Kanban
Kanban อ่านว่า คัมบัง มาจากภาษาญี่ปุ่น แปลว่า ป้าย หรือ สัญญาณ
คัมบัง เป็นแนวคิดที่มีการพัฒนาขึ้นมาโดย โตโยต้า เมื่อประมาณ 75 ปีที่แล้ว
มีลักษณะเป็นการแบ่งงานออกเป็นย่อยๆ มีการกำหนดขั้นตอนให้เหมาะสมกับการปฏิบัติงาน
เพื่อกำหนดเวลาการทำงานให้น้อยที่สุด และในปัจจุบันได้มีการนำแนวคิดนี้
มาใช้กับการทำงานในด้านอื่นๆ รวมไปถึงงานด้านซอฟต์แวร์ด้วย
การนำคัมบังมาใช้ในงานด้านซอฟต์แวร์นั้น คือ เราจะสร้างตารางการทำงานขึ้นมา
โดยจะเป็นการเน้นในเรื่องของการพัฒนา Software เป็นหลัก เป็นเครื่องมือที่จะเข้ามาช่วย
บริหารงานในกระบวนการ เดิมของเรา อธิบายง่ายๆ ก็คือทำกระบวนการพัฒนาซอฟแวร์
ที่เราใช้อยู่ขณะนี้ ให้ไปแสดงอยู่บนตาราง Kanban โดยมีหลักการ ดังนี้
- Visualize the workflow – แสดงการทำงานของระบบให้เห็นภาพชัดเจน
สามารถบอกได้ว่าขณะนี้งานไปติดขัดที่จุดไหน - Limit Work-In-Progress (WIP) – กำหนดขีดจำกัดปริมาณของงานที่ได้รับอนุญาต
ให้ทำได้ในแต่ละขั้นตอน เพื่อป้องกันไม่งาน Overload มากเกินไป จะทำให้เสียเวลา - Make Policies Explicit – สร้างนโยบายที่ทุกคนจะต้องปฏิบัติตามอย่างชัดเจน
- Measure and Manage Flow การวัดผลและจัดการการไหลของกระบวนการ
เพื่อนำข้อมูลเพื่อมาใช้ในการตัดสินใจ ทำให้เห็นผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นต่อไป - Identify Improvement Opportunities พัฒนางานให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องกับงานของทุกคน
จากภาพตัวอย่างของกระดาน Kanban
– แสดงให้เห็นกระบวนการทั้งหมดของระบบ (Visualize Work)
– มีการกำหนด WIP limit
– นโยบายถูกกำหนดชัดเจน (Policies Explicit) เพื่อให้เกิดคุณภาพของงาน
เพื่อกระบวนการถัดไปดึงไปทำต่อได้
– ที่คอลัมน์สุดท้ายจะเห็นว่า ไม่ได้กำหนดค่า WIP limit ไว้ แต่ได้เขียนเวลาที่ได้
ตกลงส่งมอบงานพร้อมกัน ในทุกๆวันอังคาร เวลา บ่าย 3 โมง
ประโยชน์ของ Kanban
- มีขั้นตอนการทำงานกำหนดไว้อย่างชัดเจน
- รู้สถานะของงานว่าอยู่ในขั้นตอนไหนอย่างชัดเจน
- มีการกำหนดงานและแบ่งงานให้กับคนในทีมอย่างเป็นระบบ
- ทำให้คนในทีมพูดคุยกันมากขึ้นในเรื่องงานเมื่อเจอปัญหาในขั้นตอนต่างๆ
Credit ::
http://blog.levelup.in.th/
https://medium.com