Phototherapy ลำแสงพิฆาตโรคตัวเหลือง

รูปจาก http://www.legendnews.net/

สาเหตุ

ภาวะตัวเหลือง เป็นภาวะที่พบได้ค่อนข้างบ่อยในทารกแรกเกิด โดยพบได้ถึง 25-50% ของทารกแรกเกิดทั้งหมดเลยทีเดียว ภาวะตัวเหลืองนี้เกิดจากสารที่มีชื่อว่า บิลิรูบิน (Bilirubin) ซึ่งเป็นสารที่มีสีเหลือง ในทารกปกติ จะมีสารบิลิรูบินนี้จะมีอยู่ในปริมาณที่พอเหมาะ แต่ในทารกที่มีภาวะตัวเหลืองจะมีสารบิลิรูบินในปริมาณที่มากกว่าปกติ โดยจะอยู่ทั้งในกระแสเลือดและแทรกตามเนื้อเยื่อต่างๆทำให้เรามองเห็นว่าทารกมีผิวสีเหลืองขึ้น

 

สารบิลิรูบินนี้ ส่วนใหญ่เกิดจากการสลายตัวของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง โดยการสลายตัวของฮีโมโกลบิน 1 กรัม จะได้สารบิลิรูบิน 35 มิลลิกรัม ในระหว่างที่ทารกอยู่ในครรภ์ของมารดา บิลิรูบินของทารกส่วนใหญ่จะผ่านทางรกเข้าสู่ระบบไหลเวียนโลหิตของมารดาและถูกกำจัดที่ตับของมารดา แต่เมื่อคลอดออกมาแล้ว ทารกจะต้องทำการกำจัดบิลิรูบินทางตับของตนเอง

ภาวะตัวเหลืองทำให้เกิดผลเสียอะไร

ในกรณีที่ระดับบิลิรูบินสูงมาก อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทางสมอง (Kernicterus) ซึ่งจะทำให้เกิดการชักและมีการทำลายเนื้อสมองอย่างถาวร นอกจากนี้ยังพบว่า 25% มีโอกาสที่จะเกิดภาวะ I.Q. ต่ำ หรือ ความฉลาดลดลงได้ รวมถึงอาจเกิดภาวะการได้ยินผิดปกติ (Sensori neural hearing loss) ได้อีกด้วย

 

ป้องกันได้ไหม

การให้นมทารกอย่างถูกต้อง คือ ต้องให้เร็ว ให้นมตั้งแต่อยู่ในห้องคลอด และ ต้องให้บ่อย คือ ประมาณ 10 – 12 ครั้งต่อวัน โดยไม่ให้น้ำหรืออาหารอื่นเสริม เนื่องจากจะทำให้ทารกกินนมได้น้อยลง การกระตุ้นให้ทารกถ่ายขี้เทา ก็จะช่วยป้องกันภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดได้

 

รูปจาก http://criglernajjar.altervista.org/

รักษาอย่างไร

การรักษาภาวะตัวเหลืองนั้น ต้องรักษาตามสาเหตุเป็นหลัก ร่วมกับการลดระดับบิลิรูบินลง โดยการเพิ่มการกำจัดบิลิรูบินออกจากร่างกาย เช่น การส่องไฟรักษา หรือ นำบิลิรูบินออกจากร่างกายโดยตรง เช่น การเปลี่ยนถ่ายเลือด เป็นต้น

ส่วนภาวะเหลืองจากนมแม่นั้น อาจทำการรักษาโดยการงดนมแม่และให้นมผสมแทนชั่วคราว ประมาณ 24 ชั่วโมง โดยอาจรักษาร่วมกับการส่องไฟด้วยหรือไม่ก็ได้ ซึ่งก็จะพอเพียงที่จะทำให้ระดับบิลิรูบินลดลง หลังจากนั้นสามารถให้นมแม่ต่อไปได้ โดยระดับบิลิรูบินมักไม่สูงขึ้นเท่าเดิม

 

รูปจาก https://mir-s3-cdn-cf.behance.net/

 

ความปลอดภัย

โดยเครื่องฉายแสงนั้น จะมีความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมรอบข้างโดย แม่เด็กสามารถ ดูแลได้อย่างใกล้ชิดโดยไม่มีอันตราย

 

รูปจาก  http://news.siamphone.com/

 

สามารถดูค่าต่างๆภายในโทรศัพท์ หรือ คอมพิวเตอร์ผ่านอิเตอร์เน็ทได้ เพื่อการดูแลที่สะดวกสบายของ หมอและพยาบาล

 

รายชื่อผู้จัดทำ

นาย ปฐวี หลิ่วพงศ์สวัสดิ์ 1550900607

นาย พรชัย พรหมดวง 1550900490

นาย ธีรพงศ์ วงศ์บุญมา 1550901050

pornchai promduang on sabfacebook
pornchai promduang
at GlurGeek.Com
รู้ บางอย่าง...อาจทำให้เสียใจ
ไม่รู้ บางอย่าง...อาจทำให้สบายใจ
แต่ “ยังไม่รู้” เมื่อรู้บางอย่าง...แต่ไม่รู้ต้องทำยังไง

แต่ถ้าอยากรู้ เรื่อง Phototherapy ให้ถามผม

Leave a Reply

© 2022 GlurGeek.Com