Yosemite มิติใหม่จาก OSX

Yosemite คือ อะไร เรามาทำความรู้จักและความเปลี่ยนแปลงของมันกันเลยครับ

ชื่อของ Yosemite (อ่านว่า โย-ซิ-มิ-ตี้) มาจากอุทยานแห่งชาติ Yosemite ในรัฐแคลิฟอร์เนีย โดยภาพพื้นหลังที่ถูกตั้งเป็นค่าเริ่มต้นของ OS X Yosemite คือภาพหินที่ชื่อว่า El Capitan ในอุทยานแห่งชาติ Yosemite

Design

หนึ่งเรื่องที่ขาดไม่ได้คือดีไซน์ เพราะ OS X Yosemite ดีไซน์ใหม่หมดจดจริงๆ เป็นแนว flat ลดความยุ่งยากและลวดลาย เหมือนตอนที่เปลี่ยนจาก iOS 6 ไปเป็น iOS 7 โดยดีไซน์แบบนี้ Apple เริ่มใช้ในบางส่วนของ OS X Mavericks แล้ว ในส่วนไอคอนต่างๆ ใน Yosemite ออกมาในแนวเดียวกับ iOS ที่เป็นสีสันสดใส ออกแนวการ์ตูน ลดมิติลง บางตัวผมคิดว่าสวยกว่าแบบเก่า แต่บางตัวก็ดูแบบเก่าสวยกว่า ตรงนี้เป็นเรื่องของความชอบล้วนๆ

Font

OS X Yosemite เลือกใช้ฟ้อนต์ Helvetica Neue ต่างกับ OS X Mavericks ที่ใช้ฟ้อนต์ Lucida Grande แต่จากที่ทดลองใช้มาสักพักผมยังไม่พบปัญหาการอ่าน ถึงแม้ช่องว่างระหว่างตัวอักษรของ Helvetica Neue จะน้อยกว่า Lucida Grande ก็ตาม เพราะไม่ได้เลือกใช้ฟ้อนต์บางเหมือน iOS 7 ช่วงแรกๆ แต่บางจุดของ OS X Yosemite มีตัวอักษรที่เล็กลงบ้าง ซึ่งอาจมีปัญหากับคนที่สายตาไม่ดีได้

สัญญาฯจราจรและปุ่ม Full screen

สัญญาณจราจรถูกเปลี่ยนเป็นสีเรียบๆ โดยปุ่มสีเขียวจะใช้เป็นปุ่ม full-screen แทนปุ่มเดิมที่อยู่มุมบนขวา แต่ถ้าแอพใดไม่รองรับ full-screen หรือยังไม่ได้อัพเดตให้รองรับ Yosemite ปุ่มสีเขียวก็ยังเป็น + เหมือนเดิมแอพที่รองรับการใช้ปุ่มสีเขียวเป็น full-screen ถ้าจะใช้ฟังก์ชันของปุ่ม + เดิมให้ดับเบิ้ลคลิกตรงส่วนบนของหน้าต่างแทน

Gaussian Blur

เอฟเฟคที่ Apple เลือกมาใช้ใน OS X Yosemite คือ Gaussian Blur เหมือน iOS 7 เป็นการเบลอฉากหลังอย่างสวยงาม โดย Apple ใช้เอฟเฟคนี้ทั้งเมนู, Dock, Toolbar ข้อเสียคือกินพลังงานประมวลผลอยู่บ้าง สำหรับคนไม่ชอบ Apple ก็มีตัวเลือกให้ปิดเอเฟคนี้ใน Accessibility ด้วย

Dock

พูดถึง OS X คงจะไม่พูดถึง Dock ที่เป็นของคู่กันมาช้านานไม่ได้ คราวนี้ Apple ปรับเปลี่ยน Dock บน OS X Yosemite ใหม่ เป็นแนวสองมิติและใช้เอฟเฟค Gaussian Blur ซึ่งตรงนี้แล้วแต่ใครจะชอบ จากการทดลองใช้มาสักพักผมไม่เคยมีปัญหากับดีไซน์นี้นะ ดูๆ แล้วก็เหมือน Dock แบบดั้งเดิมที่ใช้กันมาตั้งแต่ Mac OS X รุ่นแรกๆ เลยทีเดียว

Spotlight

Spotlight ถูกปรับปรุงครั้งใหญ่ใน Yosemite โดย Apple ได้ย้าย Spotlight มาอยู่กลางจอ ขยายตัวอักษรให้ใหญ่กว่าเดิมมาก ทำให้มองได้สบายตา ฟีเจอร์ของ Spotlight ที่เพิ่มเข้ามาใหม่ใน Yosemite ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการค้นข้อมูลออนไลน์ เช่น แปลงค่าเงิน, ดูรอบฉายหนัง, ค้นข้อมูลใน Wikipedia, ค้นหาแอพใน App Store

Notification Center

ในส่วน Notification Center ได้เพิ่ม Today เข้ามาเหมือน iOS 8 และมี Widget ซึ่งเราสามารถเพิ่ม-ลดได้ตามความต้องการ ในตอนนี้จะยังมีเฉพาะ Widget ของ Apple แต่ในอนาคตจะมี Widget จากแอพอื่นๆ เพิ่มตามมาแน่นอน

Screen Sharing

หนึ่งฟีเจอร์ที่ห่างหายจาก OS X แบบที่ Apple ไม่ได้พูดถึงเสียนานคือ Screen Sharing คือการแบ่งปันหน้าจอ Mac ให้เพื่อนดู ช่วงที่เปลี่ยนจาก iChat เป็น Messages นั้น Apple กลับไม่ได้นำความสามารถนี้มาให้ใช้ได้แบบสบายๆ (ถ้าจะใช้ต้องไปขุดกันเอาเอง ซึ่งใช้ยากมาก)

ส่วนความลื่นของ Screen Sharing นั้นเท่าที่ผมลองใช้ดูก็ลื่นพอสมควร (ไม่ถึงกับลื่นมาก) ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับความเร็วเน็ตของผู้ใช้ด้วยนะครับ

วิธีการใช้ Screen Sharing ก็คือเปิด Messages ใน Mac ของตัวเอง กดเพื่อนที่ต้องการใช้ Screen Sharing ด้านซ้าย (หรือจะเปิดบทสนทนาใหม่เลยก็ได้ครับ) หลังจากนั้นให้กด Detail ที่มุมบนขวาของหน้าต่าง กดปุ่มสี่เหลี่ยมซ้อนกันสองอัน จะมีตัวเลือกให้ขอดูหน้าจอของตนเอง หรือจะให้คนอื่นเข้าดูหน้าจอของตนเอง ซึ่งเราสามารถเลือกได้ว่าจะให้ฝ่ายที่ดูหน้าจอเข้าควบคุมคอมพิวเตอร์ของเราหรือไม่ หลังจากนั้นคำขอจะถูกส่ง ต้องรอให้อีกฝ่ายตอบรับคำขอก่อนถึงจะเริ่มการ Screen Sharing ได้

รายละเอียดเพิ่มเติม

ส่วนสุดท้ายจะเป็นการเพิ่มเติมเล็กน้อยสำหรับที่เราควรรู้เกี่ยวกับ OS X Yosemite แต่ Apple ไม่ได้บอกหรือไม่ได้เน้นมากนัก

เสียฃแปะๆหายไปเวลาเพิ่ม-ลด เสียง

ใครที่ใช้ OS X มานานมักจะคุ้นเคยกับเสียงแป๊ะๆๆๆๆๆ เวลาเพิ่มเสียงหรือลดเสียง ซึ่งก็เป็นเอกลักษณ์หนึ่ง แต่ OS X Yosemite ปิดไว้เป็นค่าเริ่มต้น หากใครไม่สนใจอะไรก็อาจข้ามจุดนี้ไปได้ แต่ถ้าใครรู้สึกขาดๆ หายๆ สามารถเปิดได้ที่ System Preferences -> Sounds -> Play feedback when volume is changed

Sukhumvit set font

ข่าวดีสำหรับภาษาไทยคือ รอบนี้ Apple ใส่ฟ้อนต์ Sukhumvit Set มาให้ด้วย ซึ่งเป็นฟ้อนต์ที่ทุกคนก็น่าจะคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว เพราะเคยเริ่มใช้ใน iOS 7 แต่ก็ยกเลิกไปใน iOS 7.1 แม้รอบนี้ Apple ไม่ได้เปิดใช้ฟ้อนต์ Sukhumvit เป็นค่าเริ่มต้น แต่ก็เป็นการเพิ่มทางเลือกให้ผู้อยากใช้ฟ้อนต์นี้

เงื่อนไขการใช้งานฟ้อนต์ Sukhumvit Set คือ Apple ซื้อให้เราๆ ท่านๆ ใช้ทำงานอะไรก็ได้ เช่น พิมพ์งาน, โปสเตอร์, ตัวอักษรในไฟล์ภาพ ฯลฯ โดยผลงานต้องถูกสร้างบน OS X Yosemite เท่านั้น หรือถ้าไม่ได้ใช้ OS X Yosemite แต่คุณซื้อฟ้อนต์มาถูกลิขสิทธิ์ก็ใช้งานได้เช่นกัน แต่ฟ้อนต์ต้องไม่ถูกคัดลอกออกไป (เช่น ใส่ในไฟล์ PDF, ใช้กับข้อความที่เป็นตัวอักษรบน Server ที่ต้องแคชไฟล์ฟ้อนต์ไว้, คัดลอกไปใส่เครื่องอื่น) หากบริษัทคัดสรรดีมาก เจ้าของลิขสิทธิ์ตรวจพบการใช้ฟ้อนต์ผิดเงื่อนไขสามารถฟ้องร้องได้ – Siampod

Dark mode

Apple จัดให้คนชอบธีมดำด้วย Dark Mode ที่ดำทั้ง Menu Bar, Dock, Spotlight (แต่หน้าต่างยังสีเดิม) ซึ่งข้อนี้ดูเป็นทางเลือกมากกว่า สำหรับคนที่ไม่ชอบก็จัดธีมสีขาวเหมือนเดิมต่อไปวิธีเปิด Dark Mode ให้ไปที่ System Preferences -> General -> Use dark menu bar and Dock.

Dic ภาษาไทย

Apple เพิ่ม Dictation ภาษาไทยให้ OS X Yosemite เหมือนบน iOS 8 เป็นแบบ Live Dictation คือเมื่อเราพูดแล้วข้อความจะปรากฏบนหน้าจอในเวลาไม่นานนัก (ถ้าไม่ใช่ Live ต้องรอให้พูดจบก่อนข้อความจึงปรากฏ) ซึ่งจากที่ทดสอบมาก็นับว่าแม่นมากถ้าไม่เจอคำแปลกๆ พิสดาร ลองดู iOS 8 เป็นตัวอย่างครับ วิธีการทำงานไม่ต่างกัน

วิธีเปิด Dictation ภาษาไทยบน OS X ให้ไปที่ Settings -> Dictation & Speech ติ๊กตรง Use Enhanced Dictation หลังจากนั้นเปิดช่อง Language กดแท็บ Customize แล้วติ๊กถูกภาษาไทย โดยจะต้องดาวน์โหลดไฟล์ขนาดใหญ่พอสมควรก่อนเริ่มต้นใช้งาน โดยวิธีใช้งาน เพียงกดปุ่ม fn สองครั้ง ก็จะขึ้นรูปไมค์ ให้อยู่ห่างจากไมโครโฟนของเครื่องในระยะหนึ่งแล้วจึงพูด พอพูดเสร็จให้กดปุ่ม fn รูปไมค์ก็จะหายไป

 

ขอบคุณขอมูลและรูปภาพจาก Mac thai ด้วยครับ

at GlurGeek.Com
ทีมวิจัย และ พัฒนา Mobile print ทีมแรก และ ทีมเดียวใน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

Leave a Reply

© 2022 GlurGeek.Com
Exit mobile version