สอนการเขียน Component Diagram ง่ายๆ พร้อมทั้งตัวอย่าง ระบบ TalkDuino!!




uml-component-diagram

บทความนี้จะพูดถึง Component Diagram ซึ่งเป็นแผนภาพที่แสดงโครงสร้างและความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบ (Components) ต่างๆของ Software ซึ่งองค์ประกอบดังกล่าวอาจเป็น Source Code, Executable Program, Binary รวมถึง Text และ User Interface

 

ประโยชน์ที่สำคัญของ Component Diagram

คือสามารถแบ่งระบบงาน (System) ขนาดใหญ่ออกเป็นระบบย่อยๆ (Subsystem) ซึ่งแต่ละ Subsystem ก็จะมี Component ต่างๆ ประกอบอยู่ การแบ่งระบบออกเป็น Subsystem เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปแล้วว่า สามารถทำให้การพัฒนาระบบมีประสิทธิภาพและสนับสนุนหลักการพัฒนาระบบงานแบบเป็นทีมงานที่สามารถแบ่งส่วนย่อยต่างๆ ให้แต่ละส่วนงานย่อยไปรับผิดชอบได้



การเขียนและออกแบบ Component Diagram มีรายละเอียดดังนี้

Component Diagram จะมีลักษณะคล้ายคลึงกับ Class Diagram และ Use Case Diagram โดยสัญลักษณ์ที่ใช้สำหรับ Diagram ประเภทนี้ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

  1. สัญลักษณ์แทน Component
  2. สัญลักษณ์แทน Link หรือ Relationship ระหว่าง Component

สัญลักษณ์ที่ใช้แทน Component ต่างๆ มีดังนี้

  1. โปรแกรมที่สามารถนำไปประมวลผลได้ (Executable Program)
  2. ไฟล์ หรือ Source Code
  3. ฐานข้อมูล (Database)
  4. ชุดข้อมูลในฐานข้อมูล (เช่น Table ใน Relational Database)

สัญลักษณ์ที่ใช้แทน Links มีดังนี้

  1. สัญลักษณ์การเรียกใช้งานหรือการขึ้นต่อกัน (Calls, Uses หรือ Dependency)
  2. สัญลักษณ์แสดงการเชื่อมโยงหรือเชื่อมต่อ (General Connection) เช่น การเชื่อมโยงด้วยระบบเครือข่ายหรือ Internet
  3. สัญลักษณ์แสดงการเป็นส่วนประกอบ (Aggregation)

ssssssssssss

 

ตัวอย่าง Component Diagram ของระบบ  TalkDuino

ก่อนจะพูดถึง Component Diagram ของระบบ TalkDuino เรามารู้จัก TalkDuino คืออะไรก่อนนะครับ..



TalkDuino คือ ต้นแบบโมดูลการสั่งงานอาดูโนด้วยเสียงผ่านแอนดรอยด์แอปพลิเคชั่น ที่ออกแบบมาเพื่อให้ง่ายต่อการนำไปพัฒนาต่อยอดผลงานของผู้สนใจ โดยผู้เขียนได้มีการออกแบบพัฒนาผลงานเป็น ต้นแบบโมดูลให้ครอบคลุมโมดูลพื้นฐานของอาดูโน เช่น โมดูลการสั่งงานมอเตอร์ด้วยเสียง โมดูลการสั่งงาน LED-RGB ด้วยเสียงและโมดูลการสั่งงานชุดรีเลย์ด้วยเสียง เป็นต้น

โดยทั้ง 3 โมดูล ดังกล่าวมาแล้ว จะสั่งงาน ผ่านแอนดรอยด์แอปพลิเคชั่น ซึ่งมีการจัดเก็บข้อมูลโมเดลของระบบรู้จำเสียง ที่ได้มีการวิจัย พัฒนาและปรับปรุง ประสิทธิภาพให้เหมาะสมกับงานทางด้านการสั่งงานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ด้วยเสียงไว้แล้ว โดยการพัฒนาโมดูล การสั่งงานอาดูโนด้วยเสียงผ่านแอนดรอยด์แอปพลิเคชั่น (Development of Voice-Controlled Arduino Framework)

 



ผู้อ่านสามารถเข้าไปอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่บทความ : สร้างนวัตกรรมของคุณง่ายๆ ด้วยเสียง!! ผ่านทางบอร์ดคอนโทรลเลอร์ ด้วย Project TalkDuino !!

” Component Diagram for TalkDuino System “

dsfsdf

 

TalkDuino System สามารถแสดงด้วย Component Diagram ดังรูปด้านบน ซึ่งระบบจะประกอบไปด้วย Google API ชื่อ API ซึ่งประกอบด้วย Feature จำนวน 3 อย่าง คือ SST API, TTS API และ M API ซึ่ง Component ทั้ง 3 นั้นจัดเป็น File ซึ่งจะต้องอ่านด้วย (หรืออีกนัยหนึ่งคือ ขึ้นอยู่กับ หรือถูกเรียกโดย) Android Application ซึ่งจัดเป็น Executable Program

 

ชมคลิปอธิบายประกอบ : Component Diagram For TalkDuino

อ้างอิง :



Chaiwat Luecha on sabfacebook
Chaiwat Luecha
at GlurGeek.Com
โต้ง ชัยวัฒน์ ลือชา กลางวันเป็นนักเขียนโปรแกรม (Programmer) กลางคืนเป็นนักอ่านและนักเขียน มีงานอดิเรกเป็นนักคิด และตอนนี้กำลังฝึกเป็นนักขีดเขียนชะตาชีวิตของตัวเอง

Leave a Reply

© 2022 GlurGeek.Com