[Tableau Project for Statistics] รายได้เฉลี่ย และค่าใช้จ่ายต่อครัวเรือนไทย ปีค.ศ. 2006 – 2016

วันนี้เราจะมาแสดงรายได้เฉลี่ย และค่าใช้จ่ายต่อครัวเรือนโดยใช้โปรแกรม Tableau 

ข้อมูลที่ใช้ >> Table

ในไฟล์จะประกอบด้วยข้อมูลดังนี้

  • ปี
  • ภาค
  • จังหวัด
  • รายได้
  • หนี้สิน
  • สัมประสิทธ์
  • รายจ่าย
  • Region and province out

YouTube Preview Image

เปรียบเทียบรายได้ รายจ่าย หนี้สินต่อภาค

จากกราฟจะแสดงภาพรวมแสดงให้เห็นรายได้ รายจ่าย หนี้สินแต่ละภาค โดยที่ตอนพิเศษ จะมีรายได้ รายจ่าย หนี้สิน สูงที่สุด ตามมาด้วย ภาคใต้ ภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่รายจ่ายของภาคเหนือน้อยที่สุด ยอดคงเหลืองของตอนพิเศษมากที่สุด

นายวีรวิชญ์ ทรัพย์มงคลพร  1590902027

เปรียบเทียบรายได้ รายจ่าย หนี้สินต่อจังหวัด

จากกราฟจะเป็นกราฟละเอียดโดยแยกเป็นจังหวัด โดยจังหวัดที่มีรายได้และรายจ่ายสูงสุดเป็นของจังหวัดกรุงเทพฯ ส่วนหนี้สินสูงสุดจะเป็นของจังหวัดปทุมธานี ใน 10 อันดับแรกจะเห็นว่าจังหวัดภูเก็ตมีหนี้สินน้อยที่สุดเนื่องจากมีรายจ่ายที่น้อยที่สุด

นางสาวมนัสศิรินทร์ นุชประเสริฐ  1590902456

เปรียบเทีนยรายได้ ,หนี้สิน

สำหรับกราฟเปรียบเทียบรายได้และหนี้สินต่อครัวเรือนตั้งแต่ปี 2006-2015 จะเห็นได้ว่าตั้งแต่ปี2006 -2014 ประชากรคนไทยต่อบ้านเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้นในทุกๆปีในขณะเดียวกันนั้นหนีสินก็เพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน จนไปถึงปี 2011 หนีสินได้ลดลงมาก เพราะอาจจะมีปัจจัยหลายๆอย่าง เช่น มีการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงหรือ หรือมีการรณรงค์การใช้จ่ายเงินอย่างประหยัดของคนในประเทศ

ในปี2012นั้น จะสังเกตุได้ว่าหนี้สินคนไทยนั้นเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว นั้นเป็นเพราะว่าเหตุผลหลักๆคือคนไทยเจอปัญหาน้ำท่วม ทำให้ทรัพย์สินเสียหาย ขาดรายได้อย่างไม่ทันได้ตั้งตัว ความเสียหายจากปัญหาน้ำท่วมในปี2012นั้นมีความเสียหายราวๆ 1.2 ล้านล้านบาท จึงทำให้คนไทยมีหนี้สินเพิ่มขึ้นมากขึ้น

ในปี 2012-2013 นั้นจะเห็นได้ว่านั้นคนไทยได้มีหนี้ลดน้อยลงมาอีกครั้งหลังจากที่เจอปัญหาน้ำท่วมมาในปี 2012 และต่อมาในปี 2014 สังเกตุจากกราฟ จะเห็นได้ว่า กราฟเป็นรูปกากบาท คนไทยมีรายได้น้อยลงมาก และขณะเดียวกันนั้นหนี้สินเพิ่มขึ้นมาอย่างมากเช่นกัน

ปัญหาหลักๆ อาจจะมาจากการบริหารงานของรัฐบาล ซึ่งเห็นได้ชัดว่าการบริการนั้นล้มเหลวเป็นอย่างมาก จึงทำให้คนไทยมีรายได้ต่อครอบครัวลดน้อยลงและมีหนี้สินเพิ่มขึ้น และมีวี่แววที่จะเป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆถ้ายังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง

นายปกรณ์ ศรีวัฒนโกศล  1590901995

การคาดการณ์รายได้

คาดการณ์จากกราฟจาก 2015 จะมีรายได้เฉลี่ยของครัวเรือนภายในประเทศจะมีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่งจะมีข้อแตกต่างจากกราฟที่แล้วจะเห็นว่าการคาดการณ์จากโปรแกรมยังมีข้อผิดพลาด เพราะจากกราฟที่แล้วรายได้จาก 2015 มีแนวโน้มลดลง ทำให้ผลการคาดการณ์ผิดพลาด อาจเป็นเพราะจากกราฟที่แล้วรายได้ 2006 – 2014 เพิ่มขึ้นตลอด แต่มองมากราฟนี้ 2015 กลับลดลงทำให้การคำนวณของโปรแกรมมีข้อผิดพลาดได้

ประโยชน์จากกราฟจะทำให้เห็นถึงการคาดการณ์ของรายได้ในครัวเรือนในอนาคตได้ แต่ยังมีข้อผิดพลาดเพราะเป็นเพียงการคาดการณ์เท่านั้น

นายอนุสรณ์  1590900948

รายได้เฉลี่ย

ชุดข้อมูลที่ใช้     Columns : ภาค     Rows : รายได้
ทำกราฟอยุ่ในรูป Treemaps เพื่อจะได้ดูชุดข้อมูลได้อย่างง่ายและละเอียด

จากกราฟจะแสดงให้เห็นได้ว่า

ปริมณฑล
มีรายได้เยอะที่สุดในแต่ละภาค โดยรายได้เฉลี่ยนต่อครัวเรือนตั้งแต่ปี 2006-2016  ตกอยู่ที่29,579บาท/ครัวเรือน ซึ่งเห็นได้ว่าค่าแรงงานของปริมณฑลมีกำลังจ่ายค่าแรงงานที่เยอะกว่าภาคอื่นๆ

ภาคกลางและภาคใต้
มีรายได้ที่อยู่ในระดับกลางๆ โดยรายได้เฉลี่ยนต่อครัวเรือนตั้งแต่ปี 2006-2016  ตกอยู่ที่19,000 บาท/ครัวเรือน ซึ่งเห็นได้ว่าค่าแรงงานของภาคกลางและภาคใต้ มีกำลังจ่ายค่าแรงงานที่ไม่เยอะมาก อาจจะเพราะเศรษฐกิจยังไม่ค่อยแข็งแรงมากเลยมีกำลังจ่ายค่าแรงงานที่ไม่มากนัก

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ
มีรายได้ที่อยู่ในระดับน้อย โดยรายได้เฉลี่ยนต่อครัวเรือนตั้งแต่ปี 2006-2016 ตกอยู่ที่14,000 บาท/ครัวเรือน ซึ่งเห็นได้ว่าค่าแรงงานของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือมีกำลังจ่ายค่าแรงงานที่น้อยมาก อาจเป็นเพราะมีเกษตรกรที่เยอะและรายได้ไม่คงตัวในแต่ละปีที่มีรายรับจากผลผลิตที่รับ จึงทำให้รายรับน้อยมากและนายจ้างไม่มีกำลังในการจ่ายค่าแรงมากสักเท่าไหร่

สรุปได้ว่า
ค่าของรายรับในแต่ละภาคจะทำให้วางแผนทางการตลาดที่จะไปลงทุนในแต่ละภาคได้และยังเป็นการเข้าช่วงเหลือคนที่มีรายได้น้อยจากรัฐบาลที่เข้าไปช่วยให้ลดการเลื่อมล้ำของประชาชนได้เช่นกัน

นายสุธี ลาศรี  1590902282

รายจ่ายเฉลี่ย

ชุดข้อมูลที่ใช้     Columns : ภาค     Rows : รายจ่าย
ทำกราฟอยุ่ในรูป Treemaps เพื่อสะดวกต่อการเปรียบเทียบข้อมูล

จากกราฟจะแสดงให้เห็นได้ว่า

ปริมณฑล
มีรายจ่ายเยอะที่สุดในแต่ละภาคเมื่อเทียบกับรายได้แล้วรายจ่ายก็เยอะมากเช่นกัน โดยรายจ่ายเฉลี่ยนต่อครัวเรือนตั้งแต่ปี 2006-2016  ตกอยู่ที่26,000บาท/ครัวเรือน ซึ่งเห็นได้ว่าค่าครองชีพเยอะมากในปริมณฑลทำให้ค่าใช้จ่ายมากขึ้น

ภาคกลางและภาคใต้
มีรายจ่ายที่ไม่มากนัก โดยรายจ่ายเฉลี่ยนต่อครัวเรือนตั้งแต่ปี 2006-2016  ตกอยู่ที่18,000 บาท/ครัวเรือน ค่าใช้จ่ายและค่าครองชีพก็ยังค่อยข้างที่จะแพงอยู่เมื่อเทียบกับรายได้ที่ได้รับมา

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ
มีรายจ่ายที่อยู่ในระดับน้อย โดยรายได้เฉลี่ยนต่อครัวเรือนตั้งแต่ปี 2006-2016  ตกอยู่ที่13,000 บาท/ครัวเรือน ซึ่งจะเห็นได้ว่าแม้จะได้รายได้ที่น้อยแล้วการที่ต้องใช้จ่ายสิ่งของที่จำเป็นก้ไม่ได้น้อยตามไป จึงทำให้ค่าใช้จ่ายก็ยังมากอยู่เมื่อเทียบกับรายรับที่ได้มา

สรุปได้ว่า
รายจ่ายของครัวเรือนในแต่ละภาคยังมากอยู่เมื่อเทียบกับรายรับที่ได้ เห็นได้ว่าค่าครองชีพยังแพงอยู่และสวัสดิการการและความเลื่อมล้ำทางชนชั้นก็ยังเยอะอยู่ตามลำดับ จึงทำให้เงินที่จะเก็บน้อย ข้อมูลนี้มีผลต่อรัฐที่จะไปลดความเลื่อมล้ำของสังคมนั้นได้

นายจักรฤษณ์ ประดุชชนม์  1590901250

หนี้สินต่อครัวเรือน

ชุดข้อมูลที่ใช้     Columns : Longitude(generated)     Rows : Latitude(generated)
ทำกราฟอยุ่ในรูป Treemaps เพื่อจะได้ดูชุดข้อมูลได้อย่างง่ายและละเอียด

จากกราฟจะแสดงให้เห็นได้ว่า
นี้ก็จะเป็นกราฟแผนที่หนี้สินของแต่ละครัวเรือนภายในประเทศ ซึ้งจะแบ่งออกแต่ละจังหวัด ก็จะดูได้จากสีว่าจังหวัดที่มีสีที่เข้มๆมากๆ แสดงว่าจังหวัดนั้นมีหนี้สินเยอะ จังหวัดที่มีสีอ่อนๆ แสดงว่าจังหวัดนั้นมีหนี้สินน้อย เช่น ค่าครองชีพสูง การชื้อบ้าน ซื้อรถ ค่าเช้าหอ เช้าคอนโดที่มีราคาแพง ทำให้หนี้สินเยอะ

ประโยชน์จากกราฟแผนที่นี้
จะได้เห็นค่าเฉลี่ยของหนี้สินของแต่ละจังหวัดได้ง่ายขึ้น

นายอภิวัฒน์ จารุศักดาเดช  1590901086

ค่าความไม่เสมอภาคในการกระจายรายได้ต่อภาค และจังหวัด

ค่าสัมประสิทธิ์ จีนี่ (Gini coefficient) เป็นเครื่องมือในการวัดความไม่เท่าเทียมในรูปของสัดส่วน (Gini ratio) ซึ่งค่าอยู่ระหว่าง 0 กับ 1 ยิ่งค่าเข้าใกล้ 1 มากเท่าไร แสดงว่าความไม่เท่าเทียมกันของรายได้ยิ่งมีมากขึ้น โดยคำนวณจากการใช้ค่าของพื้นที่ระหว่าง Lorenz curve ของการกระจายรายได้กับเส้นการกระจายรายได้สัมบูรณ์เป็นตัวตั้ง และค่าของพื้นที่ใต้เส้นการกระจายรายได้สัมบูรณ์ทั้งหมดเป็นตัวหาร

รายได้ หมายถึง รายได้ประจำ ที่ไม่รวมรายรับอื่นๆ (เช่น เงินทุนการศึกษา มรดก พินัยกรรม ของขวัญ ประกันสุขภาพ ประกันภัยและประกันชีวิต/ประกันสังคม เงินถูกสลาก เงินรางวัล ค่านายหน้าและเงินได้จากการพนัน เป็นต้น)

จากกราฟทำให้เห็นถึงความไม่เสมอภาคในการกระจายรายได้ของแต่ละภาค โดย ภาคเหนือจะมีการกระจายรายได้สูงที่สุด ตามด้วย ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ และตอนพิเศษ (กรุงเทพและปริมณฑล) ตามลำดับ โดยในกราฟนี้จะใช้ค่าเฉลี่ยของค่าสัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาค เพื่อทำให้สามารถสร้างกราฟได้อย่างสมเหตุสมผล เนื่องจากจำนวนจังหวัดที่อยู่ภาคต่างๆ มีจำนวนไม่เท่ากัน

จากกราฟแสดงให้เห็นถึงการกระจายรายได้ต่อจังหวัด จังหวัดที่มีความไม่เสมอภาคที่สุดคือ จังหวัดสกลนคร ค่าสัมประสิทธิ์อยู่ที่ 0.3886 และน้อยที่สุด คือจังหวัดตรัง ค่าสัมประสิทธิ์อยู่ที่ 0.2096 ทำให้เห็นถึงความไม่เสมอภาคในจังหวัดสกลนครนั้นมีมากที่สุด เนื่องจากค่าเข้าใกล้1 มากกว่าทำให้เกิดการกระจายรายได้มาก ทำให้เห็นถึงการกระจายรายได้ในจังหวัดสกลนครมีผู้ที่มีรายได้มากมากกว่า และ ยังมีคนที่มีรายได้น้อยอยู่เยอะ ทำให้เห็นถึงความไม่เท่าเทียมในการมีรายได้ในจังหวัดตรัง

ประโยชน์
     จากการดูกราฟค่าสัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาคต่อภาคและจังหวัด ทำให้เห็นถึงการกระจายรายได้ของแต่ละภาคและจังหวัดในประเทศไทย แสดงให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำทางสังคมไทยที่ยังมีอยู่ และยังมีอยู่ความเหลื่อมล้ำอยู่มาก

*หมายเหตุ เนื่องจากค่าสัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาคมีจำนวนข้อมูลรายปีไม่เพียงพอต่อข้อมูลจึงได้ทำการสร้างข้อมูลที่ซ้ำกัน เข้ากับข้อมูลที่มี เพื่อให้มีจำนวนเพียงพอ ทำให้กราฟที่เกิดขึ้นยังไม่สามารถเชื่อถือได้

นายจารุวิทย์ ประทานชีวินทร์  1590902340

การกระจายรายได้เทียบกับรายได้ต่อจังหวัด

ข้อมูลจากไฟล์ Excel
ข้อมูลปีต่างๆ ,ภาคต่างๆทั่วประเทศ ,จังหวัดในประเทศไทย ,รายได้ของครัวเรือน ,หนี้สินของครัวเรือน ,สัมประสิทธิ์ความไม่เท่าเทียม ,รายจ่าย ข้อมูลทั้งหมดประมาณ 770 แถว

สัมประสิทธิ์ความไม่เท่าเทียมคือ ตัวบ่งชี้การกระจายรายได้ที่ไม่เสมอภาคหรือไม่เท่าเทียม มีค่าตั้งแต่ 0-1 ถ้าค่าสัมประสิทธิ์เข้าใกล้ 1 แสดงว่าการกระจายรายได้ไม่เท่าเทียมกันอย่างมาก แต่ถ้าค่าเข้าใกล้ 0 แสดงว่าการกระจายรายได้มีความเท่าเทียมกัน

กราฟนี้เป็นกราฟแสดงค่าเฉลี่ยของรายได้ กับค่าสัมประสิทธิ์ความไม่เท่าเทียม เทียบกับจำนวนของครัวเรือนในแต่ละจังหวัดของประเทศไทย จะเห็นได้ว่าในบางจังหวัดที่มีรายได้สูงๆ สัมประสิทธิ์ความไม่เท่าเทียมกันก็ยังมีค่ามากอยู่ แสดงว่าการกระจายรายได้ของครัวเรือนในแต่ละจังหวัดก็ยังมีความไม่เท่าเทียมกันอยู่

ประโยชน์จากกราฟนี้ จะแสดงให้เห็นว่าในแต่ละจังหวัดที่มีรายได้สูงๆส่วนใหญ่นั้นการกระจายรายได้ของครัวเรือนในแต่ละจังหวัดก็ยังไม่เท่าเทียมกัน ดังนั้นจะสามารถเทียบได้กับในปัจจุบันที่คนในสังคมมีทั้งคนรวยและคนจนที่ปะปนกันอยู่ในทุกๆจังหวัด เพราะเกิดความไม่เสมอภาคในการกระจายรายได้ของครัวเรือนในจังหวัดนั้นๆ

นางสาวสุวาสนีย์ ศรีอยู่แก่น  1590902647

WEERAWIT SAPMONGKOLPORN
at GlurGeek.Com

Leave a Reply

© 2022 GlurGeek.Com