – แผ่นป้าย (Name Plate) ทำหน้าที่บอกรายละเอียดประจำตัวหม้อแปลง
  1. อุปกรณ์ระบายความร้อน (Coolant) ทำหน้าที่ระบายความร้อนให้กับขดลวด เช่น อากาศ, พัดลม, น้ำมัน หรือใช้ทั้งพัดลมและน้ำมันช่วยระบายความร้อน เป็นต้น
  2. โครง (Frame) หรือตัวถังของหม้อแปลง (Tank) ทำหน้าที่บรรจุขดลวดแกนเหล็กรวมทั้งการติดตั้งระบบระบายความร้อนให้กับหม้อแปลงขนาดใหญ่
  3. สวิตช์และอุปกรณ์ควบคุม (Switch Controller) ทำหน้าที่ควบคุมการเปลี่ยนขนาดของแรงเคลื่อนไฟฟ้าและมีอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าชนิดต่างๆ รวมอยู่ด้วยวัสดุที่ใช้ทำขดลวด หม้อแปลงโดยทั่วไปทำมาจากสายทองแดงเคลือบนำยาฉนวน มีขนาดและลักษณะลวด เป็ นทรงกลมหรือแบนขึ้นอยู่กับขนาดของหม้อแปลง ลวดเส้นโตจะมีความสามารถใน การจ่ายกระแสได้มากกว่าลวดเส้นเล็กหม้อแปลงขนาดใหญ่มักใช้ลวดถักแบบตีเกลียว เพื่อเพิ่มพื้นที่สายตัวนำให้มีทางเดินของกระแสไฟมากขึ้น สายตัวนำที่ใช้พันขดลวดบน แกนเหล็กทั้งขดลวดปฐมภูมิและขดลวดทุติยภูมิอาจมีแทปแยก (Tap) เพื่อแบ่งขนาดแรงเคลื่อนไฟฟ้า (ในหม้อแปลงขนาดใหญ่จะใช้การเปลี่ยนแทปด้วยสวิตช์อัตโนมัติ)
3.2.3 แบตเตอรี่
               แบตเตอรี่(Battery) โดยทั่วไป แบตเตอรี่จะแบ่งเป็นสองกลุ่มใหญ่ด้วยกัน ได้แก่ แบตเตอรี่ที่ทำการชาร์จจนเต็มมาจากโรงงาน เช่นแบตเตอรี่นาฬิกา(ถ่านนาฬิกา), แบตเตอรี่ไฟฉาย(ถ่านไฟฉาย)เป็นต้น ซึ่งเมื่อใช้ไฟในแบตเตอรี่จนหมดแล้วก็หมดเลยไม่สามารถกลับนำมาใช้ใหม่ได้ เราเรียกแบตเตอรี่นี้ว่า แบตเตอรี่ปฐมภูมิ(Primary Battery)แบตเตอรี่ที่ทำการชาร์จใหม่ได้เมื่อแบตเตอรี่มีไฟที่อ่อนลง เช่นแบตเตอรี่รถยนต์ เราเรียกแบตเตอรี่นี้ว่า แบตเตอรี่ทุติยภูมิ(Secondary Battery)
               ในระบบผลิตไฟฟ้าจากแผงโซล่าเซลล์นั้นจะใช้แบตเตอรี่แบบทุติยภูมิซึ่งสามารถชาร์จได้ใหม่เมื่อแบตเตอรี่มีกำลังไฟที่อ่อนลง ในระบบแบตเตอรี่จะทำงานเก็บพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแผงโซล่าเซลล์เข้ามาไว้ แล้วปล่อยกำลังไฟฟ้าออกไปให้กับโหลดในเวลาที่ไม่มีแสงอาทิตย์ เช่นในช่วงเวลากลางคืนหรือเมฆครึ้มตลอดวัน
               รถยนต์ที่เราใช้งานอยู่ทุกวันเมื่อเปิดวิทยุหรือพัดลมในรถยนต์โดยที่เราไม่สตาร์ทเครื่องยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านั้นก็ทำงานได้ปกติ แต่เมื่อเปิดไปนานๆจนไฟในแบตเตอรี่เริ่มหมดลง แรงดันในแบตเตอรี่ก็จะเหลือน้อยลง ต้องทำการชาร์จแบตเตอรี่ใหม่ การชาร์จประจุของแบตเตอรี่ในรถยนต์ทำได้โดยการสตาร์ทเครื่องยนต์รถ เพื่อจะทำให้เพลาขับไปหมุนเอาเตอเนเตอร์ผลิตไฟกระแสตรงชาร์จให้กับแบตเตอรี่ต่อไป จนแบตเตอรี่กลับมามีแรงดันไฟฟ้าที่เต็มเหมือนเดิม ซึ่งเวลาเครื่องยนต์กำลังทำงานอยู่เราก็สามารถเปิดวิทยุและพัดลมได้เหมือนเดิม เพราะว่าทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นแบตเตอรี่ โหลด เครื่องยนต์ และเอาเตอเนเตอร์ต่อทำงานร่วมกันอยู่ในระบบ ถ้าเปรียบเทียบหน้าที่การทำงานของแบตเตอรี่ของระบบผลิตไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์ก็คล้ายกับแบตเตอรี่ในรถยนต์นั่นเอง เพียงแต่ไฟฟ้าที่นำมาชาร์จประจุจะผลิตจากแผงโซล่าเซลล์โดยผ่านเครื่องควบคุมการชาร์จ ส่วนโหลดอาจจะเป็นโหลดไฟฟ้ากระแสตรง หรือถ้าต้องการใช้งานกับโหลดไฟฟ้ากระแสสลับก็ต้องต่อผ่านอินเวอร์เตอร์อีกทีหนึ่ง
               แบตเตอรี่ที่ใช้กับระบบผลิตไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์จะมีหลายชนิด เช่น ลีดเอซิด(Lead-Acid Battery), อัลคาไลน์(Alkaline), นิคเกิลแคดเมียม(Nickel-cadmium) แต่ที่นิยมใช้กันมากที่สุดก็คือ แบตเตอรี่ลีดเอซิด เพราะมีอายุการใช้งานที่ยืนยาวและมีการปล่อยประจุ(กระแสไฟฟ้า)ที่สูง
               โครงสร้างภายในของแบตเตอรี่แบบลีดเอซิด(Lead-Acid Battery)
ภายในลีดเอซิดแบตเตอรี่จะประกอบด้วยเซลล์อยู่ภายในโดยต่อกันแบบอนุกรม จำนวนเซลล์ก็ขึ้นอยู่กับการออกแบบแบตเตอรี่นั้นๆว่าให้มีค่าแรงดันใช้งานที่เท่าไร โดยทั่วไปหนึ่งเซลล์มีแรงดันประมาณ 2 โวลท์ ตัวอย่างเช่นแบตเตอรี่รถยนต์มีแรงดันใช้งานที่ 12 โวลท์ ดังนั้นข้างในแบตเตอรี่จะประกอบด้วยเซลล์ 6 เซลล์ต่ออนุกรมกันอยู่
            ลักษณะของการปล่อยประจุไฟฟ้าของแบตเตอรี่ จะแบ่งออกเป็นสองแบบด้วยกัน ได้แก่ แบตเตอรี่ที่สามารถปล่อยประจุ(กระแส)ไฟฟ้าได้น้อย(Shallow-Cycle Battery) คือแบตเตอรี่ที่ออกแบบมาให้ปล่อยประจุไฟฟ้าได้ประมาณ 10-20 เปอร์เซนต์ของประจุไฟฟ้ารวมก่อนจะทำการชาร์จประจุใหม่ การปล่อยประจุไฟฟ้าจะมีหน่วยเป็นแอมอาวด์(Ahr) , 100 Ahr  หมายถึงแบตเตอรี่สามารถปล่อยประจุกระแสไฟฟ้า 100 หน่วยได้ 1 ชั่วโมง(ในความเป็นจริงไม่สามารถทำอย่างนั้นได้เพราะเมื่อปล่อยประจุจากแบตเตอรี่จนหมด แบตเตอรี่จะเสียทันที) – ตัวอย่างถ้ามีแบตเตอรี่แบบปล่อยประจุได้น้อย(Shallow cycle battery) ที่สามารถปล่อยประจุไฟฟ้าได้ 100 แอมอาวด์อยู่หนึ่งตัว แบตเตอรี่ตัวนี้ควรที่จะปล่อยประจุไฟฟ้า(หรือใช้กระแสไฟฟ้า) ได้เพียง 10-20 แอมอาวด์ หลังจากนั้นจะต้องทำการชาร์จประจุให้เต็มก่อนการคลายประจุครั้งต่อไป ถ้าการปล่อยประจุมากเกินกว่าที่กำหนดไว้ เช่นทำการปล่อยประจุที่ 50 แอมอาวด์ จะทำให้แบตเตอรี่มีอายุการที่ใช้งานที่สั้นลง(เสื่อมเร็ว)อย่างมากเช่นตามสเปคอายุการใช้งานของแบตเตอรี่สามารถชาร์จได้ 3000 ครั้งอาจจะลดเหลือเพียงแค่ 1000 ครั้ง ดังนั้นการออกแบบระบบโดยรวมควรคำนึงถึงลักษณะการปล่อยประจุไฟฟ้าของแบตเตอรี่ด้วยแบตเตอรี่ที่สามารถปล่อยประจุ(กระแส)ไฟฟ้าได้มาก(Deep-Cycle Battery) คือแบตเตอรี่สามารถปล่อยประจุได้ถึง 60-80 เปอร์เซนต์ของประจุรวมก่อนที่จะทำการชาร์จประจุใหม่ ส่วนมากแล้วจะนำมาใช้กับระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าในบ้านพักอาศัย แบตเตอรี่ชนิดนี้จะมีราคาที่สูงกว่าแบบแรกมาก แต่ใช้เพียงไม่กี่ตัวก็สามารถทดแทนประจุไฟฟ้ารวมจากแบตเตอรี่แบบแรกได้ แบตเตอรี่แบบนี้จะมีความคุ้มค่าในระยะยาว
               แบตเตอรี่รถยนต์มีอายุการใช้งานประมาณ 2 ปีแต่ถ้าเป็นแบตเตอรี่ดีพไซเคิลที่สามารถปล่อยประจุไฟฟ้าได้มากจะมีอายุการใช้งาน 4-5 ปีเลยทีเดียว ถ้าใช้งานกับระบบโซล่าเซลล์แล้ว แบตเตอรี่แบบดีพไซเคิลมีความคุ้มค่ามากกว่าและราคา ณ ปัจจุบัน(2556) ถือว่าลดลงมาจากที่ผ่านมามาก อีกทั้งยังจ่ายกระแสไฟให้กับโหลดได้มากกว่าแบตรถยนต์ก่อนที่จะทำการชาร์จประจุใหม่ด้วย
               เครื่องควบคุมการชาร์จ – แบตเตอรี่จะต่อกับเครื่องควบคุมการชาร์จซึ่งทำหน้าที่ปรับแรงดันให้เหมาะสมไม่ให้สูงไปเพราะอาจทำให้แบตเตอรี่เสียหายได้ ถ้าแบตเตอรี่มีแรงดันที่ต่ำมากกว่าค่าที่ตั้งไว้ในเครื่องควบคุมการชาร์จ เครื่องควบคุมการชาร์จจะปลดโหลดออกไปทันทีเพราะถ้าไม่ทำอย่างนี้แล้วประจุที่เก็บไว้ในแบตเตอรี่จะถูกปล่อยไปจนหมด ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อแบตเตอรี่เพราะจะทำให้เซลล์ที่อยู่ข้างในไม่สามารถกลับมาชาร์จประจุได้อีก
3.2.4 สวิทช์
            สวิตซ์ (Switch) สวิตซ์เป็นอุปกรณ์ใช้ปิด – เปิด วงจรไฟฟ้าและวงจรอิเล็กทรอนิกส์ สวิตซ์จะทำหน้าที่ควบคุมการไหลของกระแสไฟฟ้าภายในวงจร สวิตซ์มีหลายรูปแบบ การเลือกใช้สวิตซ์ต้องเลือกค่าทนกระแสและแรงดันไฟให้เหมาะสมกับงานหรือวงจร ในงานอิเล็กทรอนิกส์มีหลายรูปแบบ แต่เราเลือกใช้สวิทช์แบบกระดก
               สวิตซ์กระดก (Rocker Switch) สวิตซ์แบบกระดกหรือเรียกว่า ล็อกเกอร์สวิตซ์ เป็นสวิตซ์ขนาดใหญ่ใช้เปิด – ปิด วงจร บางแบบมีหลอดไฟในตัวบางแบบไม่มีหลอดไฟ

การเลือกสวิตซ์ใช้งาน
            สวิตซ์แต่ละแบบถูกออกแบบและสร้างเพื่อให้เหมาะสมกับ งานที่จะใช้ นอกจากการออกแบบแล้ว ผู้ผลิตยังบอกคุณลักษณะการทนกระแสไฟฟ้าและแรงดันไฟฟ้าไว้ด้วย ดังนั้นการเลือกใช้สวิตซ์ต้องเลือกค่าทนกระแสและแรงดันไฟที่เหมาะสมกับงาน หรือวงจร
การทดสอบสวิตซ์
            สวิตซ์เป็นอุปกรณ์เปิด – ปิดวงจรไฟฟ้าและวงจรอิเล็กทรอนิกส์ สวิตซ์ทำหน้าที่ควบคุมการไหลของกระแสไฟในวงจร สวิตซ์มีหลายรูปแบบตามลักษณะการใช้งาน
การทดสอบสวิตซ์สามารถทดสอบได้ 2 วิธี ทดสอบขณะสวิตซ์ไม่ถูกใช้งานหรือถอดสวิตซ์ออกจากวงจรมาทดสอบ และทดสอบขณะสวิตซ์ทำงาน ในที่นี้จะกล่าวถึงการทดสอบสวิตซ์ไม่ถูกใช้งานด้วยมัลติมิเตอร์ดังนี้
  1. เตรียมมัลติมิเตอร์ในตำแหน่ง x10
  2. สายสีดำเสียบขั้วเสียบ – COM สายสีแดงเสียบขั้วเสียบ +
  3. นำสายทั้งสองของมัลติมิเตอร์ ต่อคร่อมหรือขนานกับขั้วต่อของสวิตซ์
  4.   ทดลองเปิด – ปิดสวิตซ์ตามแบบของสวิตซ์ สังเกตเข็มของมัลติมิเตอร์ ดังนี้
       4.1  ถ้าเข็มของมิเตอร์กระดิกขึ้น – ลง ตามจังหวะการเปิด – ปิดของสวิตซ์ แสดงว่าสวิตซ์นำไปใช้เปิด – ปิดวงจรไฟฟ้าหรือวงจรอิเล็กทรอนิกส์ได้
       4.2  ถ้าเข็มของมิเตอร์ไม่กระดิกตามจังหวะการเปิด – ปิด แสดงว่าสวิตซ์เสียในลักษณะขาด
       4.3  ถ้าเข็มของมิเตอร์กระดิกขึ้นตลอดเวลาที่ปิดหรือเปิด แสดงว่าสวิตซ์เสียในลักษณะลัดวงจร
3.2.5 ลิมิตสวิทช์
            สวิตช์จำกัดระยะ (Limit switch) เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญมากชนิดหนึ่งที่ใช้ในงานอุตสาหกรรมในระบบการควบคุมแบบ อัตโนมัติ เรามาทำความรู้จักกับเจ้า ลิมิตสวิตช์ (Limit switch) กันดีกว่า
ลิมิตสวิตช์(Limit switch) เป็นสวิตช์ที่จำกัดระยะทาง การทำงานอาศัยแรงกดภายนอกมากระทำเช่น วางของทับที่ปุ่มกดหรือลูกเบี้ยวมาชนที่ปุ่มกด และเป็นผลทำให้หน้าสัมผัสที่ต่ออยู่กับก้านชน เปิด-ปิด ตามจังหวะของการชน

3.3 เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้
          – สแตนเลส
               – ทามเมอร์
               – มอเตอร์เครื่องปัดรางน้ำฝน
               – แบตเตอรี่รถจักรยานยนต์
                 -สายไฟ
                  -แผ่นพลาสวูด
               – ลิมิตสวิทช์
               – สวิตซ์กระดก
               – หม้อแปลง
3.4 แสดงการต่อวงจร



3.5 รายละเอียดโปรแกรมที่ได้พัฒนาในเชิงเทคนิค    
3.5.1 Flowchart ภาพรวมทั้งหมดของโครงสร้าง

3.5.2 Flowchart แต่ละส่วนพร้อมอธิบาย Source Code ที่พัฒนาให้ตรงกัน

3.5.3 ในส่วนของ Source Code ให้ใส่แหล่งที่มาอ้างอิงในกรณีที่ไปเอา Code อื่นมาพัฒนา
  1. http://www.inventor.in.th/home/ประดิษฐ์เครื่องให้อาหารแมวอัตโนมัติ
  2. http://www.msit.mut.ac.th/thesis/Thesis_2558
  3. http://www.payaptechno.ac.th
3.6 ขอบเขตและข้อจำกัดของโปรแกรมที่พัฒนา
               เครื่องมือสามารถให้อาหารสัตว์เองโดยอัตโนมัติ
               เครื่องมือสามารถตั้งเวลาในการปล่อยของอาหาร
               สามารถตั้งกำหนดเวลาให้อาหาร
  1. กลุ่มผู้ใช้โปรแกรม พร้อมผลการประเมินจากผู้ใช้
กลุ่มผู้ใช้โปรแกรม เป็นผู้ใช้งานระดับต่ำสุดซึ่งไม่จำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญมากนักก็สามารถใช้งานได้ โดยศึกษาจากคู่มือการปฏิบัติงานหรือคู่มือใช้งานโปรแกรมที่นำมาใช้ ซึ่งในบางครั้งอาจใช้วิธีการปรับปรุงระบบงานเดิมโดยสอบถามถึงปัญหาของระบบงานเก่าที่ใช้อยู่ว่ามีปัญหาอย่างไรบ้าง และต้องการจะให้ระบบใหม่ที่จะใช้นี้มีหน้าตาออกมาอย่างไร การสอบถามข้อมูลดังกล่าวจะทำให้ได้โปรแกรมหรือระบบงานที่ตรงตามวัตถุประสงค์มากที่สุด นอกจากนี้เมื่อได้ระบบดังกล่าวแล้ว อาจต้องนำมาทดสอบกับผู้ใช้เหล่านี้อีกครั้ง เพื่อขอรับฟังข้อแนะนำรวมถึงการทดสอบปัญหาเบื้องต้น ซึ่งพอจะสรุปความต้องการ
ประเด็นคำถามการใช้งาน
มากที่สุด
มาก
น้อย
น้อยที่สุด
ผู้ใช้มีความพึงพอใจต่อโครงงานเครื่องให้อาหารสัตว์อัตโนมัติมากน้อยเพียงใด
 
 
 
 
ความต้องการของผู้ใช้ต่อโครงงานเครื่องให้อาหารสัตว์อัตโนมัติ
 
 
 
 
ผู้ใช้คิดว่าเครื่องให้อาหารสัตว์อัตโนมัติใช้งานง่ายมากน้อยเพียงใด
 
 
 
 
ผู้ใช้คิดว่าเครื่องให้อาหารสัตว์อัตโนมัติมีความสวยงามมากน้อยเพียงใด
 
 
 
 
เครื่องให้อาหารสัตว์อัตโนมัติตรงตามความต้องการของผู้ใช้มากน้อยเพียงใด
 
 
 
 

 

  1. ผลของการทดสอบโปรแกรม ให้ใส่รูปแสดงการทำงานของชิ้นงาน และใส่ตารางผลการทดลอง
    1. ออกแบบชิ้นงาน
    2. จัดหาอุปกรณ์ในการทำชิ้นงาน
    3. เอาอุปกรณ์ที่จัดหามาทำโครงร่างของชิ้นงาน
    4. เริ่มทำตัวชิ้นงานแต่ละชิ้นงาน
    5. นำชิ้นงานแต่ละชิ้นมาประกอบเข้าด้วยกัน
    6. ทดลองการใช้งานของชิ้นงานที่ประกอบเสร็จสมบูรณ์
    7. แก้ไข้ชิ้นงานบางส่วนที่ขัดข้อง
    8. ชิ้นงานเสร็จสมบูรณ์
    9. นำเสนอผลงาน

    ตารางผลการทดลอง
    รอบการให้อาหาร
    เวลา
    พฤติกรรมการกิน
    การทำงานของเครื่อง
    หมด
    ไม่หมด
    ไหลปกติ
    หยุดไหล
    1
                     7.00 น.
    2
    12.00 น.
    3
    17.00 น.
    4
    22.00 น.
    1. ปัญหาและอุปสรรค
             ในระหว่างทำชิ้นงานมีการเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์บางส่วน เนื่องจาก หาซื้อสินค้าไม่ทัน ทำให้ชิ้นง
    านมีการเปลี่ยนจากที่ได้ออกแบบไว้ตั้งแต่ตอนแรก และระหว่างการทดลอง อาหารที่ใส่ลงไปในช่องเก็บอาหาร และทำการเปิดให้เครื่องให้อาหารทำงานนั้น ถ้าอาหารเม็ดใหญ่ไป ทำให้มอเตอร์ทำงานติดขัด และต้องถอดแก้กันหลายรอบ
    1. แนวทางในการพัฒนาต่อในอนาคต
             ในการพัฒนาในอนาตคจะสร้างแอพพิเคชั่นในการควมคุม เปิด-ปิด และกำหนดปริมาณในการให้อาหารสัตว์โดยให้คำสั่งในระยะที่ไกลและสะดวกกว่าเดิม และจะแก้ไขให้เครื่องให้อาหารสัตว์อัตโนมัติใส่อาหารได้ทุกขนาดและปริมาณที่เยอะกว่านี้
    1. ข้อสรุปและข้อเสนอแนะ



             ปัจจุบันในการทำการประมง รวมทั้งการเลี้ยงสัตว์เพื่องานธุรกิจขนาดกลาง หรือขนาดใหญ่ การดูแลรักษา รวมทั้งการให้อาหารแก่สัตว์เลี้ยง นับเป็นปัจจัยหนึ่งในการทางธุรกิจสัตว์เลี้ยงเพื่อการส่งออกในประเทศและต่างประเทศซึ่งการให้อาหารสัตว์ต้องใช้แรงงานคนจำนวนมาก อันเป็นภาระของผู้ประกอบการในการจัดหาแรงงานและค่าใช้จ่าย รวมทั้งผู้ที่ชอบเลี้ยงสัตว์เลี้ยง เช่น ปลาสวยงาม สุนัข แมว เป็นต้นกระทบต่อร่างกายและสุขภาพ และได้มีการดำเนินการโครงสร้างทางธุรกิจเติบโตมากขึ้น ส่งผลให้ต้องมีการปรับปรุงโครงสร้างทางคมนาคม ต้องเพิ่ม ความสะดวก ความคล่องตัวมากขึ้นแต่เนื่องจากปจุบันยังคงมีปัญหาการจราจรที่ติดขัดในตัวเมื่อ และเขตอุตสาหกรรมต่างๆ ทำให้การใช้ชีวิตของบุคคลช่วงวัยทำงาน ใช้เวลากับการเดินทางบนถนนเป็นส่วนใหญ่ พบกับปัญหาเวลาการเดินทางไปยังจุดหมายไม่แน่นอนหากครอบครัวของบุคคลที่ต้องพบเจอกับการใช้เวลา ไปและกลับ เสียเวลาส่วนใหญ่ไปกับชีวิตในรถยนต์ หรือการโดยสารพาหนะต่างๆ จำเป็นต้องดูแลสัตว์เลี้ยงแสนรักไว้ที่บ้าน คงจะต้องประสบณ์กับการจัดสรรอาหารของสัตว์เลี้ยงด้วยเป็นอย่างยิ่ง
    1. แหล่งที่มาอ้างอิง (Reference)
      http://www.inventor.in.th/home/ประดิษฐ์เครื่องให้อาหารแมวอัตโนมัติ
      http://www.msit.mut.ac.th/thesis/Thesis_2558
      http://www.payaptechno.ac.th
    ผลการทดลอง
    https://www.youtube.com/watch?v=tAM0Y9ruJFQ

    นำเสนอในห้องเรียน
    https://www.youtube.com/watch?v=hNjQxcxwoXc



CHONTICHA TIPPANEE
at GlurGeek.Com

Leave a Reply

© 2022 GlurGeek.Com