Class Diagram แบบง่าย ๆ ที่ใคร ๆ ก็ทำได้



                หลายคนอาจยังสงสัย ? ว่า Class Diagram เป็นยังไงและ Class Diagram คืออะไร ?

    Class Diagram คือ แผนภาพที่ใช้แสดง Class และความสัมพันธ์ในแง่ต่างๆ(Relation) ระหว่าง Class เหล่านั้น ซึ่งความสัมพันธ์ที่กล่าวถึงใน Class Diagram นี่ถือเป็นความสัมพันธ์เชิงสถิตย์ (Static Relationship) หมายถึงความสัมพันธ์ที่มีอยู่แล้วเป็นปกติในระหว่าง Class ต่างๆ ไม่ใช่ความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นเนื่องจากกิจกรรมต่างๆ ซึ่งเรียกว่าความสัมพันธ์เชิงกิจกรรมกิจกรรม( Dynamic Relationship) สิ่งที่ปรากฎใน Class Diagram นั้นประกอบด้วยกลุ่มของ Class และกลุ่มของ Relationship โดยสัญลักษณ์ที่ใช้ในการแสดง Class นั้นจะแทนด้วยสี่เหลี่ยมแบ่งออกเป็น 3 ส่วน โดยแต่ละส่วนนั้น (จากบนลงล่าง) จะใช้ในการแสดง ชื่อของ Class,Attribute และฟังค์ชั่นต่างๆตามลำดับ

สัญญลักษณ์ Class ประกอบด้วย

  1. Class Name คือ ชื่อของ Class
  2. Attributes คือ คุณลักษณะของ Class
  3. Operations หรือ Methods คือ กิจกรรมที่สามารถกระทำกับ Object นั้นๆได้

Drawing1

สัญลักษณ์ Visibility

Private แทนด้วย – หมายถึง Attribute หรือ ฟังก์ชัน ที่ไม่สามารถมองเห็นได้จากภายนอก

Public แทนด้วย + หมายถึง Attribute หรือ ฟังก์ชัน ที่สามารถมองเห็นได้จากภายนอก และสามารถเข้าไปเปลี่ยนค่า อ่านค่าหรือเรียกใช้งาน Attribute หรือ ฟังก์ชัน ได้

Protected แทนด้วย # หมายถึงสงวนไว้สำหรับการทำ Inheritance โดยเฉพาะโดยปกติจะเป็นของ Super class เมื่อทำ inheritance แล้ว Attributes และ Operations เหล่านี้จะเป็นได้ทั้ง Private หรือ Protect ซึ่งขึ้นอยู่กับภาษาที่ใช้



ความสัมพันธ์ระหว่าง Class (Class relationship) แบ่งออกได้เป็นรูปแบบต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

1. การสืบทอดคุณสมบัติ (Generalization)

ความสัมพันธ์เชิงโครงสร้าง อธิบายการเชื่อมโยงระหว่างวัตถุ อาจใช้กำหนดความสัมพันธ์ แบบ one to many หรือ one to one เป็นต้น หรืออาจใช้เพื่อแสดงความเชื่อมโยงวัตถุเท่านั้น ความสัมพันธ์อีกอย่างคือ Aggregation ใช้อธิบายความสัมพันธ์ของวัตถุทั้งหมด กับวัตถุบางส่วน เช่นความสัมพันธ์ของลูกค้ากับใบสั่งซื้อ แบบ one to many

 

association01

 

 

2. การเป็นส่วนหนึ่งของ (Aggregation)

เป็นความสัมพันธ์  Association แบบหนึ่ง(แบบพิเศษ) คือObject หนึ่งมี Objectsอื่นๆเป็นส่วนประกอบอาจเรียกว่า   whole-part  relationship(ทั้งหมด-ส่วนประกอบ)ซึ่งมักจะใช้ค่ำว่า consists of , contains ,  is part of เช่น Car มี Engine และwheels เป็นส่วนประกอบ

 

1

 

3. การเป็นองค์ประกอบของ (Composition)

เป็นความสัมพันธ์ระหว่าง Object หรือ Class แบบขึ้นต่อกันและมีความเกี่ยวข้องกันเสมอ โดยจะมี Class ซึ่งเป็นองค์ประกอบของ Class อื่นที่ใหญ่กว่า เมื่อ Class ที่ใหญ่กว่าถูกทำลาย Class ที่เป็นองค์ประกอบก็จะถูกทำลายไปด้วย

 

composition

 

4. ความเกี่ยวข้องกัน (Association)

ความสัมพันธ์ทั่วไป (Associate) เป็นความสัมพันธ์ที่ไม่มีการระบุผลของการสืบทอด และการเป็นส่วนหนึ่งของ Class ที่สัมพันธ์ด้วย  แต่ Class นั้นจะสัมพันธ์กันในด้านอื่นๆ  และเป็นความสัมพันธ์ในระดับเดียวกัน (ไม่มี Class ใด สำคัญกว่า Class ใด )

 

sdsd

ลูกค้าอาจมีหลายใบสั่งซื้อแต่ใบสั่งซื้อเกิดจากลูกค้าคนเดียว



 

ตัวอย่าง 1 Class Diagram ในระบบธนาคาร

 

Drawing1 (1)

 

ตัวอย่าง 2 Class Diagram ของระบบคนไข้

 

image031

 

ส่วนอันนี้จะเป็นตัวอย่างที่เอามาให้ดูกันนะครับ เป็น Shopping System

classdiagram1

ขอบคุณที่เข้ามาอ่านกันนะครับ หวังว่าคงได้อะไรกับไปบ้างนะครับ ถ้าผิดตรงไหนก็ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ

Reference : http://bloger-classdiagram.blogspot.com/p/class-diagram.html

ศึกษาเพิ่มเติมได้ทาง



apichet jaiyim
at GlurGeek.Com

1 Comment

Leave a Reply

© 2022 GlurGeek.Com