HOW TO!!! เขียนแบบแปลนบ้านและวงจรไฟฟ้าเบื้องต้นง่ายๆ ด้วยโปรแกรม AutoCAD [ MY PROJECT (TSC.) WITH AUTOCAD 2016 ]

 

MY PROJECT (TSC.) WITH AUTOCAD 2016

     

     

TSC.

THE LIVING INSYSTEM COMPLETELY

โครงการที่พักอาศัย TSC. รังสรรค์ขึ้นมาเพื่อสามารถตอบโจทย์การใช้ชีวิตของกลุ่มเป้าหมายได้เป็นอย่างดี ซึ่งแน่นอน โครงการ TSC. นี้คือการผสมผสานเอาวิถีชีวิตของคนรุ่นใหม่เข้ากับชีวิตการทำงานที่ต้องเป็นระบบ แบบแผนตลอดเวลาซึ่งมีการจำกัดของเวลาและการใช้สอยพื้นที่ครบครันได้อย่างลงตัวเหมาะกับไลฟ์สไตล์คนทำงานรุ่นใหม่ไฟแรง

ไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ในเมืองที่คุ้นเคย เป็นบ้านคอนกรีตชั้นเดียว 2 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ 1ห้องนั่งเล่น 1 ห้องทำงาน 1ห้องครัว และ 1 ห้องโถง พื้นที่ทั้งหมด 425 ตารางวาหรือประมาณ 1 ไร่ ซึ่งถือว่าเป็นบ้านชั้นเดียวที่มีพื้นที่กว้างพอสมควรสำหรับบ้านใจกลางเมือง ตกแต่งด้วยสไตล์ลอฟท์ เรียบ หรู โมเดิร์น เน้นความสะดวกสบาย ครบครัน มีความเป็นอิสระ บรรยากาศอบอุ่น ตัวบ้านเน้นโทนสี Earth Tone ผสมผสานกับ สี Loft เป็นโทนสีที่ได้จากการเลียนแบบธรรมชาติ ให้ความรู้สึก สุขุม เข้มแข็ง มองแล้วสบายตา ดูหรูหรา เรียบง่าย สร้างความโดดเด่นด้วยเส้นสายที่มั่นคง โดยสีหลักจะใช้สี Loft สลับกับสี Earth Tone เป็นบ้านที่ให้ความรู้สึกเป็นได้ทั้งที่พักผ่อนและที่ทำงานในที่เดียวกัน

สำหรับการจัดสรรพื้นที่ภายในบ้าน ได้มีการออกแบบให้มี พื้นที่ในการพักผ่อนและการทำงานเป็นส่วนใหญ่ เพื่อตอบสนองการใช้ชีวิตของคนทำงานรุ่นใหม่ไฟแรง เริ่มจากพื้นที่Out door ด้านหน้าของตัวบ้านเป็นลานกว้างที่สามารถจัดสวนพักผ่อนได้ มีลานน้ำพุ ซึ่งตามหลักหวงจุ้ยแล้วการมีต้นไม้พื้นที่เขียวชอุ่มอยู่หน้าบ้านจะช่วยดึงดูดโชคลาภ ความสำเร็จมาสู่ผู้อยู่อาศัยและการที่มีน้ำพุอยู่ด้านหน้าบ้านนั้นจะช่วยดึงดูดเงินทองเข้ามาภายในบ้าน ถัดมาคือพื้นที่ In door เปิดประตูเข้ามาจะพบกับทางพักที่มีไว้สำหรับการวางชั้นรองเท้า และมีประตูชั้นในอีก 1 ชั้นเพื่อเข้าสู่ตัวบ้านด้านใน ส่วนแรกในตัวบ้านคือ ห้องโถงเป็นการการOpen Plan ซึ่งเป็น Highlight ของการออกแบบตัวบ้าน เชื่อมพื้นที่ห้องครัว สระว่ายน้ำ ห้องนั่งเล่น และห้องรับประทานอาหารเข้าไว้ในโถงเดียวกัน ให้ความรู้สึกโปร่ง โล่ง เป็นอิสระสามารถจัดปาร์ตี้เล็กๆได้ ออกแบบให้มีพื้นที่ในการผ่อนคลายให้กับชีวิต ในส่วนของห้องครัวมีซิ้งค์ถาวรติดกับตัวบ้าน มีสระว่ายน้ำไว้สำหรับการพักผ่อนหรือปาร์ตี้เล็กๆ มีประตูด้านหลังเปิดออกไปสู่ระเบียงหลังบ้านได้ถัดมาในส่วนของห้องนอนซึ่งเป็นส่วนสำคัญหลักของที่พักอาศัยมีห้องนอน 2 ห้อง ห้องนอนแรกเป็นห้องนอนใหญ่เชื่อมต่อกับห้องแต่งตัว ส่วนห้องนอนเล็กจะอยู่ด้านหน้า โดยทั้งสองห้องนอนมีห้องน้ำเชื่อมอยู่ระหว่างกลางร่วมกัน ถัดมาด้านซ้ายของตัวบ้านเป็นห้องทำงานที่มีพื้นที่ในการทำงานอย่างสมบูรณ์แบบ สามารถทำงานได้อย่างมีระบบและมีพื้นที่กว้างสามารถทำงานเป็นทีมได้ ห้องทำงานเชื่อมต่อกับห้องน้ำห้องที่ 2 ของตัวบ้าน และมีประตูด้านหน้าห้องทำงานที่เปิดออกมาเป็นระเบียงหน้าบ้าน เป็นการสร้างบรรยากาศRelax ในระหว่างที่ทำงานอีกทางหนึ่ง เพื่อลดความตรึงเครียดจากงานที่ทำ ซึ่งเป็นบ้านที่สะดวก ครบครัน อย่างเป็นระบบ ตรงกับ Concept“ THE LIVING IN SYSTEM COMPLETELY ” ซึ่งเหมาะกับไลฟ์สไตล์คนทำงานรุ่นใหม่ไฟแรงทั้งในปัจจุบันและอนาคต

 จุดเริ่มต้นของการสร้าง Project ที่พักอาศัย TSC. ขึ้นมาจากการสเก็ตแบบบ้านและการวางวงจรระบบไฟฟ้าภายในบ้านในอุดมคติที่ตนเองต้องการ ซึ่งมาจากนิสัยและความคุ้นเคยของตนเอง ที่รักความอิสระเสรี แต่อยู่ในขอบเขต อย่างมีระบบระเบียบ เรียบหรู ในแบบแปลนบ้านจะมีพื้นที่ทั้งหมด 85*80 โดยใช้ SCALE 1:2

 

การเขียนแบบแปลนบ้านและวงจรไฟฟ้าภายในตัวบ้าน จะเขียนด้วยโปรแกรม AutoCAD 2016 เราจะบอกขั้นตอนการเขียนพื้นฐานของการใช้โปรแกรม แบบ Step by step กันเลย

      

      

ก่อนอื่นเลยเรามารู้คำสั่งลัดง่ายๆ ในโปรแกรม Autocad ตัวนี้ก่อน เพื่อง่ายและสะดวกรวดเร็วในการทำงาน

         

 

 

          เมื่อเข้าโปรแกรม AUTOCAD 2016   เราจะได้ Model Space ในการทำงานหน้าตาแบบนี้ จะมีเมนูคำสั่งต่างๆ และมี Tap และ Panel ต่างๆบนแถบ Ribbon

เมนูคำสั่ง

File จะรวมคําสั่งจัดการไฟล์งาน เปิดไฟล์ Save ไฟล์ การพิมพ์งาน

Edit รวมคําสั่งแก้ไข Undo – Redo (ไม่ใช่เครื่องมือคําสั่งแก้ไขวัตถุ)

View รวมคําสั่งที่ใช้ในการจัดการมุมมอง แบ่งส่วนพื้นที่ทํางาน

Insert รวมคําสั่งแทรกวัตถุ Block แทรกวัตถุภาพ

Format รวมคําสั่งการตั้งค่ารูปแบบต่าง เช่น Text Style, Dimension Style

Tools การตั้งค่า Option ของโปรแกรม, กลุ่มเครื่องมือพิเศษ เช่น เครื่องมือช่วยเลือกวัตถุ

Draw กลุ่มคําสั่งวาดรูป

Dimension กลุ่มคําสั่งเครื่องมือวาดเส้นบอกระยะ –

Modify กลุ่มคําสั่งแก้ไขวัตถุ

Windows การจัดการหน้าต่างไฟล์งาน

Help คู่มือช่วยเหลือ (ช่วยได้เฉพาะคนที่ใช้งานเมนู Help เป็นเท่านั้น)

ขั้นตอนแรก เราต้องเข้าไปกำหนดหน่วยของชิ้นงานและจำนวนจุดทศนิยมในการเขียนแบบ โดยใช้คำสั่ง Units ในกรณีนี้ชิ้นงานที่เราจะเขียนมีหน่วยเป็นเมตร เราก็ควรจะตั้งหน่วยในการเขียนแบบให้เป็นเมตร

คลิกที่เมนู Format >> Units… ที่ช่อง Type ให้เราเลือก Decimal / ที่ช่อง Precision ให้เราเลือกจำนวนจุดทศนิยมที่ราต้องการ เช่น ตามตัวอย่างเลือก0.00 ( ทศนิยม 2 ตำแหน่ง ) / ที่ช่อง Type ให้เราเลือกค่าเป็น Decimal Degrees / ที่ช่อง Units to scale inserted content ให้เราเลือกหน่วยเป็นเมตร ( Meters )( สำหรับคนที่ต้องการเขียนชิ้นงานที่มีหน่วยเป็นมิลลิเมตรก็เลือกหน่วยเป็นมิลลิเมตร Millimeters ค่ะ / สุดท้ายก็คลิกปุ่มOK

ต่อมาเราจะสร้างรั้วบ้าน เพื่อจำกัดพื้นที่บริเวณบ้านทั้งหมดของบ้านเรา มีขนาด 80*85 เมตร และความหนาของรั้ว มีขนาด 0.5 เมตร โดยใช้คำสั่ง LINE (L) วาดเส้นตรง สามารถเรียกจากปุ่ม Icon บน Toolbar

เมื่อเราสร้างเส้นตรง จะขึ้นกล่องเล็ก ๆ ตรงเคอร์เซอร์ Enable pointer input จะให้เราใส่ความยาวของเส้นที่เราจะสร้างขึ้น

Tip :

4,3  คือ     การพิมพ์ค่า Absolute coordinate ในรูปแบบพิกัด X,Y

@1.5   คือ     การพิมพ์ค่า Relative coordinate

@8<45   คือ     การ พิมพ์ค่า Relative polar coordinate ในรูปแบบ @Distance<Angle

    

          ต่อมาเราจะสร้างตัวบ้าน ให้ห่างจากรั้วบ้าน 5.5 เมตร และให้ความหนาของกำแพงมีขนาดเท่ากับ 5.5 เมตร โดยใช้คำสั่ง LINE (L) วาดเส้นตรง เหมือนเดิม

          หลังจากนั้นเราจะสร้างส่วนต่างๆภายในบ้าน ระเบียงหน้าบ้าน-หลังบ้าน ห้องนอน1 ห้องนอน2 ห้องแต่งตัว ห้องน้ำ1 ห้องน้ำ2 ห้องครัว ห้องทำงาน ให้ความหนาของกำแพงขนาด 5.5 เมตร ด้วยคำสั่ง LINE (L) วาดเส้นตรง เหมือนเดิม

     

          ตอนนี้เราจะได้ตัวบ้านที่มีครบทุกห้องแล้ว ต่อไปเราจะใส่สัญลักษณ์ของประตู เราจะสร้างวงกบ เป็นประตูบานเปิดเดี่ยว มีขนาด 2 เมตร กางออก 90 องศา เราจะใช้คำสั่ง LINE (L) , CIRCLE (C) , TRIM (TR) ตัดแต่งสร้างวงกบขึ้นมา

          เราจะสร้างเส้นตรงที่มีความยาวเท่ากับ 2 เมตร ตามแนวแกน x,y ต่อกันดังรูป และสร้างวงกลมที่มี R เท่ากับ 1 เมตร ขึ้นมาจากจุดที่เส้นตรงตัดกัน

TIP:

CEnter-Radius  ใช้ในกรณีที่ทราบตำแหน่งของจุดศูนย์กลางและรัศมีของวงกลม

CEnter-diameter  กำหนดตำแหน่งของจุดศูนย์กลางและเส้นผ่านศูนย์กลางของวงกลม

2 Points (2P) กำหนดตำแหน่งของจุดใดๆ สองจุดที่ส่วนโค้งของวงกลมลากผ่าน

3 Points (3P) กำหนดตำแหน่งของจุดใดๆ สามจุดที่ส่วนโค้งของวงกลมลากผ่าน

Tangents-Radius (I) กำหนดจุดสัมผัสเส้นตรงหรือเส้นโค้ง 2 จุด และกำหนดรัศมีของวงกลม

Convert Arc to Circle (A) เปลี่ยนเส้น Arc ที่เคยสร้างไว้ ให้กลายเป็นวงกลม

เราต้องการใช้แค่ส่วนโค้งของวงกลมเท่านั้น ดังนั้นเราจะ ใช้คำสั่ง TRIM (TR) ตัดแต่ง ลบวงกลมที่เหลือออก โดยการเลือกคำสั่ง Trim แล้วคลิก Mouse ขวาที่บริเวณเส้นตรงที่เราสร้างไว้ เสร็จแล้วคลิกซ้าย Mouse ของเราจะเปลี่ยนเป็นเครื่องหมายกากบาทสีแดง แล้วเราคลิกซ้ายที่ส่วนของวงกลมที่ต้องการลบ เราก็จะได้แค่ส่วนของวงกลมที่เราต้องการ

จะสังเกตได้ว่าวงกบที่เราต้องใช้นั้นจะถูกจัดวางในหลายตำแหน่ง แต่ละตำแหน่งก็จะหันหน้าไม่เหมือนกัน เราก็จะใช้คำสั่ง ROTATE (R) หมุนวัตถุ , MIRROR (MI) คัดลอกวัตถุแบบกลับด้าน , MOVE (M) ย้ายวัตถุ และคำสั่ง Copy , Place วางในตำแหน่งต่างๆที่ต้องการ

          ต่อไปเราจะใส่ Furniture เราสามารถ Design ได้ตามใจชอบตรงตามความต้องการของเรา เส้นที่ใช้ในการเขียนเราอาจเลือกใช้สีที่แตกต่างจากการเขียนแปลนบ้าน เพื่อให้เราแบ่งแยกได้ชัดเจนขึ้นในแต่ละส่วนว่า เส้นไหนคือแปลน เส้นไหนคือ Furniture

          ต่อไปเราจะสร้างน้ำพุบริเวณหน้าบ้านง่ายๆเลย โดยใช้คำสั่ง CIRCLE (C) วาดรูปวงกลม 3 รูปซ้อนกัน มี R เท่ากับ 1.5,7,8 เมตร ตามลำดับ

ตอนนี้เราได้เขียนแบบแปลนบ้านครบทุกส่วน และใส่ Furniture เรียบร้อย

          ขั้นตอนต่อไป เราจะสร้างเต้ารับไฟฟ้า มีขาดิน ขนาด 180 VA ขึ้นมาโดยใช้คำสั่ง  LINE (L) , CIRCLE (C) , TRIM (TR) ตัดแต่งสร้างเต้ารับขึ้น และใช้คำสั่ง ROTATE (R) หมุนวัตถุ , MIRROR (MI) คัดลอกวัตถุแบบกลับด้าน , MOVE (M) ย้ายวัตถุ และคำสั่ง Copy , Place เต้ารับไปวางในตำแหน่งต่างๆในบ้านที่ต้องการ

  

          ต่อไปเราจะวางดวงโคม ตามจุดต่างๆภายในบ้าน บ้านหลังนี้จะใช้หลอดไฟอยู่ 2 แบบ คือ ดวงโคมครอบแก้วทรงกลม หลอด FLUORESCENT 32 W และ LIGHT EMITTING DIODE (LED) ชนิดหรี่แสงได้

          จากนั้นเราจะใส่สีให้กับหลอดไฟของเรา โดยใช้คำสั่ง Draw > Hatch เพื่อให้เกิดความแตกต่าง และเห็นเป็นตำแหน่งของหลอดไฟได้ชัดเจนขึ้น Hatch เป็นการระบายลวดลายแฮทช์ (Hatch Patterns) ลงบนขอบเขต (Boundary) ที่กำหนด ซึ่งขอบเขตอาจจะประกอบไปด้วยเส้นตรงหรือเส้นโค้งที่สร้างจากคำสั่งต่างๆ เราสามารถใช้คำสั่งนี้ในการเติมสีให้กับชิ้นงานเราได้ตามที่ต้องการ

         ต่อมาเราจะสร้างสวิตซ์ไฟ โดยใช้คำสั่ง CIRCLE (C) , TEXT สร้างสวิตซ์ขึ้น และใช้คำสั่ง ROTATE (R) หมุนวัตถุ , MIRROR (MI) คัดลอกวัตถุแบบกลับด้าน , MOVE (M) ย้ายวัตถุ และคำสั่ง Copy , Place ในการวางตัวสวิตซ์ไฟในส่วนต่างๆของบ้าน

         สวิตซ์ในตัวบ้านนี้ จะมีอยู่ 3 ตัว คือ

S สวิตซ์เดี่ยว ขนาด 16A – 250 VA , Sd สวิตซ์ประตูอัตโนมัติ , Sds สวิตซ์ไฟหรี่ (Dimmer Switch)

          ต่อไปเราจะเดินสายไฟจากสวิตซ์ไปยังหลอดไฟ โดยใช้คำสั่ง CIRCLE (C) สร้างวงกลม , TRIM (TR) ตัดแต่งเอาแค่ส่วนโค้งของวงกลมเท่านั้น การเดินสายไฟที่ต้องใช้เส้นโค้งเพราะจะไม่ซ้ำกับเส้นตรงในการเขียนแปลนบ้าน จะทำให้เราดูแปลนง่ายขึ้น

          เท่านี้ก็เสร็จแล้วค่ะ ที่เหลือเราจะใส่ Dimension line เพื่อบอกขนาดส่วนต่างๆของแปลนที่เราสร้าง และบอกขนาดระยะห่างของการวางหลอดไฟแต่ละดวง หรือบอกตำแหน่งการวางหลอดไฟในแต่ละจุดนั่นเอง

สามารถเข้าไปดูเพิ่มเติมได้ที่ https://youtu.be/HjbKnuwMDlM

at GlurGeek.Com
กำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพ คณะวิศวกรรม สาขาไฟฟ้า เป็นคนชอบการเดินทาง การท่องเที่ยว Adventure และกิจกรรม Adventure ต่างๆ รักอิสระ รักการทำกิจกรรมส่วนรวม ชอบการมีส่วนร่วม การเข้าช่วยเหลือ ชอบเก็บเกี่ยวความทรงจำด้วยภาพถ่าย สะสมใบประกาศนียบัตรต่างๆ สะสมเหรียญรางวัลจากการเล่นกีฬา (วิ่ง,เทควันโด) ชอบการท่องโลก Internet ดูสิ่งแปลกใหม่ ทั้งสถานที่ท่องเที่ยว การใช้ชีวิตต่างๆ สร้างแรงบันดาลใจในการเดินทาง ออกแบบการใช้ชีวิตของตัวเองที่ไม่จำเจไม่เหมือนใคร

Leave a Reply

© 2022 GlurGeek.Com
Exit mobile version