ข้อ 1.2 แนวคิดเกี่ยวกับการ
เขียนโปรแกรมแบบ OOP (Object-Oriented Programming)

ในช่วงปลายของยุคของการเขียนโปรแกรมเชิงโครงสร้าง งานของโปรแกรมในยุคสมัยนั้นเริ่มจะมีการจัดการข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญ เช่น งานทะเบียน งานวิจัยที่เก็บข้อมูลหลายๆครั้งนำมาเทียบกัน การทำเกมก็มีการควบคุมข้อมูลต่างๆเพื่อนำไปคำนวนและแสดงผล เมื่อมีข้อมูลซับซ้อนขึ้น ทำให้เกิดการสร้างกลุ่มก้อนข้อมูลขึ้นมาใช้ในโปรแกรม ซึ่งการทำงานกับกลุ่มก้อนข้อมูลที่มีระเบียบเหล่านี้ทำให้การเขียนโปรแกรมเหมาะสมกับงาน จึงได้มีการพัฒนารูปแบบการเขียน จากที่ให้การทำงานของโปรแกรมเป็นตัวควบคุมกลุ่มก้อนข้อมูล ก็ให้กลุ่มก้อนข้อมูลเหล่านั้นเก็บความสามารถในการควบคุมข้อมูลเอาไว้ในตัวมันเอง กลุ่มก้อนข้อมูลในยุคของการเขียนโปรแกรมเชิงโครงสร้างก็คือ Struct ซึ่งจะเป็นการเขียนโครงสร้างของข้อมูลเป็นวัตถุอย่างคร่าวๆ โดยเป็นการเขียนว่า วัตถุชิ้นหนึ่ง จะมีคุณสมบัติอะไรอยู่ในตัวมันบ้าง และก็สร้างวัตถุขึ้นมาจาก struct เพื่อใช้ในโปรแกรม ในโปรแกรมก็จะมีการเขียนฟังค์ชั่นต่างๆเพื่อการควบคุมวัตถุที่จะสร้างมาจากสตรัคต์เหล่านั้น การพัฒนาจาก struct ขึ้นมาเป็น class ก็เป็นการนำเอาฟังค์ชั่นการทำงานทั้งหมดเหล่านั้นไปเก็บไว้ในตัววัตถุ และเรียกใช้ออกมาจากตัววัตถุ หลังจากนั้นก็มีการสร้างแนวคิดของการเขียนโปรแกรมแบบ OOP ขึ้นมา
แนวคิด
หลักการของ OOP (ที่เรียกกันว่า Object Oriented Concept หรือ OOC) คือ การมองหน่วยต่าง ๆ ของภาษาโปรแกรม (Entity) ให้เป็นวัตถุ (Object) ดั่งเช่นที่มนุษย์ปุถุชนธรรมดามองสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันเป็นวัตถุ
วัตถุ (Object) จะถูกสร้างขึ้นจาก class (หมายถึงแม่แบบ) ดังตัวอย่าง มี class มนุษย์ผู้ชาย นาย ก.เป็นมนุษย์ผู้ชาย
นั้นหมายถึงกำหนดว่า จะมีรูปแบบของ “มนุษย์ผู้ชาย” และ กำหนดให้มี Object “นาย ก.” เป็น “มนุษย์ผู้ชาย” ในทางโปรแกรมจะถือว่า Object ‘ก.’ เป็น Instance(สิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาจากแม่แบบ) ของ Class “มนุษย์ผู้ชาย”
เครดิต :: https://srisunthorn.wordpress.com/2013/03/13/1056/
การทำงานของ Flowchart


SOURCE CODE : :

#include<iostream>
int main() { std::cout << "This is a simple program that outputs some text. " << std::endl; std::cout << "You can output more lines of text" << std::endl; std::cout << "just by repeating the output statement like this. " << std::endl;
return(0);
}
อธิบายการทำงานของ :: SOURCE CODE
#include<iostream> = เป็นการ import คำสั่ง
cout = คือ คำสั่งprint
This is a simple program that outputs some text. = คือส่วนที่ต้องการให้พิมพ์ออกมาหรือ Run
You can output more lines of text” = คือส่วนที่ต้องการให้พิมพ์ออกมาหรือ Run
just by repeating the output statement like this. = คือส่วนที่ต้องการให้พิมพ์ออกมาหรือ Run
endl = เว้นบรรทัดลงมา
จากการทดลอง(OUTPUT)


By ธนวิชญ์ บุตรโคตร
ทำได้ดีมากครับบ
เข้าใจง่ายจัง