คนส่วนใหญ่เมื่อได้ยินคำว่า Code ก็จะนึกภาพถึงการเขียน Code ยาวๆหลายๆบรรทัด หรือหน้าจอ Command line ดำๆกับตัวอักษรเยอะๆ ดูแล้วเหมือนภาษาต่างดาว รวมถึงตัวผู้เขียนเองที่ เมื่อเขียนโค๊ดไปนานๆเข้าก็จะลืมสนใจหน้าตาของโปรแกรมจนทำให้หน้าตาโปรแกรมออกมาเป็นแบบนี้
หรือหนักกว่านี้ ซึ่งวันนี้เรามีวิธีแก้โดยการเพิ่มความสวยงามเข้าไปใน Code ของเราให้มีชีวิตชีวามากขึ้นด้วยการเว้นบรรทัดหรือเติมสีแต่งตัวอักษรอะไรก็แล้วแต่
พื้นฐานเขียน Code เบื่องต้น
การที่เราต้องการแสดงผลอะไรซักอยางบนหน้าจอ Console ของเราต้องเริ่มใช่คำสั่งง่ายๆอยาง printf เสียก่อน ส่วนวิธีใช้นั้นแสนง่ายเพียงแค่พิมพ์
แน่นอนว่าไม่ได้มีแค่เพียง printf เท่านั้นที่ใช้แสดงผลออกมาได้ยังมี cout อีกตัวที่ทำได้เช่นกันแล้วแต่คนถนัด ถ้าถามว่า 2ตัวนี้ต่างกันยังไง ก็คงต่างกันแค่วิธีใช้ครับ (ส่วนตัวผมชอบ cout มากกว่า)
เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง printf และ cout
จะเห็นได้ว่า cout จะแอบยาวกว่าในขั้นตอนแรก แต่ขั้นตอนการเขียนใน function main จะง่ายกว่า ซึ่งถ้าเราใช้เขียน Code มากๆเข้า cout ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีเช่นกัน
เมื่อเรารู้จักวิธีการ print ข้อความกันแล้วเราก็ต้องรู้วิธีควบคุมข้อความของเราไม่ให้ต่อติดกันยาวบรรทัดเดียวแบบที่หลายๆคนกำลังเป็นปัญหากันอยู่
วิธีแก้ก็ไม่ยากเช่นกันเพียงแต่เติม Code พวกนี้ลงไปในข้อความ
Code พวกนี้จะไม่แสดงผลเหมือนข้อความปกติแต่จะทำงานตามหน้าที่ของมันเช่นถ้าเราใส่ไว้ตรงส่วนไหนของข้อความมันก็จะทำตามนั้น
#จบพื้นฐาน
ต่อมาจะเป็นทางด้านของการตกแต่ง
วิธีปรับขนาดหน้าต่าง Console
ใช้ system(“mode Y, X”); //X คือขนาดความกว่าง ส่วน Y คือความสูง อยากได้ขนาดเท่าไหร่เปลี่ยนได้ตามใจชอบเลย
วิธีเปลี่ยนสี Font และ Background
ใช้ system(“COLOR AB”); //A คือสีพื้นหลัง และ B คือสีตัวอักษร และจะต้องไม่เป็นตัวเลขทั้ง2ตัว เช่น 1A หรือ B2 ส่วน Code สีเลือกได้ตามตารางด้านล่าง
0 = Black
1 = Blue
2 = Green
3 = Aqua
4 = Red
5 = Purple
6 = Yellow
7 = White
8 = Gray
9 = Light Blue
A = Light Green
B = Light Aqua
C = Light Red
D = Light Purple
E = Light Yellow
F = Bright White
ตัวอย่างโปรแกรม Portfolio
สามารถดาวน์โหลดเป็น Source Code เพื่อไปศึกษาหรือทดสอบด้วยตัวเองได้ที่ลิ้งค์นี้:https://drive.google.com/file/d/0B3gfGEwx-9eeSUtWOEtDU2FUVTA/view?usp=sharing