Array ภาษา Java

 

1

 

Dimensional and Dimensional Arrays

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอาร์เรย์(Introduction to Arrays)

  1. ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับอาร์เรย์
  • อาร์เรย์ (Arrays) คือ โครงสร้างข้อมูลประเภทหนึ่งที่ใช้เก็บรายการของข้อมูลประเภทเดียวกัน โดยเก็บ ข้อมูลทั้งหมดเรียงติดต่อกันไปในหน่วยความจํา เสมือนนําข้อมูลมาเก็บใน “ช่อง” ที่วางเรียงกัน
  • อาร์เรย์ 1 ชุด จะมีชื่อของอาร์เรย์ กํากับและมีหมายเลขช่องที่ระบุตําแหน่ง (Index) ของข้อมูลในอาเรย์แต่ ละตัวหรือระบุตําแหน่งสมาชิกของอาร์เรย์ชุดนั้น ซึ่งจะเริ่มต้นที่ตําแหน่ง 0 (Index 0)
  • ขนาดหรือความยาวของอาร์เรย์คือจํานวนสมาชิกหรือจํานวนค่าที่เก็บไว้ในอาร์เรย์ชุดนั้น

2. รูปแบบของอาร์เรย์

1

เป็นอาร์เรย์ที่ชื่อว่า A มีขนาดหรือความยาวเท่ากับ 10 โดยมีตําแหน่งตั้งแต่ 0-9 (Index 0-9)

2

 

 การประกาศและสร้างอาร์เรย์ และการใช้งานอาร์เรย์

1. การประกาศและสร้างอาร์เรย์ 1 มิติ

– การประกาศตัวแปรอาร์เรย์ 1 มิติ

3

– การสร้างอาร์เรย์ 1 มิติ

4

-อาร์เรย์ที่ได้

5

– การประกาศและสร้างอาร์เรย์ 1 มิติ โดยรวมวิธีการของข้อ 1 ) และข้อ 2) ข้าด้วยกัน

6

-ข้อสังเกต

  •  การประกาศตัวแปรอาร์เรย์ไม่ได้เป็นการสร้างตัวอาร์เรย์
  •  ขนาดของอาร์เรย์ถูกกําหนดตอนสร้างตัวอาร์เรย์
  • ขนาดของอาร์เรย์เป็นค่านิพจน์ก็ได้ เช่น data = new int [3*n + 1] เป็นต้น
  • อาร์เรย์ที่สร้างขึ้นไม่สามารถเพิ่มหรือลดขนาดได้ (สร้างแล้วต้องใช้อย่างเดิมตลอดไป)
  • ระบบจะตั้งคาเริ่มต้นของข้อมูลในอาร์เรย์โดยอัตโนมัติ

 

 2.การประกาศและสร้างอาร์เรย์ 2 มิติ

-การประกาศตัวแปรอาร์เรย์ 2 มิติ

7

-การสร้างอาร์เรย์ 2 มิติ

  1.  สร้างแถวของอาร์เรย์

1

2. สร้างคอลัมน์ของอาร์เรย์

2

3. อาร์เรย์ที่ได้จากข้อ 1 และข้อ 2

3

4.การประกาศและสร้างอาร์เรย์ 2 มิติ โดยรวมวิธีการของข้อ 1 และข้อ 2  เข้าด้วยกัน

4

5.อาร์เรย์ที่ได้จากข้อ 4

1

 

การประกาศและสร้างอาร์เรย์ 2 มิติ

การหาขนาดของอาร์เรย์ ให้เติม .length หลังชื่อตัวแปรอาร์เรย์ได้เลย (อย่าไปจําสับสนกับเมท็อดที่ใช้หาความยาวของ String ที่ชื่อว่า .length() เหมือนกัน) ดังตัวอย่าง

2

 

การเรียกใช้งานการดําเนินการกับอาร์เรย์จากคลาสมาตรฐาน Arrays

1) ก่อนเรียกใช้งาน จะต้องทําการกําหนดคําสั่ง import java.util.Arrays; ไว้เหนือคลาส

2) Array.sort เป็นการเรียงลําดับข้อมูล

3

 

3) Arrays.binarySearch เป็นการค้นข้อมูล (ข้อมูลในอาร์เรย์ต้องเรียงลําดับแล้ว)

4

Arrays.binarySearch จะคืนค่าตําแหน่ง (Index) ของสมาชิกในอาร์เรย์ที่มีค่าตรงกับ Keyword ที่ต้องการ

 

4) Arrays.equals ทําการตรวจสอบว่าอาร์เรย์สองแถว (สองชุด) มีค่าเท่ากันหรือไม่ (อาร์เรย์ที่นํามาเปรียบเทียบจะต้องเป็นอาร์เรย์ 1 มิติเท่านั้น)

1

Arrays.equals จะคืนค่าผลลัพธ์ออกมาเป็นค่าความจริง True หรือ False

 


CODE ตัวอย่าง

  • ลองทำการทดลองโดยการพิมพ์ CODE ตามดังนี้

 

1

  • ผลที่ได้คือ

2

 

  • แผนภาพความคิด

1

 

จากบทความนี้สามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในการสร้างโปรแกรมอื่นได้ เช่น โปรแกรมการบวกเลขทศนิยม

CODE PROGRAM

1

 

ผลที่ได้คือ

1

 

จากบทความนี้ให้เราได้รู้เกี่ยวกับความรู้เบื้องต้นในการสร้าง Array ภาษา Java ทั้งอาร์เรย์ 1 มิติ และอาร์เรย์ 2 มิติได้อย่างถูกต้อง มีตัวอย่าง Code และโปรแกรมที่ใช้อาร์เรย์ประยุกต์ เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาอีกทั้งสามารถนำความรู้นี้ไปใช้ได้อย่างถูกต้องอีกด้วย ดังนั้นจึงมีวิดีโออธิบายเกี่ยวกับโปรแกรมนี้ สามารถรับชมได้ที่ลิ้งค์ด้านล่างค่ะ

1207000002     https://www.youtube.com/watch?v=PHcv9jA6uRc     1207000002

**หมายเหตุ : สามารถแนะนำหรือติชมได้ที่ช่องแสดงความคิดเห็นเพื่อนำไปพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น ขอบคุณค่ะ**


รายชื่อผู้พัฒนา

นางสาวรัชนีวรรณ  กอวิรัตน์  1570901288

นางสาวศิริพร  จตุรภุช  1570900728

นางสาววรณัน  รักสนิท  1570900769

นางสาวรสรินทร์  พนิตวงศ์  1570901098

Rossarin Phanitwong
at GlurGeek.Com
Hi!! สวัสดีค่ะ ชื่อจอย ตอนนี้เรียนอยู่ที่ มหาวิยาลัยกรุงเทพ คณะวิศวะสาขาคอมพิวเตอร์ปี 4 ค่ะ ในอนาคตอยากเป็น Admin Game ตอนนี้มาตามความฝันได้ครึ่งทางแล้ว ส่วนตัวเป็นคนงง ๆ เพื่อนชอบบอกว่าคุยด้วยไม่รู้เรื่องแต่ตอนนี้ก็พอเข้าใจแล้วว่าไม่รู้เรื่องยังไง เวลาว่างชอบฟังเพลงสากลค่ะถึงแม้จะไม่รุ้ความหมายก็ตามแต่ก็ฟัง สิ่งที่บ่งบอกตัวเองคือความสูงกับความโคร่ง ก็ประมาณนี้ค่ะ

Leave a Reply

© 2022 GlurGeek.Com