ออกแบบหุ่นยนต์รักสิ่งแวดล้อม ด้วย Design Thinking

ออกแบบระบบสังคมรักษาสิ่งแวดล้อม(Green Society)

Project : หุ่นยนต์รักสิ่งแวดล้อม

ขั้นตอนที่1BASE : กำหนดโจทย์

ภายในขึ้นตอนนี้สมาชิกในกลุ่มทุกคนจะแบ่งโพสอิทกันคนละ10แผ่นเพื่อเขียนหัวข้อที่ตัวเองสนใจขึ้นมาซึ่งในกลุ่มของเราก็เป็นหัวข้อที่เกี่ยวกับระบบสังคมรักษาสิ่งแวดล้อม(Green Society) เมื่อเขียนเสร็จแล้วสมาชิกในกลุ่มจะนำโพสอิทที่ตัวเองได้เขียนปัญหาหรือสิ่งที่อยากจะทำเกี่ยวกับหัวข้อที่กล่าวมาข้างต้นนำไปแปะบนกระดานโดยที่จะเหลือพื้นที่ตรงกลาง

 

สิ่งที่ได้จากการเขียนของสมาชิกในกลุ่มเราสามาแบ่งข้อเสนอได้ทั้งหมด8หมวดหมู่ดังนี้
1.มลพิษได้ความคิดเห็นดังนี้
– เครื่องปรับสภาพอากาศและปรับความสมดุลของสิ่งแสดล้อมที่ที่มีก๊าซต่าง ๆหรือไอร้อนจากท่อไอเสียหรือสิ่งที่มีผลเสียต่อชั้นบรรยากาศโลกให้หมดไปจะทำให้เกิดปัญหาโลกถูกทำลายด้วยสภาพอากาศที่แย่โดยการกระทำของมนุษย์
– เลิกใช้รถเติมน้ำมันช่วยลดมลพิษ
– ปัญหามลพิษทำลายสิ่งแวดล้อมเราควรมีกฎและเคร่งในกฎของคนหรืออะไรก็แล้วแต่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทำให้เกิดมลพิษที่ทำลายสิ่งแวดล้อม
– โรงงานปลอดก๊าซ
-โรงงานหรือรถยนต์ที่ทำให้เกิดมลพิษเปลี่ยนเป็นสิ่งที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ
-ไม่เป็นมลพิษ ปลูกฝังจิตใจสะอาด
-เปลี่ยนมลพิษเป็นพลังธรรมชาติทั้งหมด

2.สิ่งแวดล้อมได้ความคิดเห็นดังนี้
– หาสิ่งที่ทำประโยชน์ให้กับสิ่งแวดล้อม
– นำเทคโนโลยีที่ปัจจุบันมีความก้าวหน้ามาประยุกต์ใช้กับการช่วยเหลือธรรมชาติ
– ลดละเลิกในการทำลายสิ่งแวดล้อม
-อยากให้คนในสังคมให้ความสำคัญต่อปัญหาที่เกิดขึ้นและร่วมกันแก้ไข
-เกิดการอบรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพและน่าอยู่มากขึ้น
-อยากได้สิ่งแวดล้อมที่มีคุณประโยชน์ต่อเราและผู้อื่นให้มากที่สุด

3.สัตว์ป่าได้ความคิดเห็นดังนี้
– การนำโดรนมาใช้วนการให้อาหารสัตว์ป่าตามจุดต่างๆที่โดรนตรวจจับได้ว่ามีสัตว์อยู่ในป่าตำแหน่งไหนปัญหามาจากสัตว์ในป่าชอบเดินออกมานอกเขตเพื่อหาอาหารและเกิดการรบกวนต่อผู้คน
– มีการอนุบาลสัตว์น้ำและเพิ่มอัตราการขยายพันธ์ของสัตว์น้ำจืดและสัตว์ทะเล
– เพิ่มอัตราการเพิ่มประชากรในสัตว์อย่างเช่นการอนุบาลสัตว์ต่างๆเพื่อช่วยเพิ่มจำนวนสัตว์
– เพิ่มพื้นที่ให้กับสัตว์มากขึ้นลดปัญหาสัตว์โดยทำร้ายจากการมาเดินบนถนนหรือใกล้หมู่บ้าน
-การลดปัญหาการล่าสัตว์ทั้งด้านกีฬาล่าเพื่อเอาเขา, งาหรือนำเนื้อมาปล่อยขายในตลาดมืด

4.เทคโนโลยีได้ความคิดเห็นดังนี้
– อยากให้มีหุ่นยนต์ที่สร้างสิ่งของต่างๆได้โดยแค่เราคลิ๊กว่าจะทำหรือจะสร้างอะไรในคอมพิวเตอร์และหุ่นยนต์ที่ทำงานเองเพื่อแก้ปัญหาไม่มีคนจัดการเรื่องขยะในปัจจุบันให้เกิดประโยชน์
-โทรศัพท์ที่ชาร์ตพลังงานจากธรรมชาติ
– รถพลังงานแสงอาทิตย์
– รถสาธารณะไร้คนขับใช้ไฟฟ้า
– โทรศัพท์กระดาษเป็นตู้หยอดเหรียญใช้แล้วทิ้ง
– ทำอุปกรณ์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกที่จะทำให้ผู้คนให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม

5.ต้นไม้ได้ความคิดเห็นดังนี้
– เพิ่มต้นไม้ในเมืองเพื่อเพิ่มอากาศที่ดี
– โดมต้นไม้
– ลดการตัดไม้ทำลายป่า
– ลดการบุกรุกพื้นที่ป่าและพื้นที่สีเขียว
– เพิ่มผลิตภัณฑ์ที่ไม่ต้องเกิดจากการตัดไม้ทำลายป่าและสามารถย่อยสลายได้ง่าย
– ปลูกต้นไม้
– สร้างป่าในเมืองเพิ่ม
– ตึกต้นไม้
-มีพื้นที่ปลูกต้นไม้ในเมืองมากขึ้น
-อยากทำระบบรักษาความปลอดภัยของเรื่องการตัดต้นไม้ทำลายป่าโดยการที่มีโดรนขึ้นอยู่ภายในป่าตลอดเวลา เพื่อระบุตำแหน่งของสถานที่ที่เกิดปัญหาและสามารถระบุคนที่กระทำความผิดได้ โดยปัญหาเกิดจากในปัจจุบันคนตัดไม้ทำลายป่าเพื่อผลประโยชน์ของตัวเองเยอะมากแต่ไม่สามารถระบุผู้กระทำได้

6.สังคม ได้รับความคิดเห็นดังนี้
-ทดแทนการสูญเสียสังคมน่าอยู่
-เมืองที่น่าอยู่

7.พลังงานทดแทน ได้รับความคิดเห็นดังนี้
– บ้านประหยัดพลังงาน
– ใช้พลังงานธรรมชาติ
-แปลงพลังงานจากวัสดุเหลือใช้เป็นพลังงานทดแทน
-ให้ทุกโรงงานใช้พลังงานแสงอาทิตย์
-ตึกที่ใช้พลังงานธรรมชาติ
-ประหยัดการใช้พลังงาน
-เศษขยะแปลงเป็นพลังงานทดแทน

8.ขยะ ได้รับความคิดเห็นดังนี้
-กำจัดขยะหรือของเสีย
-ปัญหาขยะทำลายสิ่งแวดล้อมทำให้สิ่งแวดล้อมไม่น่าอยู่ เราควรมีตัวกำจัดขยะให้หมดไป
-เครื่องย่อยสลายพลาสติก
-สวนสาธารรณะปลอดขยะ จดริมาณขยะของสวนสาธารณะที่คนทิ้งไม่เป็นที่
-การทิ้งขยะไม่ตรงประเภทของคนไทย
-สามารถที่นำขยะที่ได้จากการแยกขยะนำไปขายต่อหรือรีไซด์เคิลต่อได้และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
-การนำขยะมาทำให้ย่อยสลายได้ง่าย เร็วขึ้น หรือนำขยะมารีไซด์เคิล เมื่อลดปริมาณขยะให้ได้เยอะที่สุด
-หาวิธีกำจัดขยะที่เป็นสารเคมี ที่ไม่ส่งผลต่อธรรมชาติ
-ทำให้คนรู้จักความสำคัญของการแยกขยะตามประเภทต่าง ๆเพื่อง่ายและสะดวกต่อการนำไปใช้งานต่อ
-มีระบบการทำงานที่สามารถแยกประเภทของขยะได้และมีอยู่ในหลายๆสถานที่
-เครื่องย่อยขยะ
-รถขยะไร้กลิ่น กลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ของรถขนขยะ
-มีเครื่องแยกขยะ
-เลิกใช้ถุงพลาสติก
-อุปกรณ์เก็บขยะในน้ำ
-มีการทำความสะอาดเมืองทุก ๆเดือน
-หุ่นยนต์เห็บขยะวิ่งตามท้องถนน
-ระบบแยกขยะ เพื่อเอาไปใช้ประโยชน์ทางด้านอื่นๆโดยเครื่องที่เป็นถังขยะใหญ่ๆแค่ทิ้งในช่องก็จะแยกได้เลย ซึ่งมาจากปัญหาขยะล้นโลก
-โรงงานขยะที่แยกขยะอย่างถูกต้อง
-งดใช้ถุงพลาสติก
-ไม่ทิ้งขยะลงแม่น้ำหรือทะเล
-แยกขยะ และหาประโยชน์จากขยะ

นิยามโครงการ : หุ่นยนต์รักสิ่งแวดล้อม

นิยามโปรเจก : นวัตกรรมใหม่ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ถนอมสัตว์ป่า รักษาธรรมชาติ

ที่มาของคำนิยาม มาจากการที่สมาชิกทุกคนในกลุ่มรู้สึกว่าการรักษาสิ่งแวดล้อมนั้นจะต้องใส่ใจในทุกๆด้านเพราะทั้งหมดอยู่ในระบบนิเวศน์เดียวกันถ้ามีอะไรอย่างหนึ่งเสียหาย ส่วนอื่นๆก็จะเสียตามไปด้วยดั้งนั้นนิยามของเราจึงสื่อให้เห็นถึงสิ่งแวดล้อมในหลายๆด้านที่เราต้องการที่จะรักษาไม่ว่าจะเป็นสัตว์ป่า ธรรมชาติ หรือแม้แต่การเป็นอยู่ภายในสังคมเช่นเรื่องขยะ มลพิษ เป็นต้น

แนวคิดโครงการ : สิ่งที่จะทำขึ้นมาคือ หุ่นยนต์รักสิ่งแวดล้อม ซึ่งหุ่นยนต์ตัวนี้จะมีฟังก์ชั่นการใช้งานที่หลากหลายอย่างเช่น การเก็บขยะภายในป่าและเมื่อเก็บมาแล้วสามารถที่จะแยกชิ้นสิ้นของขยะได้ นอกจากนั้นส่วนหัวสามารถบินหาพิกัดของผู้ที่บุกรุกเข้ามาในพื้นที่ป่า และส่วนสุดท้ายคือส่วนของมือสามารถที่จะให้อาหารสัตว์ได้ตามจุด เพื่อป้องกันการออกไปหาอาหารนอกพื้นที่ของสัตว์ได้

ชั้นตอนที่ 2 EMPATHY : การทำการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย
โดยสมาชิกนกลุ่มจะเขียนกลุ่มเป้าหมายที่คิดว่าจะซื้อหรือนำหุ่นยนต์รักโลกของทางเราไปใช้งานใส่โพสอิสตามที่คิดได้ของแต่ละคนการนั้นก็มาทำการแบ่งกลุ่มลูกค้าโดยการนำโพสอิสมาแปะในกราฟที่มีตัวแปลเป็นคุณภาพและโอกาสจากนั้นก็ทำการ HEAT MAP โดยในสมาชิกในกลุ่มโหวตเพื่อหากลุ่มเป้าหมายหลัก 3 อันดับคือ 1.รัฐบาล 2.กรมป่าไม้ และ 3.องค์กรกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล

จากนั้นก็จะทำการ Key questions คือการให้สมาชิกคิดคำถามเกี่ยวกับการประสบความสำเร็จและความล้มเหลวมาอย่างละ 5 คำถามและหาคำตอบ


หลังจากนั้นก็นำคำถามที่ได้ผ่านการหาคำตอบมาแบ่งเป็น Find out และ Create ตามรูปข้างล่าง

จากนั้นจะทำส่วนของ Contextual Interview หรือการเข้าไปพูดคุยและสัมภาษณ์เกี่ยวกับความคิดเห็นต่องานของเรา
วิดีโอสัมภาษณ์เกี่ยวกับความคิดเห็นต่องาน :
YouTube Preview Image

ขั้นตอนที่ 3 : DEFINE



จากนั้นก็ทำการแลกเปลี่ยนความรู้แล้วให้ผู้ที่ฟังนำ key word เขียนลงใน post it แล้วใช้ post it ที่ได้มาสร้าง Stakeholders Map จะได้ดังรูปด้านล่าง

นำ Target ที่ได้จากขั้นของ Empathy มาเขียนเป็น Target Persona จำนวน 2คนเพื่อสร้างตัวอย่างของกลุ่มเป้าหมายในสิ้นค้าของเรา


จากนั้นทำการเขียน User’s Activities ให้สอดคล้องกับความต้องการ  บุคลิกของ Target ตัวอย่างของงานเราให้เข้าใจในแต่ละกิจกรรม อารมณ์ และความรู้สึก


จากนั้นจำลองว่าเรานั้นเป็น Persona ให้เขียน Need , Want , Dream ของงานว่ามีอะไรบ้างและจากนั้นก็จพนำ Post it มาแปะในหน้าของ User’s Avtivities ว่ามีส่วนไหนบ้างที่มีความเชื่อมโยงกัน


ขั้นตอนที่ 4 : IDEATION

ให้สมาชิกเขียนเกี่ยวกับงานตัวเองในหัวข้อ ” มันจะดีนะ ถ้า…” คนละ 10 ไอเดียต่อคน

จากนั้นนำสิ่งที่สมาชิกทุกคนเขียนมาแปะในกราฟโดยจะวิเคราะห์จากคุณค่าของงานและความยากในการทำงาน

จากนั้นให้สมาชิกทำการโหวตเพื่อหาข้อสรุปสำหรับ Challenge Idea



จากนั้นทำการหา Key word ที่ได้จากการสรุป Challenge Idea โดยแบ่งเป็น 6 หัวข้อใหญ่ๆ คือ User , Buyer , Organization , Business , Technology , Operation


ให้สมาชิกในกลุ่มดึง Key word ที่ได้มาอย่างน้อย 3 คำแล้วนำมาสร้างเป็น Idea Card โดยผสมกันให้เขียนถาพและข้อความเพื่อให้ได้ไอเดียใหม่โดยจะต้องสร้างคนละ 10 idea

เมื่อเขียนไอเดียของตัวเองเสร็จแล้วให้เลือกไอเดียของสมาชิกคนอื่นมา 1 ไอเดียแล้วน้ำมาเขียนต่อยอดหรือขยายไอเดีย

จากนั้นนำไอเดียทั้งหมดที่ต่อยอดมาลงกราฟโดยวิเคราะห์จาก New value และ Support Challenges แล้วให้สมาชิกในกลุ่มทำการโหวตคะแนน


ขั้นตอนสุดท้ายจะเป็นการนำไอเดียทุกแผ่นที่มีคะแนนมาทำการสร้าง Story จากข้อมูลที่ได้เพื่อให้สามารถที่จะจับต้องชิ้นงานเราได้

ไอเดียสุดท้ายของหุ่นยนต์รักสิ่งแวดล้อมของกลุ่มเราคือ :

วิดีโอการPresent งานสัปดาห์ที่ 1 ,2 และ Final
YouTube Preview Image

 

ORANIT SAPMANEE
at GlurGeek.Com
นางสาวอรณิช ทรัพย์มณี ✨ เรียกสั้นๆว่า "โม" 🐽
เรียนอยู่ ปีที่ 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขามัลติมีเดียและระบบอินเตอร์เน็ต
ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิตค่ะ 🙆

Leave a Reply

© 2022 GlurGeek.Com