AOTOCAD 2017 ตอนชุดก้ามปูเปลี่ยนเกียร์แบบไอโซเมตริกและออโทกราฟิก

 

ชื่องาน  ชุดก้ามปูเปลี่ยนเกียร์แบบไอโซเมตริกและออโทกราฟิก

จัดทำโดย
นายปิยพร วาหะรักษ์  159092142

เสนอ
อาจารย์ทศพล บ้านคลองสี่
วิชา การเขียนแบบวิศวกรรม

สาขาอิเล็กทรอนิกส์
คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559

94

นีเป็นภาพของชุดเกียร์ที่อยู่ในเครื่องยนต์ของรถจักรยานยนต์นะครับในที่นี่ผมจะเอาเพียงแค่ชุดก้ามปูมาใช้ในการวาดภาพแบบไอโซเมตริกและออโทกราฟิกเท่านั้นนะครับ เกียร์จะทำหน้าที่เปลี่ยนแปลงอัตราทดของเฟืองให้เหมาะสมกับสภาพของภาระ ดังเช่นการเริ่มเคลื่อนที่ของรถจักรยานยนต์การเร่งความเร็ว การขึ้นหรือลงที่สูงชัน, สภาพผิวถนน,แรงดันลมยางและอื่นๆ ดังนั้นความเร็วและแรงบิดของเครื่องจึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาเพื่อ ให้เหมาะสมกับทุกสภาวะการขับขี่ดังนั้นเกียร์ของรถจักรยานยนต์จึงมีหน้าที่ เพิ่มหรือลดแรงบิดของเครื่องยนต์และเพิ่มความเร็วให้กับรถจักรยานยนต์ ซึ่งใน อดีตที่ผ่านมารถจักรยานยนต์ที่มีขนาดความจุกระบอกสูบไม่มากนักจะมีเพียง 3 – 4 เกียร์ แต่ในปัจจุบันได้มีการพัฒนารถจักรยานยนต์ให้มีเกียร์เพิ่มมากขึ้นเพื่อเพิ่ม สมรรถนะและความเหมาะสมในการใช้งานให้ดียิ่งขึ้น

โดย ทั่วไปเกียร์ที่ใช้ในรถจักรยานยนต์ปัจจุบันเป็นแบบ คอนสแตนท์เมช (แบบขบกันตลอดเวลา) ซึ่งเกียร์แบบนี้จะขบกันและหมุนอยู่ตลอดเวลาแต่จะไม่มีการถ่ายทดกำลังงาน เพราะเฟืองเกียร์ที่ขบกันดังกล่าวลอยตัวอยู่บนเพลาอิสระจนกว่าจะมีการ เปลี่ยนเฟืองเกียร์ที่ทำหน้าที่เป็นเฟืองสะพานไปขบกัน จึงจะมีการถ่ายทอดกำลังงานจากเกียร์ผ่านเพลาเพื่อส่งไปใช้งานต่อไป

ส่วนประกอบที่สำคัญของชุดเกียร์มีดังนี้

1. เพลาเมนหรือเพลาเกียร์จะประกอบด้วยเฟืองขับและเฟืองเลื่อน
2. เพลาสเตอร์หรือเพลาขับล้อจะประกอบด้วยเฟืองลอยและเฟืองเลื่อน
3. ก้ามปูเกียร์ทำหน้าที่เขี่ยเฟืองเลื่อนเพื่อให้เฟืองแต่ละเฟืองขบกันทำให้ เกิดการส่งกำลัง
4. กลไกคันเกียร์ทำหน้าที่ให้ก้ามปูเกียร์ที่สวมอยู่ กับเฟืองเลื่อนเคลื่อนที่เฟืองเลื่อนจึงเคลื่อนที่ไปล็อคเฟืองเฟืองพลอยให้ ยึดติดกับเพลากาย ถ่ายทอดกำลังจึงเกิดขึ้น
ชุดกลไกคันเกียร์ซึ่งใช้มากกับรถจักรยานยนต์ทั่วไปคือลูกเบี้ยวแบบร่องเวียน

เมื่อคันเกียร์ ถูกงัดขึ้นหรือกดลงเพลาเปลี่ยนเกียร์จะหมุนบิดตัวทำให้เปลี่ยนเกียร์ทำงาน ปลายเพลาเปลี่ยนเกียร์เกี่ยวสลักปลายเพลาลูกเบี้ยวลูกเบี้ยวจะหมุน  เมื่อลูกเบี้ยวหมุนร่องเวียนจะพาสลักก้ามปูเคลื่อนที่ไปด้านข้างในแนวก้ามปูจึง เคลื่อนที่ไปด้านข้างในแนวนอนด้วยเฟืองเลื่อนจึงถูกพาให้เลื่อนไปขบกับเฟือง คู่ที่ต้องการ การถ่ายทอดกำลังจึงเกิดขึ้

 

สวัสดีครับหลังจากที่เราทราบประโยชน์และหน้าที่ของเกียร์แล้ววันนี้เราก็จะมาวาดชุดเกียร์ก้ามปูกับโปรแกรม AOTOCAD 2017 นะครับวันนี้จะมาสอนการวาดชุดก้ามปูเปลี่ยนเกียร์กันนะครับโดยเริ่มจากภาพไอโซเมตริกกันก่อนก็แล้วกันนะครับ โดยโปรแกรมที่ใช้ในการอัดคลิปวีดีโอนี้เป็นโปรแกรม  CAMTASIA 9 นะครับ ถ้าเพื่อนๆอยากรู้ว่าชุดก้ามปูเปลี่ยนเกียร์บน AOTOCAD แบบไอโซเมตริกเป็นยังไงก็ไปลุยกันเลยครับ

 

 

แล้วก็มาถึงกับวีดีโอที่สองนะครับวีดีโอนี้ก็จะเป็นการวาดภาพฉายแบบออโทกราฟิกนะครับ ก็อยู่กับภาพเดิมคือชุดก้ามปูเปลี่ยนเกียร์นะครับซึ่งภาพแบบออโทกราฟิกจะเป็นแบบภาพสองมิติถ้าเพื่องอยากรู้ว่าเมื่อภาพไอโซเมตริกที่เป็นสามมิติเป็นสองมิติอย่างไร แล้วชุดเกียร์ก้ามปูจะมีหน้าตาอย่างไร ถ้าพร้อมแล้วก็ไปดูกันเลยครับ

สำหรับใครที่ต้องการดูแบบภาพนิ่งก็สามารถดูได้ตามลิ้งค์ด้านล่างเลยนะครับ มีทั้งแบบ.dwgและ.pdf ของภาพISOMETRICและORTRORAPHICเลยนะครับ

https://drive.google.com/file/d/0B9NpslO35KFObXZiblhFdTdCZ28/view?usp=sharing

https://drive.google.com/file/d/0B9NpslO35KFObXZiblhFdTdCZ28/view

https://drive.google.com/file/d/0B9NpslO35KFOa3pPYW9aQW1QTTQ/view?usp=sharing

https://drive.google.com/file/d/0B9NpslO35KFOMHZTemc5bW9BMzQ/view

 

Piyapron Waharak
at GlurGeek.Com
เป็นนักศึกษาปี1 เรียนอยู่คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาอิเล็คทรอนิกส์ เวลาว่างชอบอ่านหนังสือ ฟังเพลง หรือหาอะไรที่สนุกสนานแต่ไม่วุ่นวาย ชอบเล่นเกมส์แนววางแผน หมากรุกชอบเป็นอันดับหนึ่งเลย

Leave a Reply

© 2022 GlurGeek.Com